เมนู

ทางวาจา พึงละวจีทุจริตแล้ว ประพฤติสุจริตทาง
วาจา; พึงละความกำเริบทางใจ, พึงเป็นผู้สำรวม
ทางใจ, พึงละมโนทุจริตแล้ว ประพฤติสุจริตทางใจ,
ธีรชนทั้งหลายสำรวมทางกาย, อนึ่งสำรวมทางวาจา,
สำรวมทางใจ, ธีรชนเหล่านั้นแล ชื่อว่าสำรวม
รอบคอบดีแล้ว. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กายปฺปโกปํ ได้แก่ พึงรักษากาย-
ทุจริตสามอย่าง.
สองบทว่า กาเยน สํวุโต ความว่า พึงห้ามการเข้าไปแห่งทุจริต
ในกายทวาร สำรวมไว้แล้ว คือมีทวารปิดแล้ว; ก็เพราะบุคคลละกาย
ทุจริตอยู่ประพฤติกายสุจริต ชื่อว่า ย่อมกระทำกรรมนั้น แม้ทั้งสองอย่าง;
ฉะนั้น พระองค์จึงตรัสว่า " กายทุจฺจริตํ หิตฺวา กาเยน สุจริตํ จเร. "
แม้ในคาถาเป็นลำดับไป ก็นัยนี้เหมือนกัน.
บาทพระคาถาว่า กาเยน สํวุตา ธีรา ความว่า บัณฑิตเหล่าใด
เมื่อไม่ทำกายทุจริตมีปาณาติบาตเป็นต้น ชื่อว่า สำรวมแล้วทางกาย, เมื่อ
ไม่ทำวจีทุจริตมีมุสาวาทเป็นต้น ชื่อว่า สำรวมแล้วทางวาจา, เมื่อไม่ให้
มโนทุจริตมีอภิชฌาเป็นต้นตั้งขึ้น ชื่อว่า สำรวมแล้วทางใจ; บัณฑิต
เหล่านั้น ชื่อว่า สำรวมรอบคอบดีแล้ว คือ รักษาดีแล้ว คุ้มครองดีแล้ว
มีทวารอันปิดดีแล้ว ในโลกนี้.