เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกธํ ความว่า พึงละความโกรธทุกๆ
อาการก็ดี มานะ 9 อย่างก็ดี.
บทว่า สํโยชนํ ความว่า พึงล่วงสังโยชน์ทั้ง 10 อย่าง มีกาม
ราคสังโยชน์เป็นต้น.
บทว่า อสชฺชมานํ ความว่า ไม่ข้องอยู่. อธิบายว่า ก็ผู้ใดยึดถือ
นามรูปโดยนัยว่า " รูปของเรา, เวทนาของเรา เป็นต้น และเมื่อ
นามรูปนั้นแตกไป. ย่อมเศร้าโศกเดือดร้อน; ผู้นี้ชื่อว่าข้องอยู่ในนามรูป;
ส่วนผู้ไม่ยึดถืออย่างนั้น ชื่อว่าย่อมไม่ขัดข้อง; ขึ้นชื่อว่าทุกข์ทั้งหลาย
ย่อมไม่ตกต้องบุคคลนั้น ผู้ไม่ข้องอยู่อย่างนั้น ผู้ชื่อว่าไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวล เพราะไม่มีราคะเป็นต้น.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น.
แม้พระนางโรหิณี ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. สรีระของพระนาง
ได้มีวรรณะดุจทองคำ ในขณะนั้นเอง. พระนางจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เกิดในระหว่างเขตแดนของเทพบุตร 4 องค์ ในภพดาวดึงส์ ได้เป็นผู้
น่าเลื่อมใส ถึงความเป็นผู้มีรูปงามเลิศ เทพบุตรทั้ง 4 องค์เห็นนางแล้ว
เป็นผู้เกิดความสิเนหา วิวาทกันว่า " นางเกิดภายในแดนของเรา, นาง
เกิดภายในแดนของเรา." ไปสู่สำนักของท้าวสักกเทวราช กราบทูลว่า
" ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์ทั้งสี่เกิดคดีขึ้น เพราะอาศัยเทพธิดานี้, ขอ
พระองค์ทรงวินิจฉัยคดีนั้น. " แม้ท้าวสักกะ แต่พอได้ทรงเห็นพระนางก็
เป็นผู้เกิดสิเนหา ตรัสอย่างนั้นว่า " จําเดิมแต่กาลที่พวกท่านเห็นเทพธิดา

นี้แล้ว จิตเกิดขึ้นอย่างไร. ? "
ลำดับนั้น เทพบุตรองค์หนึ่งกราบทูลว่า " จิตของข้าพระองค์
เกิดขึ้นดุจกลองในคราวสงครามก่อน ไม่อาจสงบลงได้เลย. "
องค์ที่ 2 จิตของข้าพระองค์ [เกิดขึ้น] เหมือนแม่น้ำตกจากภูเขา
ย่อมเป็นไปเร็วพลันทีเดียว.
องค์ที่ 3. จำเดิมแต่กาลที่ข้าพระองค์เห็นนางนี้แล้ว ตาทั้งสอง
ถลนออกแล้ว ดุจตาของปู.
องค์ที่ 4. จิตของข้าพระองค์ประดุจธงที่เขายกขึ้นบนเจดีย์ ไม่
สามารถจะดำรงนิ่งอยู่ได้.
ครั้งนั้น ท้าวสักกะตรัสกะเทพบุตรทั้งสี่นั้นว่า " พ่อทั้งหลาย จิต
ของพวกท่านยังพอข่มได้ก่อน ส่วนเราเมื่อได้เห็นเทพธิดานี้ จึงจักเป็น
อยู่ เมื่อเราไม่ได้ จักต้องตาย. "
พวกเทพบุตรจึงทูลว่า " ข้าแต่มหาราช พวกข้าพระองค์ไม่มีความ
ต้องการด้วยความตายของพระองค์ " แล้วต่างสละเทพธิดานั้นถวายท้าว
สักกะแล้วหลีกไป. เทพธิดานั้นได้เป็นที่รักที่พอพระหฤทัยของท้าวสักกะ.
เมื่อนางกราบทูลว่า " หม่อมฉันจักไปสู่สนามเล่นชื่อโน้น " ท้าวสักกะก็
ไม่สามารถจะทรงขัดคำของนางได้เลย ดังนี้แล.
เรื่องเจ้าหญิงโรหิณี จบ.

2. เรื่องภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง [175]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ที่อัคคาฬวเจดีย์ ทรงปรารภภิกษุรูปใด
รูปหนึ่ง1 ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " โย เว อุปฺปติตํ โกธํ " เป็นต้น.

ภิกษุตัดต้นไม้ที่เทวดาสิงอยู่


ความพิสดารว่า เมื่อพระศาสดาทรงอนุญาตเสนาสนะแก่ภิกษุสงฆ์
แล้ว2. (และ) เมื่อเสนาสนะทั้งหลาย อันคฤหัสถ์ทั้งหลายมีเศรษฐีชาว
กรุงราชคฤห์เป็นต้น กำลังให้สร้าง, ภิกษุชาวเมืองอาฬวีรูปหนึ่ง สร้าง
เสนาสนะของตนอยู่ เห็นต้นไม้ที่พอใจต้นหนึ่งแล้ว เรึมจะตัด ก็เทพดา
มีลูกอ่อนองค์หนึ่งเกิดที่ต้นไม้นั้น อุ้มบุตรด้วยสะเอว ยืนอ้อนวอนว่า
" พระคุณเจ้า ขอท่านอย่าได้ตัดวิมานของข้าพเจ้าเลย, ข้าพเจ้าไม่มีที่อยู่
ไม่อาจอุ้มบุตรเที่ยวเร่ร่อนไปได้."
ภิกษุนั้นคิดว่า " เราจักไม่ได้ต้นไม้เช่นนี้ ในที่อื่น " จึงไม่เอื้อเฟื้อ
คำพูดของเทวดานั้น.
เทวดานั้นคิดว่า " ภิกษุนี้ เห็นทารกนี้แล้วจักงดเป็นแท้ " จึง
วางบุตรไว้บนกิ่งไม้. ฝ่ายภิกษุนั้นไม่อาจยั้งขวานที่ตนเงื้อขึ้นแล้วได้ จึง
ตัดแขนทารกนั้นขาดแล้ว เทพดาเกิดความโกรธมีกำลัง ยกมือทั้งสอง
ขึ้นด้วยเจตนาว่า " จะฟาดภิกษุรูปนั้นให้ตาย " แต่พลันคิดได้อย่างนี้ว่า
" ภิกษุนี้เป็นผู้มีศีล ถ้าเราจักฆ่าภิกษุนี้เสีย ก็จักเป็นผู้ไปนรก; แม้
เทพธิดาที่เหลือ ได้พบภิกษุตัดต้นไม้ของตน จักถือเอาเป็นประมาณบ้าง
1. น่าจะปรารภเทพดา เพราะเป็นเรื่องของเทพดาได้ทำและเข้าเฝ้าเอง. 2. ก่อนอนุญาต
เสนาสนะ ผู้บวชแล้วต้องอยู่โคนไม้หรือถ้ำเขา.