เมนู

อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ ปญฺญาสีลสมาหิ
เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว โก ตํ นินฺทิตุมรหติ
เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต.
" อตุละ การนินทาและสรรเสริญนั่น เป็นของ
เก่า, นั่นมิใช่เป็นเหมือนมีในวันนี้, ชนทั้งหลาย
ย่อมนินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง, ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง,
ย่อมนินทาผู้พูดพอประมาณบ้าง.1 ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มี
ในโลก คนผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือว่าอันเขา
สรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่ได้มีแล้ว จักไม่มี และไม่
มีอยู่ในบัดนี้; หากว่าวิญญูชนใคร่ครวญแล้วทุก ๆ วัน
สรรเสริญผู้ใด ซึ่งมีความประพฤติไม่ขาดสาย มี
ปัญญา ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล, ใครเล่าย่อมควร
เพื่อติเตียนผู้นั้นผู้เป็นดังแท่งทองชมพูนุท2, แม้เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ก็สรรเสริญเขา ถึงพรหมก็สรร-
เสริญแล้ว. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปราณเมตํ คือการนินทาและสรรเสริญ
นั่นเอง เป็นของเก่า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอุบาสกนั้นว่า " อตุละ. "
บาทพระคาถาว่า เนตํ อชฺชตนามิว ความว่า การนินทาหรือ
สรรเสริญนี้ เป็นเหมือนมีในวันนี้ คือเกิดขึ้นเมื่อตะกี้ หามิได้. อธิบายว่า
1. ตามพยัญชนะว่า ผู้พูดพอนับได้. 2. ทองพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งได้มาจากแม่น้ำชมพู.

จริงอยู่ คนทั้งหลายย่อมนินทาคนนิ่งว่า " ทำไม ? คนนี่จึงนั่งนิ่ง
เหมือนคนใบ้ เหมือนคนหนวก เหมือนไม่รู้อะไร ๆ เสียเลย " ดังนี้บ้าง,
ย่อมนินทาคนพูดมากว่า " ทำไม ? คนนี่จึงประพฤติเสียงกฏะกฏะ เหมือน
กับใบตาลถูกลมพัด, คำพูดของผู้นี้ไม่มีที่สิ้นสุด " ดังนี้บ้าง, ย่อม
นินทาผู้พูดพอประมาณว่า " ทำไม ? คนนี่จึงสำคัญคำพูดของตนเหมือน
ทองคำและเงิน พูดคำสองคำแล้วนิ่งเสีย " ดังนี้บ้าง; คนชื่อว่าไม่ถูก
นินทา ย่อมไม่มีในโลกนี้ แม้โดยประการทั้งปวง ด้วยประการอย่างนั้น.
บทว่า น จาหุ เป็นต้น ได้แก่ ไม่ได้มีแล้วแม้ในอดีต. ทั้งจัก
ไม่มีในอนาคต.
สองบทว่า ยญฺเจ วิญฺญู ความว่า การนินทาหรือสรรเสริญของ
พวกชนพาล ไม่เป็นประมาณ แต่บัณฑิตทั้งหลาย ใคร่ครวญเเล้ว คือ
ทราบเหตุแห่งนินทาหรือเหตุแห่งสรรเสริญแล้วทุก ๆ วัน ย่อมสรรเสริญ
บุคคลใด ผู้ชื่อว่า มีความประพฤติไม่ขาดสาย เพราะความเป็นผู้ประกอบ
ด้วยสิกขาอันไม่ขาดสาย หรือด้วยความเป็นไปแห่งชีวิตไม่ขาดสาย ผู้ชื่อว่า
มีปัญญา เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันรุ่งเรืองในธรรม ชื่อว่า
ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล เพราะความเป็นผู้ประกอบด้วยปัญญาอันเป็น
โลกิยะและโลกุตระ และด้วยปาริสุทธิศีล 4, ใครเล่า ย่อมควรเพื่อ
นินทาบุคคลนั้น ผู้เป็นดุจดังแท่งทองชมพูนุท อันเว้นจากโทษแห่งทองคำ
อันควรเพื่อจะบุและขัด.
บทว่า เทวาปิ เป็นต้น ได้แก่ เทพดาก็ดี มนุษย์ผู้เป็นบัณฑิตก็ดี
ย่อมลุกขึ้นชมเชย สรรเสริญ ซึ่งภิกษุนั้น.

บทว่า พฺรหฺมุนาปิ ความว่า ไม่ใช่เทพดาและมนุษย์อย่างเดียว
(ย่อมสรรเสริญ). ถึงมหาพรหมในหมื่นจักรวาล ก็สรรเสริญบุคคลนั่น
เหมือนกัน.
ในกาลจบเทศนา อุบาสกเหล่านั้นทั้ง 500 ดำรงอยู่แล้วในโสดา-
ปัตติผล ดังนี้แล.
เรื่องอตุลอุบาสก จบ.

8. เรื่องภิกษุฉัพพัคคีย์ [181]


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภภิกษุฉัพพัคคีย์
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " กายปฺปโกปํ " เป็นต้น.

มูลบัญญัติการสวมเขียงเท้า


ความพิสดารว่า วันหนึ่ง พระศาสดาทรงสดับเสียง " ขฏะขฏะ ก๊อก ๆ "
แห่งภิกษุเหล่านั้น ผู้ถือไม้เท้าทั้งสองมือ สวมเขียงเท้าไม้ จงกรมอยู่บน
หลังแผ่นหิน ตรัสถามว่า " อานนท์ นั่นชื่อ เสียงอะไรกัน ? " ทรงสดับา
" เป็นเสียงขฏะขฏะแห่งพวกภิกษุฉัพพัคคีย์ ผู้สวมเขียงเท้าไม้จงกรมอยู่ "
จึงทรงบัญญัติสิกขาบท แล้วตรัสว่า " ธรรมดาภิกษุ ควรรักษาทวาร
มีกายทวาร เป็นต้น " ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงได้ทรง
ภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
8. กายปฺปโกปํ รกฺเขยฺยํ กาเยน สํวุโต สิยา
กายทุจฺจริตํ หิตฺวา กาเยน สุจริตํ จเร
วจีปโกปํ รกฺเขยฺย วาจาย สํวุใต สิยา
วจีทุจฺจริตํ หิตฺวา วาจาย สุจริตํ จเร
มโนปโกปํ รกฺเขยฺย มนสา สํวุโต สิยา
มโนทุจฺจริตํ หิตฺวา มนสา สุจริตํ จเร
กาเยน สํวุตา ธีรา อโถ วาจาย สํวุตา
มนสา สํวุตา ธีรา เต เว สุปริสํวุตา.
" พึงรักษาความกำเริบทางกาย พึงเป็นผู้สำรวม
ทางกาย, พึงละกายทุจริตแล้ว ประพฤติสุจริตทาง
กาย; พึงรักษาความกำเริบทางวาจา, พึงเป็นผู้สำรวม