เมนู

นิพพานแล้ว จึงทูลถามว่า " ภพหน้าของพราหมณ์และพราหมณีนั้นเป็น
อย่างไร ? พระเจ้าข้า. "

พระอเสขมุนีไปสู่ฐานะที่ไม่จุติ


พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าอภิสัมปรายภพของพระ-
อเสขมุนีทั้งหลายผู้เห็นปานนั้น ย่อมไม่มี, เพราะว่าพระอเสขมุนีผู้เห็น
ปานนั้น ย่อมบรรลุมหานิพพานอันไม่จุติ อันไม่ตาย " ดังนี้แล้ว จึงตรัส
พระคาถานี้ว่า :-
5. อหึสกา เย มุนโย นิจฺจํ กาเยน สํวุตา
เต ยนฺติ อจฺจุตํฐานํ ยตฺถ คนฺตฺวา น โสจเร.
" มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวมแล้ว
ด้วยกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้น ย่อมไปสู่ฐานะอัน
ไม่จุติ ซึ่งเป็นที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า มุนโย คือ พระอเสขมุนีทั้งหลายบรรลุ
มรรคและผลด้วยโมไนยปฏิปทา.
บทว่า กาเยน นั่น สักว่าเป็น (หัวข้อ) เทศนาเท่านั้น. อธิบายว่า
สำรวมแล้วด้วยทวารแม้ทั้ง 3.
บทว่า อจฺจุตํ ได้แก่ เที่ยง.
บทว่า ฐานํ ได้แก่ ฐานะที่ไม่กำเริบ คือฐานะที่ยั่งยืน.

บทว่า ยตฺถ เป็นต้น ความว่า มุนีทั้งหลาย ย่อมไปสู่ฐานะ คือ
พระนิพพาน ซึ่งเป็นที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก คือไม่เดือดร้อน.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องปัญหาที่ภิกษุทูลถาม จบ.

6. เรื่องนางปุณณทาสี [179]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่เขาคิชฌกูฏ ทรงปรารภทาสีของเศรษฐี
กรุงราชคฤห์ชื่อนางปุณณา ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สทา ชาคร-
มานานํ "
เป็นต้น.

นางปุณณาถวายขนมรําแด่พระพุทธเจ้า


ดังได้สดับมา ในวันหนึ่ง เศรษฐีได้ให้ข้าวเปลือกเป็นอันมากแก่
นางปุณณานั้น เพื่อประโยชน์แก่อันซ้อม. นางตามประทีปในกลางคืน
ซ้อมข้าวเปลือกอยู่ มีตัวชุ่มด้วยเหงื่อ จึงได้ไปยืนตากลมอยู่ ณ ภายนอก
เพื่อต้องการพักผ่อน.
ในสมัยนั้น พระทัพพมัลลบุตรเป็นผู้จัดแจงเสนาสนะเพื่อภิกษุ
ทั้งหลาย ท่านยังนิ้วมือให้สว่างเพื่อภิกษุทั้งหลาย ผู้ฟังธรรมแล้วไปสู่
เสนาสนะของตน ๆ นิรมิตภิกษุทั้งหลายผู้ไปข้างหน้า ๆ เพื่อประโยชน์แก่
การแสดงทาง. นางปุณณา เห็นภิกษุทั้งหลายผู้เที่ยวไปบนภูเขา ด้วยแสง
สว่างนั้น จึงคิดว่า " เราถูกทุกข์ของตัวเบียดเบียน จึงไม่เข้าถึงความหลับ
ในเวลาแม้นี้ก่อน. เพราะเหตุไร ท่านผู้เจริญทั้งหลาย " จึงไม่หลับ ? "
ดังนี้แล้ว ก็ทำความเข้าใจเอาเองว่า " ความไม่ผาสุก จักมีแก่ภิกษุบาง
รูป, หรืออุปัทวเหตุเพราะงู1 จักมีในที่นั่นเป็นแน่ " แต่เช้าตรู่ จึงหยิบ
รำชุบน้ำให้ชุ่มแล้ว ทำขนมบนฝ่ามือ ปิ้งที่ถ่านเพลิง ห่อไว้ในพก คิดว่า
" จักกินขนมที่ทางไปสู่ท่าน้ำ " จึงถือหม้อ เดินบ่ายหน้าไปยังท่าน้ำ.
1. ทีฆชาติเกน = สัตว์มีชาติแห่งสัตว์ยาว.