เมนู

6. เรื่องนางปุณณทาสี [179]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภทาสีของเศรษฐี
กรุงราชคฤห์ชื่อนางปุณณา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สทา ชาคร-
มานานํ "
เป็นต้น.

นางปุณณาถวายขนมรําแด่พระพุทธเจ้า


ดังได้สดับมา ในวันหนึ่ง เศรษฐีได้ให้ข้าวเปลือกเป็นอันมากแก่
นางปุณณานั้น เพื่อประโยชน์แก่อันซ้อม. นางตามประทีปในกลางคืน
ซ้อมข้าวเปลือกอยู่ มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ จึงได้ไปยืนตากลมอยู่ ณ ภายนอก
เพื่อต้องการพักผ่อน.
ในสมัยนั้น พระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้จัดแจงเสนาสนะเพื่อภิกษุ
ทั้งหลาย ท่านยังนิ้วมือให้สว่างเพื่อภิกษุทั้งหลาย ผู้ฟังธรรมแล้วไปสู่
เสนาสนะของตน ๆ นิรมิตภิกษุทั้งหลายผู้ไปข้างหน้า ๆ เพื่อประโยชน์แก่
การแสดงทาง. นางปุณณา เห็นภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนภูเขา ด้วยแสง
สว่างนั้น จึงคิดว่า " เราถูกทุกข์ของตัวเบียดเบียน จึงไม่เข้าถึงความหลับ
ในเวลาแม้นี้ก่อน. เพราะเหตุไร ท่านผู้เจริญทั้งหลาย " จึงไม่หลับ ? "
ดังนี้แล้ว ก็ทำความเข้าใจเอาเองว่า " ความไม่ผาสุก จักมีแก่ภิกษุบาง
รูป, หรืออุปัทวเหตุเพราะงู1 จักมีในที่นั่นเป็นแน่ " แต่เช้าตรู่ จึงหยิบ
รำชุบน้ำให้ชุ่มแล้ว ทำขนมบนฝ่ามือ ปิ้งที่ถ่านเพลิง ห่อไว้ในพก คิดว่า
" จักกินขนมที่ทางไปสู่ท่าน้ำ " จึงถือหม้อ เดินบ่ายหน้าไปยังท่าน้ำ.
1. ทีฆชาติเกน = สัตว์มีชาติแห่งสัตว์ยาว.