เมนู

ว่า ' เทพดาองค์โน้นฆ่าภิกษุเสีย ก็อย่างนี้เหมือนกัน ' แล้วจักฆ่าภิกษุ
ทั้งหลายเสีย; ก็ภิกษุนี้มีเจ้าของ เราจักต้องบอกกล่าวเธอแก่เจ้าของ
ทีเดียว." ลดมือที่ยกขึ้นแล้ว ร้องไห้ไปสู่สำนักของพระศาสดา ถวาย
บังคมแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " ทําไมหรือ ? เทวดา "
เขาทูลว่า " พระเจ้าข้า สาวกของพระองค์แหละ ทำกรรทชื่อนี้. แม้
ข้าพระองค์ก็ใคร่จะฆ่าเธอ แต่คิดข้อนี้ได้ จึงไม่ฆ่า แล้วรีบมาที่นี้เทียว "
ดังนี้แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดโดยพิสดาร.
พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า " ถูกแล้ว ๆ เทพดา
เธอข่มความโกรธที่เกิดขึ้นอย่างนั้นไว้อยู่ เหมือนห้ามรถกำลังหมุนไว้ได้
ชื่อว่าทำความดีแล้ว " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
2. โย เว อุปฺปติตํ โกธํ รถํ ภนฺติ ธารเย
ตมหํ สารถิ พฺรูมิ รสฺมิคฺคาโห อิตโร ชโน.
" ผู้ใดแล พึงสะกดความโกรธที่พลุ่งขึ้นเหมือน
คนห้ามรถที่กำลังแล่นไปได้, เราเรียกผู้นั้นว่า
' สารถี ' ส่วนคนนอกนี้เป็นเพียงผู้ถือเชือก. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปติตํ ได้แก่ ที่เกิดขึ้นแล้ว.
สองบทว่า รถํ ภนฺตํว ความว่า เหมือนอย่างนายสารถีผู้ฉลาด
ห้ามรถที่แล่นอยู่โดยกำลังเร็ว หยุดไว้ได้ตามต้องการ ชื่อฉันใด; บุคคล
ใด พึงสะกด คืออาจข่มความโกรธที่เกิดขึ้นไว้ได้ ก็ฉันนั้น.
บทว่า ตมหํ ความว่า เราเรียกบุคคลนั้นว่า สารถี.

สองบทว่า อิตโร ชโน ความว่า ส่วนชนนอกนี้คือสารถีรถ
ของอิสรชนมีพระราชาและอุปราชเป็นต้น ย่อมชื่อว่าเป็นเพียงผู้ถือเชือก
หาใช่สารถีชั้นเยี่ยมไม่.
ในกาลจบเทศนา เทพดาดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล, เทศนาได้มี
ประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
ฝ่ายเทพดา แม้เป็นพระโสดาบันก็ยังยืนร้องไห้อยู่. ครั้งนั้น พระ-
ศาสดาตรัสถามเธอว่า " ทำไมหรือ เทพดา ? " เมื่อเทพดาทูลว่า
" พระเจ้าข้า วิมานของข้าพระองค์ฉิบหายเสียแล้ว, บัดนี้ข้าพระองค์จะ
ทําอย่างไร ? " จึงตรัสว่า " อย่าเลย เทพดา ท่านอย่าคิด เราจักให้
วิมานแก่ท่าน " แล้วทรงชี้ต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งเทพดาจุติไปเมื่อวันก่อน
ใกล้กับพระคันธกุฎีในพระเชตวัน ตรัสว่า ่" ต้นไม้โน้นในโอกาสโน้น
ว่าง, เธอจงเข้าสถิต ณ ต้นไม้นั้นเถิด. " เทพดานั้นเข้าสถิตที่ต้นไม้นั้น
แล้ว. ตั้งแต่นั้น แม้เทพดาที่ทรงศักดิ์ใหญ่ ทราบว่า " วิมานของเทพดา
นี้ อันพระพุทธเจ้าประทาน " ก็ไม่อาจมาทำให้เธอหวั่นไหวได้.
พระศาสดาทรงทำเรื่องนั้นให้เป็นเหตุเกิดขึ้นแล้ว ทรงบัญญัติ
ภูตคามสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง จบ.

3. เรื่องอุตตราอุบาสิกา [176]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงทำภัตกิจในเรือน
ของนางอุตตราแล้ว ทรงปรารภอุบาสิกาชื่ออุตตรา ตรัสพระธรรมเทศนา
นี้ว่า " อกฺโกเธน ชิเน โกธํ " เป็นต้น.

นายปุณณะยากจนต้องรับจ้างสุมนเศรษฐี


อนุปุพพีกถา ในเรื่องอุตตราอุบาสิกานั้น ดังต่อไปนี้ :-
ได้ยินว่า คนขัดสนชื่อปุณณะ อาศัยสุมนเศรษฐี รับจ้างเลี้ยงชีพ
อยู่ในกรุงราชคฤห์. ในเรือน (ของเขา) มีคน 2 คนเท่านั้น คือภรรยา
ของเขาคนหนึ่ง ธิดาชื่อนางอุตตราคนหนึ่ง.
ต่อมาวันหนึ่ง พวกราชบุรุษทำการโฆษณาในกรุงราชคฤห์ว่า
" ชาวพระนครพึงเล่นนักษัตรกันตลอด 7 วัน. " สุมนเศรษฐีได้ยินคำ
โฆษณานั้นแล้ว จึงเรียกนายปุณณะผู้มาแต่เช้าตรู่กล่าวว่า " พ่อ ปริชน
ของฉัน ประสงค์จะเล่นนักษัตรกัน, แกจักเล่นนักษัตร (กะเขา) หรือ
หรือว่าจักทำการรับจ้างเล่า ? "
นายปุณณะ. นาย ชื่อว่าการเล่นนักษัตร ย่อมเป็นของพวกท่าน
ผู้มีทรัพย์. ก็ในเรือนของผม แม้ข้าวสารจะต้มข้าวต้มเพื่อรับประทานใน
วันพรุ่งนี้ก็ไม่มี. ผมจะต้องการอะไรด้วยนักษัตรเล่า ? ผมได้โคเเล้ว ก็
จักไปไถนา.
สุมนเศรษฐี. ถ้าเช่นนั้น แกจงรับโคไปเถิด.
เขารับโคตัวทรงกำลังและไถแล้ว พูดกะภรรยาว่า " นางผู้เจริญ