เมนู

2. เรื่องกุฎุมพีคนใดคนหนึ่ง [166]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภกุฎุมพีคนใด
คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้วา " ปิยโต ชายตี1 " เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จไประงับความโศกของพราหมณ์


ความพิสดารว่า กุฏุมพีนั้น ครั้นบุตรของตนทำกาละแล้ว. อัน
ความโศกถึงบุตรครอบงำ ไปสู่ป่าช้า ร้องไห้อยู่, ไม่อาจที่จะหักห้าม
ความโศกถึงบุตรได้.
พระศาสดาทรงพิจารณาดูสัตว์โลก ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัย
โสดาปัตติมรรคของกุฎุมพีนั้น กลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้ทรงพาภิกษุผู้
เป็นปัจฉาสมณะรูปหนึ่ง เสด็จไปประตูเรือนของกุฎุมพีนั้น กุฎุมพีนั้น
ได้ฟังความที่พระศาสดาเสด็จมา คิดว่า " พระศาสดาจักทรงประสงค์เพื่อ
ทำปฏิสันถารกับด้วยเรา " จึงอัญเชิญพระศาสดาให้เสด็จไปสู่เรือน ปู
อาสนะไว้ในท่ามกลางเรือน เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว, ก็มาถวาย
บังคมเเล้วนั่ง ส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามกุฎุมพีนั้นว่า " อุบาสก ท่านต้อง
ทุกข์เพราะเหตุอะไรหนอแล ? " เมื่อกุฎุมพีนั้น กราบทูลทุกข์เพราะพลัด
พรากจากบุตรแล้ว. ตรัสว่า " อย่าคิดเลย อุบาสก. ชื่อว่าความตายนี้
มิใช่มีอยู่ในที่เดียว. และมิใช่มีจำเพาะแก่บุคคลผู้เดียว, ก็ชื่อว่าความเป็น
ไปแห่งภพ ยังมีอยู่เพียงใด. ความตายก็ย่อมมีแก่สรรพสัตว์เพียงนั้น
เหมือนกัน; แม้สังขารอันหนึ่ง ที่ชื่อว่าเที่ยงย่อมไม่มี; เพราะเหตุนั้น
1. โบราณว่า ชายเต.

ท่านพึงพิจารณาโดยอุบายอันแยบคายว่า ' ธรรมชาติมีความตายเป็นธรรมดา
ตายเสียแล้ว, ธรรมชาติมีความแตกเป็นธรรมดา แตกเสียแล้ว,' ไม่พึง
เศร้าโศก; เพราะว่าโบราณกบัณฑิตทั้งหลาย ในกาลที่ลูกรักตายแล้ว
พิจารณาว่า ' ธรรมชาติมีความตายเป็นธรรมดา ตายเสียแล้ว. ธรรมชาติ
มีความแตกเป็นธรรมดา แตกเสียแล้ว ่ ดังนี้แล้ว ไม่ทำความเศร้าโศก
เจริญมรณัสสติอย่างเดียว " อันกุฎุมพีทูลอ้อนวอนว่า " ข้าแต่พระองค์
ผู้เจริญ บัณฑิตพวกไหน ได้ทำแล้วอย่างนั้น; และได้ทำในกาลไร ? ขอ
พระองค์จงตรัสบอกแก่ข้าพระองค์ " เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนั้น
จึงทรงนำอดีตนิทานมา ยังอุรคชาดก1ในปัญจกนิบาตนี้ให้พิสดารว่า :-
" บุตรของเรา เมื่อสรีระใช้ไม่ได้ ละสรีระของ
ตนไป ดุจงูลอกคราบเก่าฉะนั้น, เมื่อบุตรของเราตาย
จากไปแล้ว, เขาถูกเผาอยู่ ย่อมไม่รู้ปริเทวนาการ
ของพวกญาติ เพราะฉะนั้น เราจึงไม่เศร้าโศกถึงบุตร
นั่น; เขามีคติเช่นใด ก็ไปสู่คติเช่นนั้น (เอง) "

ดังนี้แล้ว จึงตรัส (ต่อไปอีก) ว่า " บัณฑิตในกาลก่อนเมื่อลูกรักทำกาละ
แล้วอย่างนั้น. ไม่ประพฤติอย่างท่าน ผู้ทอดทิ้งการงานแล้วอดอาหาร
เที่ยวร้องไห้อยู่เดี๋ยวนี้ ไม่ทำความโศก ด้วยอำนาจมรณัสสติภาวนา
รับประทานอาหาร และอธิษฐาน (ตั้งใจทำ) การงาน, เพราะฉะนั้น
ท่านอย่าคิดว่า ' ลูกรักของเรากระทำกาละแล้ว, ' แท้จริง ความโศกก็ดี
ภัยก็ดี เมื่อจะเกิดย่อมอาศัยของที่รักนั่นเองเกิด " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระ-
คาถานี้ว่า :-
1. ขุ. ชา. อรรถกถา. 4/430.

2. ปิยโต ชายตี โสโก ปิยโต ชายตี ภยํ
ปิยโต วิปฺปมุตฺตสฺส นตฺถิ โสโก กุโต ภยํ.
" ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก, ภัย ย่อมเกิด
แต่ของที่รัก; ความโศก ย่อมไม่มีแก่ผู้ปลดเปลื้อง
ได้จากของที่รัก, ภัยจักมีแต่ไหน. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปิยโต เป็นต้น ความว่า ก็ความโศก
ก็ดี ภัยก็ดี อันมีวัฏฏะเป็นมูล เมื่อจะเกิดขึ้น ย่อมอาศัยสัตว์หรือสังขาร
อันเป็นที่รักเท่านั้นเกิด, แต่ความโศกและภัยแม้ทั้งสองนั่นย่อมไม่มีแก่ผู้
ปลดเปลื้องจากสัตว์หรือสังขารอันเป็นที่รักนั้นได้เเล้ว.
ในกาลจบเทศนา กุฎุมพีตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. เทศนาได้มี
ประโยชน์แก่ชนผู้ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องกุฎุมพีคนใดคนหนึ่ง จบ.