เมนู

ไปทั่วสรีระของพราหมณ์นั้นเกิดขึ้นแล้ว. เขาเป็นผู้ใคร่จะบูชาพระศาสดา
คิดว่า " ถ้าเราจักถวายผ้าสาฎกนี้ไซร้, ผ้าห่มของนางพราหมณีจักไม่มี
ของเราก็จักไม่มี " ขณะนั้นจิตประกอบด้วยความตระหนี่พันดวงเกิดขึ้น
แล้วแก่เขา, จิตประกอบด้วยสัทธาดวงหนึ่งเกิดขึ้นอีก. จิตประกอบด้วย
ความตระหนี่พันดวงเกิดขึ้นครอบงำสัทธาจิต แม้นั้นอีก. ความตระหนี่
อันมีกำลังของเขาคอยกีดกันสัทธาจิตไว้ ดุจจับมัดไว้อยู่เทียว ด้วยประการ
ฉะนี้.

ชนะมัจเฉรจิตด้วยสัทธาจิต


เมื่อเขากำลังคิดว่า " จักถวาย จักไม่ถวาย " ดังนี้นั่นแหละ ปฐม-
ยามล่วงไปแล้ว. แต่นั้น ครั้นถึงมัชฌิมยาม เขาไม่อาจถวายในมัชฌิมยาม
แม้นั้นได้. เมื่อถึงปัจฉิมยาม เขาคิดว่า " เมื่อเรารบกับสัทธาจิตและ
มัจเฉรจิตอยู่นั่นแล 2 ยามล่วงไปแล้ว. มัจเฉรจิตนี้ของเรามีประมาณเท่านี้
เจริญอยู่ จักไม่ให้ยกศีรษะขึ้นจากอบาย 4, เราจักถวายผ้าสาฎกละ. "
เขาข่มความตระหนี่ตั้งพันดวงได้เเล้วทำสัทธาจิตให้เป็นปุเรจาริก ถือผ้า
สาฎกไปวางแทบบาทมูลพระศาสดา ได้เปล่งเสียงดังขึ้น 3 ครั้งว่า " ข้าพ-
เจ้าชนะแล้ว ข้าพเจ้าชนะแล้ว เป็นต้น ."

ทานของพราหมณ์ให้ผลทันตาเห็น


พระเจ้าปเสนทิโกศล กำลังทรงฟังธรรม ได้สดับเสียงนั้นแล้ว
ตรัสว่า " พวกท่านจงถามพราหมณ์นั้นดู. ได้ยินว่า เขาชนะอะไร ?."
พราหมณ์นั้นถูกพวกราชบุรุษถาม ได้เเจ้งความนั้น. พระราชาได้
สดับความนั้นแล้ว ทรงดำริว่า " พราหมณ์ทำสิ่งที่บุคคลทำได้ยาก เราจัก
ทำการสงเคราะห์เขา " จึงรับสั่งให้พระราชทานผ้าสาฎก 1 คู่.

