เมนู

มงคล1 และฉัตรมงคล2 เป็นงานเดียวกัน ได้ถวายทานแด่ภิกษุสงฆ์ มี
พระพุทธเจ้าเป็นประมุขตลอด 7 วัน. ครั้งนั้น พระศาสดาเมื่อจะทรง
ทำอนุโมทนาแก่เขา จึงตรัสอนุปุพพีกถาแล้ว.
ในกาลจบธรรมกถา ชนทั้ง 3 คือ ปุณณเศรษฐี 1 ภรรยาของ
เขา 1 นางอุตตราผู้เป็นธิดา 1 ได้เป็นพระโสดาบันแล้ว.

ธิดาปุณณเศรษฐีได้เป็นภรรยาบุตรสุมนเศรษฐี


ในกาลต่อมา เศรษฐีในกรุงราชคฤห์ ขอธิดาของปุณณเศรษฐีให้
บุตรของตน. เขาพูดว่า " ผมให้ไม่ได้." เมื่อเศรษฐีในกรุงราชคฤห์
พูดว่า " จงอย่าทำอย่างนั้น, ท่านอาศัยฉันอยู่ตลอดเวลาถึงเพียงนี้ทีเดียว
จึงได้สมบัติ, จงให้ธิดาแก่บุตรของฉันเถิด " จึงกล่าวว่า " บุตรของ
ท่านนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ, ส่วนธิดาของผมเหินห่างจากพระรัตนะทั้งสามแล้ว
ไม่อาจเป็นไปได้, ผมจึงจักยกธิดาให้บุตรของท่านไม่ได้เลย. "
ครั้งนั้น กุลบุตรทั้งหลายมีเศรษฐีและคฤหบดีเป็นต้น เป็นอันมาก
วิงวอนเขาว่า " อย่าทำลายความสนิทสนมกับด้วยเศรษฐีในกรุงราชคฤห์
นั้น, จงยกธิดาให้บุตรของเขาเถิด. " เขารับคำของกุลบุตรเหล่านั้นแล้ว
ได้ยกธิดาให้ในดิถีเพ็ญเดือนอาสฬหะ.
จำเดิมแต่เวลาไปสู่เรือนตระกูลสามีแล้ว นางมิได้เพื่อจะเข้าไปหาภิกษุ
หรือภิกษุณี หรือเพื่อถวายทานหรือฟังธรรมเลย. เมื่อล่วงไปได้ประมาณ
2 เดือนครึ่ง ด้วยอาการอย่างนี้, นางจึงถามสาวใช้ผู้อยู่ในสำนักว่า " เวลา
นี้ภายในพรรษายังเหลืออีกเท่าไร ? "
1. มงคลอันบุคคลพึงทำในกาลเป็นที่เข้าไปสู่เรือน. 2. มงคลอันบุคคลพึงทำแก่ฉัตร ในกาล
เป็นที่ฉลองฉัตร.

สาวใช้. ยังอยู่อีกครึ่งเดือน คุณแม่.
นางส่งข่าวไปให้บิดาว่า " เหตุไฉน บิดาจึงขังดิฉันไว้ในเรือน มี
รูปอย่างนี้ ? การที่บิดาทำฉันให้เป็นคนเสียโฉม แล้วประกาศว่า เป็น
ทาสีของชนพวกอื่น ยังจะประเสริฐกว่า, การที่ยกให้แก่ตระกูลมิจฉาทิฏฐิ
เห็นปานนี้ ไม่ประเสริฐเลย, ตั้งแต่ดิฉันมาแล้ว ดิฉันไม่ได้ทำบุญแม้
สักอย่างในประเภทบุญ มีการพบเห็นภิกษุเป็นต้นเลย. "
ลำดับนั้น บิดาของนางให้รู้สึกไม่สบายใจ ด้วยคิดว่า " ธิดาของ
เราได้รับทุกข์หนอ " จึงส่งทรัพย์ไป 15,000 กหาปณะ ด้วยสั่งว่า " ใน
นครนี้ มีหญิงคณิกาชื่อสิริมา, เจ้าจงพูดว่า ' หล่อนจงรับทรัพย์วันละ
1,000 กหาปณะ นำนางมาด้วยกหาปณะเหล่านี้ ทำให้เป็นนางบำเรอ
ของสามีแล้ว ส่วนตัวเจ้าจงทำบุญทั้งหลายเถิด. "
นางให้เชิญนางสิริมามาแล้ว พูดว่า " สหาย เธอจงรับกหาปณะ
เหล่านั้นแล้ว บำเรอชาย สหายของเธอสักกึ่งเดือนนี้เถิด. "
นางสิริมานั้นรับรองว่า " ดีละ " นางพาเขาไปสำนักของสามี เมื่อ
สามีนั้นเห็นนางสิริมาแล้ว กล่าวว่า " อะไรกันนี่ ? " จึงบอกว่า " นาย
ขอให้หญิงสหายของดิฉันบำเรอนายตลอดกึ่งเดือนนี้, ส่วนดิฉันใคร่จะ
ถวายทานและฟังธรรม ตลอดกึ่งเดือนนี้. "
เศรษฐีบุตรเห็นนางมีรูปงาม เกิดความสิเนหา จึงรับรองว่า
" ดีละ."

นางอุตตราได้โอกาสทำบุญ


แม้นางอุตตราแล นิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขว่า
" ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระองค์อย่าเสด็จไปที่อื่น พึงรับภิกษาใน