เมนู

อจฺฉิทฺทวุตฺตึ เมธาวึ ปญฺญาสีลสมาหิ
เนกฺขํ ชมฺโพนทสฺเสว โก ตํ นินฺทิตุมรหติ
เทวาปิ นํ ปสํสนฺติ พฺรหฺมุนาปิ ปสํสิโต.
" อตุละ การนินทาและสรรเสริญนั่น เป็นของ
เก่า, นั่นมิใช่เป็นเหมือนมีในวันนี้, ชนทั้งหลาย
ย่อมนินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง, ย่อมนินทาผู้พูดมากบ้าง,
ย่อมนินทาผู้พูดพอประมาณบ้าง.1 ผู้ไม่ถูกนินทาไม่มี
ในโลก คนผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือว่าอันเขา
สรรเสริญโดยส่วนเดียวไม่ได้มีแล้ว จักไม่มี และไม่
มีอยู่ในบัดนี้; หากว่าวิญญูชนใคร่ครวญแล้วทุก ๆ วัน
สรรเสริญผู้ใด ซึ่งมีความประพฤติไม่ขาดสาย มี
ปัญญา ผู้ตั้งมั่นด้วยปัญญาและศีล, ใครเล่าย่อมควร
เพื่อติเตียนผู้นั้นผู้เป็นดังแท่งทองชมพูนุท2, แม้เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลาย ก็สรรเสริญเขา ถึงพรหมก็สรร-
เสริญแล้ว. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โปราณเมตํ คือการนินทาและสรรเสริญ
นั่นเอง เป็นของเก่า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกอุบาสกนั้นว่า " อตุละ. "
บาทพระคาถาว่า เนตํ อชฺชตนามิว ความว่า การนินทาหรือ
สรรเสริญนี้ เป็นเหมือนมีในวันนี้ คือเกิดขึ้นเมื่อตะกี้ หามิได้. อธิบายว่า
1. ตามพยัญชนะว่า ผู้พูดพอนับได้. 2. ทองพิเศษชนิดหนึ่งซึ่งได้มาจากแม่น้ำชมพู.