เขาได้ถวายผ้าแม้นั้นแด่พระตถาคตเหมือนกัน พระราชาจึงรับสั่ง
ให้พระราชทานทำให้เป็นทวีคูณอีก คือ 2 คู่ 4 คู่ 8 คู่ 16 คู่. เขาได้
ถวายผ้าแม้เหล่านั้นแด่พระตถาคตนั้นเทียว. ต่อมา พระราชารับสั่งให้
พระราชทานผ้าสาฎก 32 คู่แก่เขา.
พราหมณ์เพื่อจะป้องกันวาทะว่า " พราหมณ์ไม่ถือเอาเพื่อตน สละ
ผ้าที่ได้แล้ว ๆ เสียสิ้น " จึงถือเอาผ้าสาฎก 2 คู่จากผ้า 32 คู่นั้นคือ " เพื่อ
ตน 1 คู่ เพื่อนางพราหมณี 1 คู่ " ได้ถวายผ้าสาฎก 30 คู่แด่พระตถาคต
ทีเดียว. ฝ่ายพระราชา เมื่อพราหมณ์นั้นถวายถึง 7 ครั้ง ได้มีพระราช
ประสงค์จะพระราชทานอีก. พราหมณ์ชื่อมหาเอกสาฎก ในกาลก่อน
ได้ถือเอาผ้าสาฎก 2 คู่ในจำนวนผ้าสาฎก 64 คู่. ส่วนพราหมณ์ชื่อจูเฬก-
สาฎกนี้ ได้ถือเอาผ้าสาฎก 2 คู่ ในเวลาที่ตนได้ผ้าสาฎก 32 คู่.
พระราชา ทรงบังคับพวกราชบุรุษว่า " พนาย พราหมณ์ทำสิ่งที่ทำ
ได้ยาก. ท่านทั้งหลายพึงให้นำเอาผ้ากัมพล 2 ผืนภายในวังของเรามา."
พวกราชบุรุษได้กระทำอย่างนั้น. พระราชารับสั่งให้พระราชทานผ้ากัมพล
2 ผืนมีค่าแสนหนึ่งแก่เขา. พราหมณ์คิดว่า " ผ้ากัมพลเหล่านี้ไม่สมควร
แตะต้องที่สรีระของเรา. ผ้าเหล่านั้นสมควรแก่พระพุทธศาสนาเท่านั้น "
จึงได้ขึงผ้ากัมพลผืนหนึ่ง ทำให้เป็นเพดานไว้เบื้องบนที่บรรทมของพระ-
ศาสดาภายในพระคันธกุฎี. ขึงผืนหนึ่งทำให้เป็นเพดานในที่ทำภัตกิจของ
ภิกษุผู้ฉันเป็นนิตย์ในเรือนของตน. ในเวลาเย็น พระราชาเสด็จไปสู่
สำนักของพระศาสดา ทรงจำผ้ากัมพลได้แล้ว ทูลถามว่า " ใครทำการ
บูชา พระเจ้าข้า ? " เมื่อพระศาสดาตรัสตอบว่า " พราหมณ์ชื่อเอกสาฎก "
ดังนี้แล้ว ทรงดำริว่า " พราหมณ์เลื่อมใสในฐานะที่เราเลื่อมใสเหมือน

กัน " รับสั่งให้พระราชทานหมวด 4 แห่งวัตถุทุกอย่าง จนถึงร้อยแห่ง
วัตถุทั้งหมด ทำให้เป็นอย่างละ 4 แก่พราหมณ์นั้น อย่างนี้ คือช้าง 4
ม้า 4 กหาปณะ1สี่พัน สตรี 4 ทาสี 4 บุรุษ 4 บ้านส่วย 4 ตำบล.

รีบทำกุศลดีกว่าทำช้า


ภิกษุทั้งหลาย สนทนากันในโรงธรรมว่า " แม้ ! กรรมของพราหมณ์
ชื่อจูเฬกสาฎก น่าอัศจรรย์. ชั่วครู่เดียวเท่านั้น เขาได้หมวด 4 แห่ง
วัตถุทุกอย่าง. กรรมอันงามเขาทำในที่อันเป็นเนื้อนาในบัดนี้นั่นแล ให้
ผลในวันนี้ทีเดียว. "
พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เธอทั้งหลาย
นั่งสนทนากันด้วยกถาอะไรเล่า ? " เมื่อพวกภิกษุกราบทูลว่า " ด้วยกถาชื่อ
นี้ พระเจ้าข้า " ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ถ้าเอกสาฎกนี้จักได้อาจเพื่อถวาย
แก่เราในปฐมยามไซร้ เขาจักได้สรรพวัตถุอย่างละ 16, ถ้าจักได้อาจ
ถวายในมัชฌิมยามไซร้ เขาจักได้สรรพวัตถุอย่างละ 8, แต่เพราะถวาย
ในเวลาจวนใกล้รุ่ง เขาจึงได้สรรพวัตถุอย่างละ 4, แท้จริง กรรมงาม
อันบุคคลผู้เมื่อกระทำ ไม่ให้จิตที่เกิดขึ้นเสื่อมเสียควรทำในทันทีนั้นเอง,
ด้วยว่า กุศลที่บุคคลทำช้า เมื่อให้สมบัติ ย่อมให้ช้าเหมือนกัน เพราะ
ฉะนั้น พึงทำกรรมงามในลำดับแห่งจิตตุปบาททีเดียว " เมื่อทรงสืบอนุ-
สนธิแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
1. อภิตฺถเรถ กลฺยาเณ ปาปา จิตฺตํ นิวารเย
ทนฺธิ หิ กรโต ปุญฺญํ ปาปสฺมึ รมตี มโน
ทนฺธิ หิ กรโต ปุญฺญํ ปาปสฺมึ รมตี มโน.

1. เป็นชื่อเงินตราชนิดหนึ่ง ซึ่งในอินเดียโบราณ มีค่าเท่ากับ 4 บาท.