เมนู

ท่านไม่บอกอะไร ๆ เลย ทำกาละแล้ว, เหตุนั้น พวกข้าพระองค์จึงถึง
ความทุกข์.

ลักษณะของผู้ชื่อว่ามีกระแสในเบื้องบน


พระศาสดาตรัสว่า " อย่าคิดเลย ภิกษุทั้งหลาย, อุปัชฌายะของ
พวกเธอ บรรลุอนาคามิผลแล้ว, เธอละอายอยู่ว่า ' แม้พวกคฤหัสถ์ก็
บรรลุอนาคามิผลนั่น.' เราต่อบรรลุอรหัตแล้ว จึงจักบอกแก่พวก
สัทธิวิหาริกนั้น ไม่บอกอะไร ๆ แก่พวกเธอเลย ทำกาละแล้วเกิดใน
ชั้นสุทธาวาส; วางใจเสียเถิด ภิกษุทั้งหลาย อุปัชฌายะของพวกเธอ
ถึงความเป็นผู้มีจิต ไม่เกี่ยวเกาะในกามทั้งหลาย มีกระแสในเบื้องบน " ดัง
นี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
8. ฉนฺทชาโต อนฺกขาเต มนฺสา จ ผุโฐ สิยา
กาเม จ อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต อุทฺธํโสโตติ วุจฺจติ.
" ภิกษุ ผู้มีฉันทะเกิดแล้ว ในพระนิพพานอัน
ใคร ๆ บอกไม่ได้ พึงเป็นผู้อันใจถูกต้องแล้วก็ดี ผู้
มีจิตไม่เกี่ยวเกาะในกามทั้งหลายก็ดี ท่านเรียกว่า
ผู้มีกระแสในเบื้องบน."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉนฺทชาโต ความว่า มีฉันทะเกิด
แล้ว ด้วยอำนาจความพอใจ ในความเป็นผู้ใคร่เพื่อจะทำ คือถึงความ
อุตสาหะแล้ว.
บทว่า อนฺกขาเต คือ ในพระนิพพาน. แท้จริง พระนิพพาน
นั้น ชื่อว่า อนักขาตะ เพราะความเป็นธรรมชาติอันใคร ๆ บอกไม่ได้ว่า

" อันปัจจัยโน้นทำ หรือบรรดาสีต่าง ๆ มีสีเขียวเป็นต้น เห็นปานนี้."
บาทพระคาถาว่า มนฺสา จ ผุโฏ1 สิยา ความว่า พึงเป็นผู้อัน
จิตที่สัมปยุตด้วยมรรคผล 3 เบื้องต่ำถูกต้องแล้ว คือให้เต็มแล้ว.
บทว่า อปฺปฏิพทฺธจิตฺโต ความว่า มีจิตไม่เกี่ยวเกาะในกาม
ทั้งหลาย ด้วยอำนาจแห่งพระอนาคามิมรรคก็ดี.
บทว่า อุทฺธํโสโต ความว่า ภิกษุเห็นปานนี้ เกิดแล้วในภพ
อวิหา ถัดนั้นไป ก็ไปสู่อกนิษฐภพ ด้วยอำนาจปฏิสนธิ ท่านเรียกว่า
' ผู้มีกระแสในเบื้องบน ' พระอุปัชฌาย์ของพวกเธอ ก็เป็นผู้เช่นนั้น.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้นตั้งอยู่แล้วในอรหัตผล. เทศนาได้
มีประโยชน์แม้เเก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องพระอนาคามิเถระ จบ.
1. บาลีเป็น ผโฐ.

9. เรื่องนายนันทิยะ [173]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในป่าอิสิปตนะ ทรงปรารภนายนันทิยะ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " จิรปฺปวาสึ " เป็นต้น.

นันทิยะเป็นอนุชาตบุตร


ได้ยินว่า ในกรุงพาราณสี ได้มีบุตรแห่งตระกูลซึ่งถึงพร้อมด้วย
ศรัทธาคนหนึ่งชื่อนันทิยะ, เขาได้เป็นผู้สมบูรณ์ด้วยศรัทธาบำรุงสงฆ์แท้
อนุรูปแก่มารดาบิดาเทียว. ครั้นในเวลาที่เขาเจริญวัยมารดาบิดาได้มี
ความจำนงจะนำธิดาของลุงชื่อว่าเรวดี มาจากเรือนอันตรงกันข้าม. แต่
นางเป็นคนไม่มีศรัทธา ไม่มีการให้ปั่นเป็นปกติ, นายนันทิยะจึงไม่
ปรารถนานาง.
ลำดับนั้น มารดาของเขากล่าวกะนางเรวดีว่า " แม่ เจ้าจงฉาบทา
สถานที่นั่นของภิกษุสงฆ์ แล้วปูลาดอาสนะไว้ในเรือนนี้, จงตั้งเชิง
บาตรไว้. ในเวลาภิกษุทั้งหลายมาแล้ว จงรับบาตร นิมนต์ให้นั่ง เอา
ธมกรกกรองน้ำฉันถวาย แล้วล้างบาตรในเวลาฉันเสร็จ; เมื่อเจ้าทำได้
อย่างนี้ ก็จักเป็นที่พึ่งใจแก่บุตรของเรา." นางได้ทำอย่างนั้นแล้ว. ต่อมา
มารดาบิดาเล่าถึงความประพฤติของนางนั้นแก่บุตร ว่า " นางเป็นผู้อดทน
ต่อโอวาท " เมื่อเขารับว่า " ดีละ " จึงกำหนดวันแล้ว ทำอาวาหมงคล.
ลำดับนั้น นายนันทิยะกล่าวกะนางว่า " ถ้าเธอจักบำรุงภิกษุสงฆ์
และมารดาของฉัน, เป็นเช่นนี้ เธอก็จักได้พัสดุในเรือนนี้, จงเป็นผู้ไม่
ประมาทเถิด. " นางรับว่า " ดีละ " แล้วทำทีเป็นผู้มีศรัทธาบำรุงอยู่ 2 - 3