เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า นาสฺส แปลว่า ไม่พึงมี.
บทว่า หเรยฺย แปลว่า พึงอาจนำไปได้.
ถามว่า " เพราะเหตุไร ? "
แก้ว่า " เพราะยาพิษไม่ซึมไปสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล " จริงอยู่ ยาพิษ
ย่อมไม่อาจซึมซาบเข้าสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผล ฉันใด; ชื่อว่าบาปย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่
ทำบาป แม้นำเครื่องประหารทั้งหลายมีธนูเป็นต้นออกให้ เพราะไม่มี
อกุศลเจตนา ฉันนั้นเหมือนกัน, แท้จริง บาปย่อมไม่ติดตามจิตของบุคคล
นั้น เหมือนยาพิษไม่ซึมเข้าไปสู่ฝ่ามือที่ไม่มีแผลฉะนั้น ดังนี้แล.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมาก บรรลุอริยผลทั้งหลายมีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้นแล้ว.

บุรพกรรมของกุกกุฏมิตรพร้อมด้วยบุตรและสะใภ้


โดยสมัยอื่น พวกภิกษุสนทนากันว่า " อะไรหนอเเล เป็นอุปนิสัย
แห่งโสดาปัตติมรรค ของนายพรานกุกกุฏมิตร ทั้งบุตร และสะใภ้ ?
นายพรานกุกกุฏมิตรนี้ เกิดในตระกูลของพรานเนื้อเพราะเหตุอะไร ? "
พระศาสดาเสด็จมาแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวก
เธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไรหนอ ? " เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า
" ด้วยเรื่องชื่อนี้. " ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล หมู่ชนจัดสร้าง
เจดีย์บรรจุพระธาตุของพระกัสสปทสพล กล่าวกันอย่างนี้ว่า " อะไรหนอ
จักเป็นดินเหนียว ? อะไรหนอ จักเป็นน้ำเชื้อ แห่งเจดีย์นี้ ? ่ ่

การสร้างเจดีย์ในสมัยก่อน


ทีนั้น พวกเขาได้มีปริวิตกนี้ว่า " หรดาลและมโนสิลาจักเป็นดิน-
เหนียว. น้ำมันงาจักเป็นน้ำเชื้อ. " พวกเขาตำหรดาลและมโนสิลาแล้ว
ผสมกับน้ำมันงา ก่อด้วยอิฐ ปิดด้วยทองคำ แล้วเขียนลวดลายข้างใน.
แต่ที่มุขภายนอกมีอิฐเป็นทองทั้งแท่งเทียว. อิฐแผ่นหนึ่ง ๆ ได้มีค่าแสน
หนึ่ง. พวกเขาเมื่อเจดีย์สำเร็จแล้ว จนถึงกาลจะบรรจุพระธาตุ คิดกัน
ว่า " ในกาลบรรจุพระธาตุ ต้องการทรัพย์มาก. พวกเราจักทำใครหนอ
แล ให้เป็นหัวหน้า ? "

แย่งกันเป็นหัวหน้าในการบรรจุพระธาตุ


ขณะนั้น เศรษฐีบ้านนอกคนหนึ่ง กล่าวว่า " ข้าพเจ้า จักเป็น
หัวหน้า " ได้ใส่เงิน 1 โกฏิ ในที่บรรจุพระธาตุ. ชาวแว่นแคว้นเห็นกิริยา
นั้น ติเตียนว่า " เศรษฐีในกรุงนี้ ย่อมรวบรวมทรัพย์ไว้ถ่ายเดียว, ไม่
อาจเป็นหัวหน้าในเจดีย์เห็นปานนี้ได้. ส่วนเศรษฐีบ้านนอก ใส่ทรัพย์
1 โกฏิ เป็นหัวหน้าทีเดียว."
เศรษฐีในกรุงนั้น ได้ยินถ้อยคำของชนเหล่านั้นแล้ว กล่าวว่า
" เราจักให้ทรัพย์ 2 โกฏิแล้วเป็นหัวหน้า " ได้ให้ทรัพย์ 2 โกฏิแล้ว.
เศรษฐีบ้านนอกคิดว่า " เราเองจักเป็นหัวหน้า " ได้ให้ทรัพย์ 3
โกฎิ. ครั้นเศรษฐีทั้ง 2 เพิ่มทรัพย์กันด้วยอาการอย่างนั้น. เศรษฐีในกรุง
ได้ให้ทรัพย์ 8 โกฏิแล้ว.
ส่วนเศรษฐีบ้านนอก มีทรัพย์ 9 โกฏิเท่านั้นในเรือน. เศรษฐีใน
กรุงมีทรัพย์ 40 โกฏิ. เพราะฉะนั้น เศรษฐีบ้านนอก จึงคิดว่า " ถ้า
เราให้ทรัพย์ 9 โกฏิไซร้. เศรษฐีนี้จักกล่าวว่า " เราจักให้10 โกฏิ."