เมนู

ศีลของข้าพระองค์ไม่ด่างพร้อยแลหรือ ? สมณภาพของข้าพระองค์ ยัง
คงมีอยู่แลหรือ ? "

พระศาสดาทรงรับรองศีลและสมณภาพ


พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำของพระเถระนั้นแล้ว ตรัสว่า " ภิกษุ
ศีลของเธอไม่ด่างพร้อย, สมณภาพของเธอยังมีอยู่. เขาประทุษร้าย ต่อ
เธอผู้ไม่ประทุษร้าย จึงถึงความพินาศ. ทั้งมิใช่แต่ในบัดนี้อย่างเดียวเท่า-
นั้น. แม้ในอดีตกาล เขาก็ประทุษร้ายต่อผู้ไม่ประทุษร้าย ถึงความพินาศ
แล้วเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น ทรงนำอดีต
นิทานมา (ตรัสว่า)

บุรพกรรมของนายพราน


"ดังได้สดับมา ในอดีตกาล หมอผู้หนึ่งเที่ยวไปถึงหมู่บ้าน เพื่อ
ต้องการประกอบเวชกรรม ไม่ได้กรรมอะไร ๆ อันความหิวรบกวนแล้ว
ออกไปพบเด็ก ๆ เป็นอันมาก กำลังเล่นอยู่ที่ประตูบ้าน จึงคิดว่า ' เรา
จักให้งูกัดเด็กเหล่านั้นแล้วรักษา ก็จักได้อาหาร ' ดังนี้แล้ว จึงแสดงงูนอน
ชูศีรษะในโพรงไม้เเห่งหนึ่ง บอกว่า ่แน่ะ เจ้าเด็กผู้เจริญทั้งหลาย นั่น
ลูกนกสาลิกา, พวกเจ้าจงจับมัน."
ทันใดนั้น เด็กน้อยคนหนึ่ง จับงูที่คออย่างมั่นดึงออกมา รู้ว่ามัน
เป็นงู จึงร้องขึ้น สลัดไปบนกระหม่อมของหมอผู้ยืนอยู่ไม่ไกล. งูรัด
ก้านคอของหมอ กัดอย่างถนัด ให้ถึงความสิ้นชีวิตในที่นั้นนั่นเอง.
นายโกกะพรานสุนัขนี้ แม้ในกาลก่อนก็ประทุษร้ายต่อคนผู้ไม่ประทุษร้าย
ถึงความพินาศแล้วอย่างนั้นเหมือนกัน."

พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิ
แสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
9. โย อปฺปทุฏฺฐสฺส นรสฺส ทุสฺสติ
สุทฺธสฺส โปสสฺส อนงฺคณสฺส
ตเมว พาลํ ปจฺเจติ ปาปํ
สุขุโม รโช ปฏิวาตํว ขิตฺโต.
"ผู้ใด ประทุษร้ายต่อนรชนผู้ไม่ประทุษร้าย ผู้
บริสุทธิ์ ไม่มีกิเลสดุจเนิน, บาปย่อมกลับถึงผู้นั้น
ซึ่งเป็นคนพาลนั่นเอง เหมือนธุลีอันละเอียดที่เขา
ซัดทวนลมไปฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อปฺปทุฏฺฐสฺส คือผู้ไม่ประทุษร้ายต่อตน
หรือต่อสรรพสัตว์. บทว่า นรสฺส ได้แก่ สัตว์. บทว่า ทุสฺสติแปลว่า
ย่อมพระพฤติผิด. บทว่า สุทฺธสฺส คือผู้ไม่มีความผิดเลย. แม้คำว่า
โปสสฺส นี้ ก็เป็นชื่อของสัตว์นั้นเอง โดยอาการอื่น.
บทว่า อนงฺคณสฺส คือผู้ไม่มีกิเลส. คำว่า ปจฺเจติ ตัดบทเป็น
ปฏิ-เอติ (แปลว่า ย่อมกลับถึง).
บทว่า ปฏิวาตํ เป็นต้น ความว่า ธุลีที่ละเอียด อันบุรุษผู้หนึ่งซัด
ไป ด้วยความเป็นผู้ใคร่ประหารคนผู้ยืนอยู่ในที่เหนือลมย่อมกลับถึงบุรุษ
นั้นเอง คือตกลงที่เบื้องบนของผู้ซัดไปนั้นเอง ฉันใด. บุคคลใด เมื่อให้
การประหารด้วยฝ่ามือเป็นต้น ชื่อว่าย่อมประทุษร้ายต่อบุรุษผู้ไม่ประทุษ-
ร้าย. บาปนั้นเมื่อให้ผลในปัจจุบันนี้ หรือในอบายทั้งหลายมีนรกเป็นต้น