เมนู

(และ)อันไม่เป็นที่รักในกาลไหน ๆ, (เพราะว่า) การ
ไม่เห็นสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก และการเห็นสัตว์
และสังขารอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์; เพราะเหตุนั้น
บุคคลไม่พึงกระทำสัตว์หรือสังขาร ให้เป็นที่รัก.
เพราะความพรากจากสัตว์ และสังขารอันเป็นที่รักเป็น
การต่ำทราม. กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ของ
เหล่าบุคคลผู้ไม่มีอารมณ์อันเป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก
ย่อมไม่มี."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยเค ความว่า ในสิ่งอันไม่ควรประกอบ
คือการทำในใจโดยไม่แยบคาย. อธิบายว่า ก็การเสพอโคจร 6 อย่าง
ต่างโดยอโคจรมีอโคจรคือหญิงแพศยาเป็นต้น ชื่อว่าการทำในใจโดยไม่
แยบคายในที่นี้. บุคคลประกอบตนในการทำในใจโดยไม่แยบคายนั้น.
บทว่า โยคสฺมึ ความว่า และไม่ประกอบ (ตน)ในโยนิโสมนสิการ
อันผิดแผกจากอโยนิโสมนสิการนั้น.
สองบทว่า อตฺถํ หิตฺวา ความว่า หมวด 3 แห่งสิกขามีอธิสีลสิกขา
เป็นต้น จำเดิมแต่กาล [แห่งตน] บวชแล้ว ชื่อว่าประโยชน์. ละเสียแล้ว
ซึ่งประโยชน์นั้น.
บทว่า ปิยคฺคาหี ความว่า ถือเอาอยู่ซึ่งอารมณ์อันเป็นที่รักกล่าว
คือกามคุณ 5 เท่านั้น.
บทว่า ปิเหตตฺตานุโยคินํ ความว่า บุคคลเคลื่อนแล้วจากศาสนา
เพราะความปฏิบัตินั้น ถึงความเป็นคฤหัสถ์แล้ว ภายหลังย่อมทะเยอทะยาน

ต่อบุคคลทั้งหลาย ผู้ตามประกอบตน ยังคุณทั้งหลายมีศีลเป็นต้นให้ถึง
พร้อมแล้ว. สักการะจากสำนักเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย คือย่อมปรารถนา
ว่า " โอหนอ แม้เราก็พึงเป็นผู้เช่นนี้. "
บทว่า มา ปิเยหิ ความว่า บุคคลไม่พึงสมาคมด้วยสัตว์หรือสังขาร
ทั้งหลายอันเป็นที่รัก ในกาลไหนๆ คือแม้ชั่วขณะหนึ่ง, สัตว์หรือสังขาร
ทั้งหลายอันไม่เป็นที่รัก ก็เหมือนกัน. ถามว่า เพราะเหตุไร ? แก้ว่า
เพราะว่าการไม่เห็นสัตว์และสังขารทั้งหลายอันเป็นที่รัก ด้วยอำนาจความ
พลัดพราก และการเห็นสัตว์และสังขารทั้งหลายอันไม่เป็นที่รัก ด้วยอำนาจ
เข้าไปใกล้ เป็นทุกข์.
บทว่า ตสฺมา ความว่า และการเห็นและไม่เห็นทั้งสองนี้เป็นทุกข์.
เหตุนั้น บุคคลไม่พึงทำสัตว์หรือสังขารไร ๆ ให้เป็นที่รักเลย.
ความไปปราศ คือความพลัดพรากจากสัตว์และสังขารทั้งหลาย อัน
เป็นที่รัก ชื่อว่า ปิยาปาโย. บทว่า ปาปโก ได้แก่ ลามก.
บาทพระคาถาว่า คนฺถา เตสํ น วิชฺชนฺติ ความว่า ชนเหล่าใด
มีอารมณ์เป็นที่รัก. ชนเหล่านั้น ย่อมละกิเลสเครื่องร้อยรัดทางกายคือ
อภิชฌาเสียได้. ชนเหล่าใด ไม่มีอารมณ์อันไม่เป็นที่รัก. ชนเหล่านั้น
ย่อมละกายคันถะคือพยาบาทเสียได้ ก็เมื่อละกิเลส 2 อย่างนั้นได้แล้ว แม้
กิเลสเครื่องร้อยรัดที่เหลือ ก็เป็นอันชื่อว่าละได้เเล้ว (เหมือนกัน); เหตุนั้น
บุคคลไม่พึงทำอารมณ์ให้เป็นที่รักหรือไม่ให้เป็นที่รัก.

ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น. ฝ่ายชนทั้งสามนั้นคิดว่า " พวกเราไม่อาจอยู่พรากกัน
ได้ " ดังนี้แล้วได้สึกไปสู่เรือนตามเดิม ดังนี้แล.
เรื่องบรรพชิต 3 รูป จบ.

2. เรื่องกุฎุมพีคนใดคนหนึ่ง [166]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภกุฎุมพีคนใด
คนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้วา " ปิยโต ชายตี1 " เป็นต้น.

พระศาสดาเสด็จไประงับความโศกของพราหมณ์


ความพิสดารว่า กุฏุมพีนั้น ครั้นบุตรของตนทำกาละแล้ว. อัน
ความโศกถึงบุตรครอบงำ ไปสู่ป่าช้า ร้องไห้อยู่, ไม่อาจที่จะหักห้าม
ความโศกถึงบุตรได้.
พระศาสดาทรงพิจารณาดูสัตว์โลก ในเวลาใกล้รุ่ง ทรงเห็นอุปนิสัย
โสดาปัตติมรรคของกุฎุมพีนั้น กลับจากบิณฑบาตแล้ว ได้ทรงพาภิกษุผู้
เป็นปัจฉาสมณะรูปหนึ่ง เสด็จไปประตูเรือนของกุฎุมพีนั้น กุฎุมพีนั้น
ได้ฟังความที่พระศาสดาเสด็จมา คิดว่า " พระศาสดาจักทรงประสงค์เพื่อ
ทำปฏิสันถารกับด้วยเรา " จึงอัญเชิญพระศาสดาให้เสด็จไปสู่เรือน ปู
อาสนะไว้ในท่ามกลางเรือน เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว, ก็มาถวาย
บังคมเเล้วนั่ง ส่วนข้างหนึ่ง.
ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสถามกุฎุมพีนั้นว่า " อุบาสก ท่านต้อง
ทุกข์เพราะเหตุอะไรหนอแล ? " เมื่อกุฎุมพีนั้น กราบทูลทุกข์เพราะพลัด
พรากจากบุตรแล้ว. ตรัสว่า " อย่าคิดเลย อุบาสก. ชื่อว่าความตายนี้
มิใช่มีอยู่ในที่เดียว. และมิใช่มีจำเพาะแก่บุคคลผู้เดียว, ก็ชื่อว่าความเป็น
ไปแห่งภพ ยังมีอยู่เพียงใด. ความตายก็ย่อมมีแก่สรรพสัตว์เพียงนั้น
เหมือนกัน; แม้สังขารอันหนึ่ง ที่ชื่อว่าเที่ยงย่อมไม่มี; เพราะเหตุนั้น
1. โบราณว่า ชายเต.