เมนู

2. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [175]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ ทรงปรารภภิกษุรูปใด
รูปหนึ่ง1 ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย เว อุปฺปติตํ โกธํ " เป็นต้น.

ภิกษุตัดต้นไม้ที่เทวดาสิงอยู่


ความพิสดารว่า เมื่อพระศาสดาทรงอนุญาตเสนาสนะแก่ภิกษุสงฆ์
แล้ว2. (และ) เมื่อเสนาสนะทั้งหลาย อันคฤหัสถ์ทั้งหลายมีเศรษฐีชาว
กรุงราชคฤห์เป็นต้น กำลังให้สร้าง, ภิกษุชาวเมืองอาฬวีรูปหนึ่ง สร้าง
เสนาสนะของตนอยู่ เห็นต้นไม้ที่พอใจต้นหนึ่งแล้ว เรึมจะตัด ก็เทพดา
มีลูกอ่อนองค์หนึ่งเกิดที่ต้นไม้นั้น อุ้มบุตรด้วยสะเอว ยืนอ้อนวอนว่า
" พระคุณเจ้า ขอท่านอย่าได้ตัดวิมานของข้าพเจ้าเลย, ข้าพเจ้าไม่มีที่อยู่
ไม่อาจอุ้มบุตรเที่ยวเร่ร่อนไปได้."
ภิกษุนั้นคิดว่า " เราจักไม่ได้ต้นไม้เช่นนี้ ในที่อื่น " จึงไม่เอื้อเฟื้อ
คำพูดของเทวดานั้น.
เทวดานั้นคิดว่า " ภิกษุนี้ เห็นทารกนี้แล้วจักงดเป็นแท้ " จึง
วางบุตรไว้บนกิ่งไม้. ฝ่ายภิกษุนั้นไม่อาจยั้งขวานที่ตนเงื้อขึ้นแล้วได้ จึง
ตัดแขนทารกนั้นขาดแล้ว เทพดาเกิดความโกรธมีกำลัง ยกมือทั้งสอง
ขึ้นด้วยเจตนาว่า " จะฟาดภิกษุรูปนั้นให้ตาย " แต่พลันคิดได้อย่างนี้ว่า
" ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล ถ้าเราจักฆ่าภิกษุนี้เสีย ก็จักเป็นผู้ไปนรก; แม้
เทพธิดาที่เหลือ ได้พบภิกษุตัดต้นไม้ของตน จักถือเอาเป็นประมาณบ้าง
1. น่าจะปรารภเทพดา เพราะเป็นเรื่องของเทพดาได้ทำและเข้าเฝ้าเอง. 2. ก่อนอนุญาต
เสนาสนะ ผู้บวชแล้วต้องอยู่โคนไม้หรือถ้ำเขา.

ว่า ' เทพดาองค์โน้นฆ่าภิกษุเสีย ก็อย่างนี้เหมือนกัน ' แล้วจักฆ่าภิกษุ
ทั้งหลายเสีย; ก็ภิกษุนี้มีเจ้าของ เราจักต้องบอกกล่าวเธอแก่เจ้าของ
ทีเดียว." ลดมือที่ยกขึ้นแล้ว ร้องไห้ไปสู่สำนักของพระศาสดา ถวาย
บังคมแล้วยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " ทําไมหรือ ? เทวดา "
เขาทูลว่า " พระเจ้าข้า สาวกของพระองค์แหละ ทำกรรทชื่อนี้. แม้
ข้าพระองค์ก็ใคร่จะฆ่าเธอ แต่คิดข้อนี้ได้ จึงไม่ฆ่า แล้วรีบมาที่นี้เทียว "
ดังนี้แล้ว กราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดโดยพิสดาร.
พระศาสดาทรงสดับเรื่องนั้นแล้ว ตรัสว่า " ถูกแล้ว ๆ เทพดา
เธอข่มความโกรธที่เกิดขึ้นอย่างนั้นไว้อยู่ เหมือนห้ามรถกำลังหมุนไว้ได้
ชื่อว่าทำความดีแล้ว " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
2. โย เว อุปฺปติตํ โกธํ รถํ ภนฺติ ธารเย
ตมหํ สารถิ พฺรูมิ รสฺมิคฺคาโห อิตโร ชโน.
" ผู้ใดแล พึงสะกดความโกรธที่พลุ่งขึ้นเหมือน
คนห้ามรถที่กำลังแล่นไปได้, เราเรียกผู้นั้นว่า
' สารถี ' ส่วนคนนอกนี้เป็นเพียงผู้ถือเชือก. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อุปฺปติตํ ได้แก่ ที่เกิดขึ้นแล้ว.
สองบทว่า รถํ ภนฺตํว ความว่า เหมือนอย่างนายสารถีผู้ฉลาด
ห้ามรถที่แล่นอยู่โดยกำลังเร็ว หยุดไว้ได้ตามต้องการ ชื่อฉันใด; บุคคล
ใด พึงสะกด คืออาจข่มความโกรธที่เกิดขึ้นไว้ได้ ก็ฉันนั้น.
บทว่า ตมหํ ความว่า เราเรียกบุคคลนั้นว่า สารถี.