เมนู

พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ
แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
9. โย อปฺปทุฏฺฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ
สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส
ตเมว พาลํ ปจฺเจติ ปาปํ
สุขุโม รโช ปฏิวาตํว ขิตฺโต.
"ผู้ใด ประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้
บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสดุจเนิน, บาปย่อมกลับถึงผู้นั้น
ซึ่งเป็นคนพาลนั่นเอง เหมือนธุลีอันละเอียดที่เขา
ซัดทวนลมไปฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปทุฏฺฐสฺส คือผู้ไม่ประทุษร้ายต่อตน
หรือต่อสรรพสัตว์. บทว่า นรสฺส ได้แก่ สัตว์. บทว่า ทุสฺสติแปลว่า
ย่อมพระพฤติผิด. บทว่า สุทฺธสฺส คือผู้ไม่มีความผิดเลย. แม้คำว่า
โปสสฺส นี้ ก็เป็นชื่อของสัตว์นั้นเอง โดยอาการอื่น.
บทว่า อนงฺคณสฺส คือผู้ไม่มีกิเลส. คำว่า ปจฺเจติ ตัดบทเป็น
ปฏิ-เอติ (แปลว่า ย่อมกลับถึง).
บทว่า ปฏิวาตํ เป็นต้น ความว่า ธุลีที่ละเอียด อันบุรุษผู้หนึ่งซัด
ไป ด้วยความเป็นผู้ใคร่ประหารคนผู้ยืนอยู่ในที่เหนือลมย่อมกลับถึงบุรุษ
นั้นเอง คือตกลงที่เบื้องบนของผู้ซัดไปนั้นเอง ฉันใด. บุคคลใด เมื่อให้
การประหารด้วยฝ่ามือเป็นต้น ชื่อว่าย่อมประทุษร้ายต่อบุรุษผู้ไม่ประทุษ-
ร้าย. บาปนั้นเมื่อให้ผลในปัจจุบันนี้ หรือในอบายทั้งหลายมีนรกเป็นต้น

ในภพหน้า ชื่อว่าย่อมกลับถึงบุคคลนั้นแหละผู้เป็นพาล ด้วยสามารถ
วิบากทุกข์ ฉันนั้นเหมือนกัน.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในพระอรหัตผล. พระธรรม-
เทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่บริษัทผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องนายพรานสุนัขชื่อโกกะ จบ.

10. เรื่องพระติสสเถระผู้เข้าถึงสกุลนายช่างแก้ว1 [104]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเถระ
ชื่อติสสะผู้เข้าถึงสกุลนายช่างเเก้ว ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "คพฺภเมเก
อุปฺปชฺชนฺติ" เป็นต้น.

พระเจ้าปเสนทิโกศลส่งแก้วให้นายช่างเจียระไน


ได้ยินว่า พระเถระนั้นฉัน (ภัต) อยู่ในสกุลของนายมณีการผู้หนึ่ง
สิ้น 12 ปี. ภรรยาและสามีในสกุลนั้นตั้งอยู่ในฐานะเพียงมารดาและบิดา
ปฏิบัติพระเถระแล้ว.
อยู่มาวันหนึ่ง นายมณีการกำลังนั่งหั่นเนื้อข้างหน้าพระเถระ. ใน
ขณะนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศล ทรงส่งแก้วมณีดวงหนึ่งไป ด้วยรับสั่งว่า
" นายช่างจงจัดและเจียระไนแก้วมณีนี้แล้วส่งมา. " นายมณีการรับแก้วนั้น
ด้วยมือทั้งเปื้อนโลหิต วางไว้บนเขียงแล้ว ก็เข้าไปข้างในเพื่อล้างมือ.

แก้วมณีหายนายช่างสืบหาคนเอาไป


ก็ในเรือนนั้น นกกะเรียนที่เขาเลี้ยงไว้มีอยู่. นกนั้นกลืนกินแก้ว
มณีนั้น ด้วยสำคัญว่าเนื้อ เพราะกลิ่นโลหิต เมื่อพระเถระกำลังเห็นอยู่
เทียว. นายมณีการมาแล้ว เมื่อไม่เห็นแก้วมณีจึงถามภริยา ธิดาและบุตร
โดยลำดับว่า " พวกเจ้าเอาแก้วมณีไปหรือ ? " เมื่อชนเหล่านั้นกล่าวว่า
" มิได้เอาไป " จึงคิดว่า " (ชะรอย) พระเถระจักเอาไป จึงปรึกษากับ
ภริยาว่า " แก้วมณี (ชะรอย) พระเถระจักเอาไป " ภริยาบอกว่า " แน่ะ
นาย นายอย่ากล่าวอย่างนั้น. ดิฉันไม่เคยเห็นโทษอะไร ๆ ของพระเถระ
1. หมายความถึงผู้สนิทสนมกับสกุล ได้รับอุปการะจากสกุลนั้น.