เมนู

ตเถว กตปุญฺญมฺปิ อสฺมา โลกา ปรํ คตํ
ปุญฺญานิ ปฏิคณฺหนฺติ ปิยํ ญาตีว อาคตํ.
" ญาติ มิตร และคนมีใจดีทั้งหลาย เห็นบุรุษผู้
ไปอยู่ต่างถิ่นมานาน มาแล้วแต่ที่ไกลโดยสวัสดี
ย่อมยินดียิ่งว่า 'มาแล้ว ' ฉันใด. บุญทั้งหลายก็ย่อม
ต้อนรับแม้บุคคลผู้กระทำบุญไว้ ซึ่งไปจากโลกนี้สู่
โลกหน้า ดุจพวกญาติเห็นญาติที่รักมาแล้ว ต้อนรับ
อยู่ ฉันนั้นแล.

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า จิรปฺปวาสึ คือจากไปแล้วนาน.
บาทพระคาถาว่า ทูรโต โสตฺถิมาคตํ ความว่า ผู้ได้ลาภคือมี
สมบัติอันสำเร็จแล้วเพราะทำพาณิชยกรรม หรือเพราะทำหน้าที่ราชบุรุษ
มาแล้วแต่ที่ไกล ไม่มีอุปัทวะ.
บาทพระคาถาว่า ญาตี มิตฺตา สุหชฺชา จ ความว่า เหล่าชน
ที่ชื่อว่าญาติ เพราะสามารถเกี่ยวเนื่องกันด้วยตระกูล และชื่อว่ามิตร
เพราะภาวะมีเคยเห็นกันเป็นต้น แล้วชื่อว่ามีใจดี เพราะความเป็นผู้
มีหทัยดี.
บาทพระคาถาว่า อภินนฺทนฺติ อาคตํ ความว่า ญาติเป็นต้น เห็น
เขาแล้ว ย่อมยินดียิ่ง ด้วยอาการเพียงแต่พูดว่า 'มาดีเเล้ว ' หรือด้วย
อาการเพียงทำอัญชลี, อนึ่ง ย่อมยินดียิ่งกะเขาผู้มาถึงเรือนแล้ว ด้วย
สามารถนำไปเฉพาะซึ่งบรรณาการมีประการต่าง ๆ.

บทว่า ตเถว เป็นต้น ความว่า บุญทั้งหลาย ตั้งอยู่ในฐานะ
ดุจมารดาบิดา นำเครื่องบรรณาการ 10 อย่างนี้คือ " อายุ วรรณะ สุข
ยศ ความเป็นอธิบดีอันเป็นทิพย์; รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อัน
เป็นทิพย์ เพลินยิ่งอยู่ ชื่อว่าย่อมรับรองบุคคลแม้ผู้ทำบุญไว้เเล้ว ซึ่ง
ไปจากโลกนี้สู่โลกหน้า ด้วยเหตุนั้นนั่นแล.
สองบทว่า ปิยํ ญาตีว ความว่า ดุจพวกญาติที่เหลือ เห็นญาติ
ที่รักมาแล้ว รับรองอยู่ในโลกนี้ฉะนั้น.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องนายนันทิยะ จบ.
ปิยวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 16 จบ.

คาถาธรรมบท


โกธวรรค1ที่ 17


ว่าด้วยเรื่องความโกรธ


[27] 1. บุคคลพึงละความโกรธ สละความถือตัว ล่วง
สังโยชน์ทั้งสินได้ ทุกข์ทั้งหลายย่อมไม่ตกต้องบุคคล
นั้น ผู้ไม่ข้องในนามรูป ไม่มีกิเลสเครื่องกังวล.

2. ผู้ใดแล พึงสกัดความโกรธที่พลุ่งขึ้น
เหมือนคนห้ามรถที่กำลังแล่นไปได้ เราเรียกผู้นั้นว่า
สารถี ส่วนคนนอกนี้เป็นเพียงผู้ถือเชือก.

3. พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ พึงชนะ
คนไม่ดี ด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ ด้วยการให้
พึงชนะคนพูดเหลวไหล ด้วยคําจริง.

4. บุคคลควรกล่าวคำสัตย์ ไม่ควรโกรธ ถึงถูก
เขาขอน้อย ก็พึงให้ บุคคลพึงไปในสำนักของเทวดา
ทั้งหลายได้ ด้วยฐานะ 3 นั่น.

5. มุนีเหล่าใด เป็นผู้ไม่เบียดเบียน สำรวม
แล้วด้วยกายเป็นนิตย์ มุนีเหล่านั้นย่อมไปสู่ฐานะ
อันไม่จุติ ซึ่งเป็นที่คนทั้งหลายไปแล้วไม่เศร้าโศก.

6. อาสวะทั้งหลายของผู้ตื่นอยู่ทุกเมื่อ มีปกติ
ตามศึกษาทั้งกลางวันกลางคืน น้อมไปแล้วสู่พระ-
นิพพาน ย่อมถึงควานตั้งอยู่ไม่ได้.

1. วรรคนี้มีอรรถกถา 8 เรื่อง.