เมนู

พลันฉวยได้ ๆ ตีที่ศีรษะ, ดิฉันนั้นเมื่อความโกรธเกิดขึ้น, ก็นึกติตัวเอง
เท่านั้นว่า ' นายของเจ้านี่ เป็นใหญ่ เพื่อจะทำเจ้าให้เสียโฉมก็ได้, เพื่อ
จะตัดอวัยวะมีจมูกเป็นต้น ของเจ้าก็ได้, เจ้าอย่าโกรธเลย ' ดังนี้แล้ว ก็ไม่
ทำความโกรธ; ด้วยเหตุนั้น ดิฉันจึงได้สมบัตินี้. "
เทพธิดาองค์อื่น ต่างก็บอกทานเล็กน้อยอันตน ๆ ทำแล้ว โดยนัย
เป็นต้นว่า " ท่านผู้เจริญ ดิฉันรักษาไร่อ้อย ได้ถวายอ้อยลำหนึ่งแก่ภิกษุ
รูปหนึ่ง. " องค์อื่นบอกว่า ' ดิฉันถวายมะพลับผลหนึ่ง ' องค์อื่นบอกว่า
' ดิฉันได้ถวายฟักทองผลหนึ่ง ' องค์อื่นบอกว่า ' ดิฉันได้ถวายผลลิ้นจี่
ผลหนึ่ง' องค์อื่นบอกว่า ' ดิฉันได้ถวายเหง้ามันกำมือหนึ่ง ' องค์อื่นบอก
ว่า ' ดิฉันได้ถวายสะเดากำมือหนึ่ง ' ดังนี้แล้ว ก็บอกว่า ' ด้วยเหตุนี้
พวกดิฉันจึงได้สมบัตินี้. "

กล่าวคําสัตย์เท่านั้นก็ได้ไปสวรรค์ได้


พระเถระ ฟังกรรมที่เทพธิดาเหล่านั้นทำแล้ว จึงลงจากสวรรค์
เข้าไปเฝ้าพระศาสดาแล้วทูลถามว่า " พระเจ้าข้า บุคคลอาจไหมหนอแล
เพื่อจะได้ทิพยสมบัติ ด้วยเหตุเพียงกล่าวคำสัตย์ เพียงดับความโกรธ เพียง
ถวายทานมีผลมะพลับเป็นต้น อันเล็กน้อยเหลือเกิน ? "
พระศาสดา. โมคคัลลานะ เพราะเหตุไร เธอจึงถามเรา ? พวก
เทพธิดาบอกเนื้อความนี้แก่เธอแล้ว มิใช่หรือ ?
โมคคัลลานะ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า บุคคลเห็นจะได้ทิพยสมบัติ
ด้วยกรรมมีประมาณเท่านั้น.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระโมคคัลลานะนั้นว่า " โมคคัลลานะ
บุคคลกล่าวเพียงคําสัตย์ก็ดี ละเพียงความโกรธก็ดี ถวายทานเพียงเล็ก

น้อยก็ดี ย่อมไปเทวโลกได้เเท้ " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
4. สจฺจํ ภเณ น กุชฺเฌยฺย ทชฺชา อปฺปสฺมิ ยาจิโต
เอเตหิ ตีหิ ฐาเนหิ คจฺเฉ เทวาน สนฺติเก.
" บุคคลควรกล่าวคำสัตย์ ไม่ควรโกรธ, ถึงถูก
เขาขอน้อย ก็พึงให้, บุคคลพึงไปในสำนักของเทวดา
ทั้งหลายได้ ด้วยฐานะ 3 นั่น. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า สจฺจํ ภเณ ความว่า พึงแสดง คือ
พึงกล่าวคำสัตย์, อธิบายว่า ควรตั้งมั่นอยู่ในคำสัตย์.
บทว่า น กุชฺเฌยฺย ได้แก่ ไม่ควรโกรธต่อบุคคลอื่น.
บทว่า ยาจิโต ความว่า บรรพชิตผู้มีศีล ชื่อว่าผู้ขอ. ความจริง
บรรพชิตเหล่านั้น ไม่ขอเลยว่า " ขอท่านจงให้ " ย่อมยืนอยู่ที่ประตูเรือน
ก็จริง. ถึงกระนั้น โดยอรรถก็ชื่อว่าย่อมขอทีเดียว บุคคลอันผู้มีศีลขอแล้ว
อย่างนั้น เมื่อไทยธรรมแม้เล็กน้อยมีอยู่ ก็พึงให้เเม้เพียงเล็กน้อย.
สองบทว่า เอเตหิ ตีหิ ความว่า บรรดาเหตุเหล่านั้น ด้วยเหตุแม้
เพียงอย่างเดียว บุคคลพึงไปเทวโลกได้.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องปัญหาของพระโมคคัลลานเถระ จบ.