เมนู

พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ
แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
9. โย อปฺปทุฏฺฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ
สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส
ตเมว พาลํ ปจฺเจติ ปาปํ
สุขุโม รโช ปฏิวาตํว ขิตฺโต.
"ผู้ใด ประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้
บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสดุจเนิน, บาปย่อมกลับถึงผู้นั้น
ซึ่งเป็นคนพาลนั่นเอง เหมือนธุลีอันละเอียดที่เขา
ซัดทวนลมไปฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปทุฏฺฐสฺส คือผู้ไม่ประทุษร้ายต่อตน
หรือต่อสรรพสัตว์. บทว่า นรสฺส ได้แก่ สัตว์. บทว่า ทุสฺสติแปลว่า
ย่อมพระพฤติผิด. บทว่า สุทฺธสฺส คือผู้ไม่มีความผิดเลย. แม้คำว่า
โปสสฺส นี้ ก็เป็นชื่อของสัตว์นั้นเอง โดยอาการอื่น.
บทว่า อนงฺคณสฺส คือผู้ไม่มีกิเลส. คำว่า ปจฺเจติ ตัดบทเป็น
ปฏิ-เอติ (แปลว่า ย่อมกลับถึง).
บทว่า ปฏิวาตํ เป็นต้น ความว่า ธุลีที่ละเอียด อันบุรุษผู้หนึ่งซัด
ไป ด้วยความเป็นผู้ใคร่ประหารคนผู้ยืนอยู่ในที่เหนือลมย่อมกลับถึงบุรุษ
นั้นเอง คือตกลงที่เบื้องบนของผู้ซัดไปนั้นเอง ฉันใด. บุคคลใด เมื่อให้
การประหารด้วยฝ่ามือเป็นต้น ชื่อว่าย่อมประทุษร้ายต่อบุรุษผู้ไม่ประทุษ-
ร้าย. บาปนั้นเมื่อให้ผลในปัจจุบันนี้ หรือในอบายทั้งหลายมีนรกเป็นต้น