เมนู

พระศาสดาตรัสเรียกมาเตือน


พระศาสดา รับสั่งให้เรียกชนทั้งสามนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า
" ได้ยินว่า พวกเธอทำอย่างนั้นจริงหรือ ? " เมื่อชนเหล่านั้นทูลว่า " จริง
พระเจ้าข้า, " ตรัสถามว่า " ทำไม พวกเธอจึงทำอย่างนั้น ? เพราะว่า
นั่นไม่ใช่ความเพียรของพวกบรรพชิต. "
ชนทั้งสามกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ไม่อาจจะอยู่
แยกกัน." พระศาสดาตรัสว่า " ชื่อว่าการทำอย่างนั้น จำเดิมแต่กาลแห่งตน
บวชแล้ว ไม่ควร, เพราะว่า การไม่เห็นสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก และ
การเห็นสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์โดยแท้; เหตุนั้น การ
ทำบรรดาสัตว์และสังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นที่รัก หรือไม่
ให้เป็นที่รัก ย่อมไม่สมควร " ดังนี้แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
1. อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ โยคสฺมิญฺจ อโยชยํ
อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี ปิเหตตฺตานุโยคินํ.
มา ปิเยหิ สมาคญฺฉิ อปฺปิเยหิ กุทาจนํ
ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ
ตสฺมา ปิยํ น กยิราถ ปิยาปาโย หิ ปาปโก
คนฺถา เตสํ น วิชฺชนฺติ เยสํ นตฺถิ ปิยาปฺปิยํ.
" บุคคล ประกอบตนไว้ในสิ่งอันไม่ควรประกอบ
และไม่ประกอบไว้ในสิ่งอันควรประกอบ ละเสียแล้ว
ซึ่งประโยชน์ ถือเอาอารมณ์อันเป็นที่รัก ย่อมทะเยอ
ทะยาน ต่อบุคคลผู้ตามประกอบตน, บุคคลอย่า
สมาคมกับสัตว์และสังขารทั้งหลาย อันเป็นที่รัก

(และ)อันไม่เป็นที่รักในกาลไหน ๆ, (เพราะว่า) การ
ไม่เห็นสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก และการเห็นสัตว์
และสังขารอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์; เพราะเหตุนั้น
บุคคลไม่พึงกระทำสัตว์หรือสังขาร ให้เป็นที่รัก.
เพราะความพรากจากสัตว์ และสังขารอันเป็นที่รักเป็น
การต่ำทราม. กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ของ
เหล่าบุคคลผู้ไม่มีอารมณ์อันเป็นที่รัก และไม่เป็นที่รัก
ย่อมไม่มี."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อโยเค ความว่า ในสิ่งอันไม่ควรประกอบ
คือการทำในใจโดยไม่แยบคาย. อธิบายว่า ก็การเสพอโคจร 6 อย่าง
ต่างโดยอโคจรมีอโคจรคือหญิงแพศยาเป็นต้น ชื่อว่าการทำในใจโดยไม่
แยบคายในที่นี้. บุคคลประกอบตนในการทำในใจโดยไม่แยบคายนั้น.
บทว่า โยคสฺมึ ความว่า และไม่ประกอบ (ตน)ในโยนิโสมนสิการ
อันผิดแผกจากอโยนิโสมนสิการนั้น.
สองบทว่า อตฺถํ หิตฺวา ความว่า หมวด 3 แห่งสิกขามีอธิสีลสิกขา
เป็นต้น จำเดิมแต่กาล [แห่งตน] บวชแล้ว ชื่อว่าประโยชน์. ละเสียแล้ว
ซึ่งประโยชน์นั้น.
บทว่า ปิยคฺคาหี ความว่า ถือเอาอยู่ซึ่งอารมณ์อันเป็นที่รักกล่าว
คือกามคุณ 5 เท่านั้น.
บทว่า ปิเหตตฺตานุโยคินํ ความว่า บุคคลเคลื่อนแล้วจากศาสนา
เพราะความปฏิบัตินั้น ถึงความเป็นคฤหัสถ์แล้ว ภายหลังย่อมทะเยอทะยาน