เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกธํ ความว่า พึงละความโกรธทุกๆ
อาการก็ดี มานะ 9 อย่างก็ดี.
บทว่า สํโยชนํ ความว่า พึงล่วงสังโยชน์ทั้ง 10 อย่าง มีกาม
ราคสังโยชน์เป็นต้น.
บทว่า อสชฺชมานํ ความว่า ไม่ข้องอยู่. อธิบายว่า ก็ผู้ใดยึดถือ
นามรูปโดยนัยว่า " รูปของเรา, เวทนาของเรา เป็นต้น และเมื่อ
นามรูปนั้นแตกไป. ย่อมเศร้าโศกเดือดร้อน; ผู้นี้ชื่อว่าข้องอยู่ในนามรูป;
ส่วนผู้ไม่ยึดถืออย่างนั้น ชื่อว่าย่อมไม่ขัดข้อง; ขึ้นชื่อว่าทุกข์ทั้งหลาย
ย่อมไม่ตกต้องบุคคลนั้น ผู้ไม่ข้องอยู่อย่างนั้น ผู้ชื่อว่าไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวล เพราะไม่มีราคะเป็นต้น.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น.
แม้พระนางโรหิณี ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. สรีระของพระนาง
ได้มีวรรณะดุจทองคำ ในขณะนั้นเอง. พระนางจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เกิดในระหว่างเขตแดนของเทพบุตร 4 องค์ ในภพดาวดึงส์ ได้เป็นผู้
น่าเลื่อมใส ถึงความเป็นผู้มีรูปงามเลิศ เทพบุตรทั้ง 4 องค์เห็นนางแล้ว
เป็นผู้เกิดความสิเนหา วิวาทกันว่า " นางเกิดภายในแดนของเรา, นาง
เกิดภายในแดนของเรา." ไปสู่สำนักของท้าวสักกเทวราช กราบทูลว่า
" ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์ทั้งสี่เกิดคดีขึ้น เพราะอาศัยเทพธิดานี้, ขอ
พระองค์ทรงวินิจฉัยคดีนั้น. " แม้ท้าวสักกะ แต่พอได้ทรงเห็นพระนางก็
เป็นผู้เกิดสิเนหา ตรัสอย่างนั้นว่า " จําเดิมแต่กาลที่พวกท่านเห็นเทพธิดา