เมนู

ไปแล้ว. เมื่อโรงฉันเสร็จ พระนางนิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประมุขแล้ว ได้ถวายขาทนียะและโภชนียะที่ประณีตแด่ภิกษุสงฆ์มีพระ-
พุทธเจ้าเป็นประมุขซึ่งนั่งเต็มโรงฉัน.
พระศาสดา ทรงทำภัตกิจเสร็จแล้ว ตรัสถามว่า " นี่เป็นทาน
ของใคร ? "
พระอนุรุทธ. ของโรหิณีพระน้องนางของข้าพระองค์ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ก็นางไปไหน ?
พระอนุรุทธ. อยู่ในตำหนัก พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. พวกท่านจงไปเรียกนางมา.
พระนางไม่ประสงค์จะเสด็จมา. ทีนั้น พระศาสดารับสั่งให้เรียก
พระนางแม้ไม่ปรารถนา (จะมา) จนได้. ก็แลพระศาสดาตรัสกะพระนาง
ผู้เสด็จมาถวายบังคม ประทับนั่งแล้วว่า " โรหิณี เหตุไรเธอจึงไม่มา ? "
พระนางโรหิณี. " โรคผิวหนังมีที่สรีระของหม่อมฉัน พระเจ้าข้า
หม่อมฉันละอายด้วยโรคนั้น. จึงมิได้มา. "
พระศาสดา. ก็เธอรู้ไหมว่า ่โรคนั้นอาศัยกรรมอะไรของเธอ จึง
เกิดขึ้น ? "
พระนางโรหิณี. หม่อมฉันไม่ทราบ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. โรคนั้นอาศัยความโกรธของเธอ จึงเกิดขึ้นแล้ว.
พระนางโรหิณี. ก็หม่อมฉันทำกรรมอะไรไว้ ? พระเจ้าข้า.

บุรพกรรมของพระนางโรหิณี


ลำดับนั้น พระศาสดาทรงนำอดีตนิทานมา (ตรัสแก่พระนาง)ว่า:-

ในอดีตกาล พระอัครมเหสีของพระเจ้าพาราณสี ผูกอาฆาตใน
หญิงนักฟ้อนของพระราชาองค์หนึ่ง ทรงดำริว่า " เราจักให้ทุกข์เกิดแก่
หญิงนั้น " แล้วให้เขานำลูกเต่าร้างใหญ่มา1รับสั่งให้เรียกหญิงนักฟ้อนนั้น
มายังสำนักของตนแล้ว. ให้ใส่ผงเต่าร้างบนที่นอน ที่ผ้าห่ม และที่ระหว่าง
เครื่องใช้ มีผ้าปูที่นอนเป็นต้น ของหญิงนักฟ้อนนั้น โดยประการที่นาง
ไม่ทันรู้ตัว. โปรยลงแม้ที่ตัวของนาง ราวกะทำความเย้ยหยันเล่น ทันใด
นั้นเอง สรีระของหญิงนั้นได้พุพองขึ้นเป็นตุ่มน้อยตุ่มใหญ่. นางเกาอยู่
ไปนอนบนที่นอน. เมื่อนางถูกผงเต่าร้างกัดแม้บนที่นอนนั้น เวทนากล้า
ยิ่งนักเกิดขึ้นแล้ว. พระอัครมเหสีในกาลนั้นได้เป็นพระนางโรหิณี.
พระศาสดา ครั้นทรงนำอดีตนิทานั้นมาแล้ว ตรัสว่า " โรหิณี ก็
กรรมนั่นที่เธอทำแล้วในกาลนั้น, ก็ความโกรธก็ดี ความริษยาก็ดี แม้มี
ประมาณเล็กน้อย ย่อมไม่ควรทำเลย " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
1. โกธํ ชเห วิปฺปชเหยฺย มานํ
สญฺโญชนํ2 สพฺพมติกฺกเมยฺย
ตนฺนามรูปสฺมึ อสชฺชมานํ
อกิญฺจนํ นานุปตนฺติ ทุกฺขา.
" บุคคลพึงละความโกรธ, สละความถือตัว
ล่วงสังโยชน์ทั้งสิ้นได้ ทุกทั้งหลายย่อมไม่ตกต้อง,
บุคคลนั้น ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวล. "

1. แปลว่า หมามุ้ยใหญ่ ก็มี. 2. อรรถกถา เป็น สํโยชนํ.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า โกธํ ความว่า พึงละความโกรธทุกๆ
อาการก็ดี มานะ 9 อย่างก็ดี.
บทว่า สํโยชนํ ความว่า พึงล่วงสังโยชน์ทั้ง 10 อย่าง มีกาม
ราคสังโยชน์เป็นต้น.
บทว่า อสชฺชมานํ ความว่า ไม่ข้องอยู่. อธิบายว่า ก็ผู้ใดยึดถือ
นามรูปโดยนัยว่า " รูปของเรา, เวทนาของเรา เป็นต้น และเมื่อ
นามรูปนั้นแตกไป. ย่อมเศร้าโศกเดือดร้อน; ผู้นี้ชื่อว่าข้องอยู่ในนามรูป;
ส่วนผู้ไม่ยึดถืออย่างนั้น ชื่อว่าย่อมไม่ขัดข้อง; ขึ้นชื่อว่าทุกข์ทั้งหลาย
ย่อมไม่ตกต้องบุคคลนั้น ผู้ไม่ข้องอยู่อย่างนั้น ผู้ชื่อว่าไม่มีกิเลสเครื่อง
กังวล เพราะไม่มีราคะเป็นต้น.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น.
แม้พระนางโรหิณี ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. สรีระของพระนาง
ได้มีวรรณะดุจทองคำ ในขณะนั้นเอง. พระนางจุติจากอัตภาพนั้นแล้ว
เกิดในระหว่างเขตแดนของเทพบุตร 4 องค์ ในภพดาวดึงส์ ได้เป็นผู้
น่าเลื่อมใส ถึงความเป็นผู้มีรูปงามเลิศ เทพบุตรทั้ง 4 องค์เห็นนางแล้ว
เป็นผู้เกิดความสิเนหา วิวาทกันว่า " นางเกิดภายในแดนของเรา, นาง
เกิดภายในแดนของเรา." ไปสู่สำนักของท้าวสักกเทวราช กราบทูลว่า
" ข้าแต่เทพเจ้า ข้าพระองค์ทั้งสี่เกิดคดีขึ้น เพราะอาศัยเทพธิดานี้, ขอ
พระองค์ทรงวินิจฉัยคดีนั้น. " แม้ท้าวสักกะ แต่พอได้ทรงเห็นพระนางก็
เป็นผู้เกิดสิเนหา ตรัสอย่างนั้นว่า " จําเดิมแต่กาลที่พวกท่านเห็นเทพธิดา