เมนู

พระอภิธรรมนี้ " ดังนี้แล้ว ได้พาบริษัทไปยังสำนักพระอานนทเถระ;
แม้เมื่อพระเถระกล่าวว่า " ทำไม ? อุบาสก, " จึงกล่าวว่า " ท่านขอรับ
พวกผมเข้าไปหาพระเรวตเถระ เพื่อต้องการฟังธรรม, ไม่ได้แม้เเต่การ
สนทนาและปราศรัยในสํานักของท่าน เลยโกรธ แล้วจึงมายังสำนักของ
พระสารีบุตรเถระ, แม้พระเถระนั้น ก็แสดงอภิธรรมอย่างเดียวละเอียด
นัก มากมายแก่พวกผม, พวกผมโกรธแม้ต่อพระเถระนั้นว่า ' พวกเรา
ต้องการอะไรด้วยอภิธรรมนี้ แล้วจึงมาที่นี้; ขอท่านจงแสดงธรรมกถา
แก่พวกผมเถิด ขอรับ."
พระเถระ. ถ้าอย่างนั้น ขอพวกท่านจงนั่งฟังเถิด.
พระเถระแสดงธรรมแก่พวกเขาแต่น้อย ๆ ทำให้เข้าใจง่าย.

อตุละโกรธคนผู้พูดน้อย


พวกเขาโกรธแม้ต่อพระเถระแล้ว ก็ไปยังสำนักพระศาสดา ถวาย
บังคมแล้วนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพวกเขาว่า " อุบาสกทั้งหลาย พวก
ท่านมาทำไมกัน ."
พวกอุบาสก. เพื่อต้องการฟังธรรม พระเจ้าข้า.
พระศาสดา ก็พวกท่านฟังธรรมแล้วหรือ ?
พวกอุบาสก. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เบื้องต้น พวกข้าพระองค์
เข้าไปหาพระเรวตเถระ, ท่านไม่กล่าวอะไรกับพวกข้าพระองค์, พวก
ข้าพระองค์โกรธท่านแล้ว จึงไปหาพระสารีบุตรเถระ, พระเถระนั้น
แสดงอภิธรรมแก่พวกข้าพระองค์มากมาย, พวกข้าพระองค์กำหนด

อภิธรรมนั้นไม่ได้ จึงโกรธ แล้วเข้าไปหาพระอานนทเถระ พระเถระ
นั้น แสดงธรรมแก่พวกข้าพระองค์น้อยนัก, พวกข้าพระองค์โกรธแม้ต่อ
ท่าน แล้วมาในที่นี้.

การนินทาสรรเสริญเป็นของเก่า


พระศาสดา ทรงสดับถ้อยคำของเขาแล้ว จึงตรัสว่า " อตุละ ข้อ
นั้น เขาเคยประพฤติกันมาตั้งแต่โบราณทีเดียว, ชนทั้งหลายติเตียน ทั้ง
คนนิ่ง ทั้งคนพูดมาก ทั้งคนพูดน้อยทีเดียว, ด้วยว่าผู้อันเขาพึงติเตียน
อย่างเดียวเท่านั้น หรือว่าผู้อันเขาพึงสรรเสริญอย่างเดียวไม่มีเลย; แม้
พระราชาทั้งหลาย คนบางพวกก็นินทา บางพวกก็สรรเสริญ, แผ่นดิน
ใหญ่ก็ดี, พระจันทร์และพระอาทิตย์ก็ดี, ธาตุมีอากาศเป็นต้นก็ดี, คน
บางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ, แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ประทับ
นั่งแสดงธรรมในท่ามกลางบริษัท 4 บางพวกนินทา บางพวกสรรเสริญ;
ก็การนินทาและสรรเสริญของพวกอันธพาลไม่เป็นประมาณ; แต่ผู้ที่ถูก
บัณฑิตผู้มีปัญญาติเตียน จึงชื่อว่า เป็นอันติเตียน ผู้อันบัณฑิตสรรเสริญ
แล้ว ชื่อว่าเป็นอันสรรเสริญ " ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้
ว่า :-
7. โปราณเมตํ อตุล เนตํ อชฺชตนามิว
นินฺทนฺติ ตุณฺหิมาสีนํ นินฺทนฺติ พหุภาณินํ
มิตภาณิมฺปิ นินฺทนฺติ นตฺถิ โลเก อนินฺทิโต
น จาหุ น จ ภวิสฺสติ น เจตรหิ วิชฺชติ
เอกนฺติ นินฺทิโต โปโส เอกนฺตํ วา ปสํสิโต
ยญฺเจ วิญฺญู ปสํสนฺติ อนุวิจฺจ สุเว สุเว