เมนู

" ท่านผู้เจริญ ขอท่านบวชให้ผมเถิด " แล้วบรรพชาในสำนักของภิกษุ
เหล่านั้น.

บิดาออกบวชตามบุตร


ลำดับนั้น บิดาของเขา (กลับ) มาแล้ว ถามมารดาว่า " ลูกของ
เราไปไหน ? " มารดาตอบว่า " นาย เมื่อกี้นี้อยู่ที่นี่ " บิดานั้นก็ค้นดู
เพื่อรู้ว่า " บุตรของเราอยู่ที่ไหนหนอแล ? " ไม่เห็นเขาแล้ว " คิดว่า
ลูกของเราจักไปวิหาร " จึงไปสู่วิหารแล้ว เห็นบุตรบวชแล้ว คร่ำครวญ
ร้องไห้แล้ว กล่าวว่า " พ่อ ทำไมเจ้าจึงทำให้เราพินาศ ? " ดังนี้แล้ว
คิดว่า " ก็เมื่อบุตรของเราบวชแล้ว บัดนี้ เราจักทำอะไรในเรือน "
ดังนี้ ตนเองก็บวชแล้วในสำนักของภิกษุทั้งหลาย.

มารดาออกบวชตามบุตรและสามี


ลำดับนั้น มารดาของเขาคิดว่า " ทำไมหนอ ลูกและผัวของเรา
จึงชักช้าอยู่, จักไปวิหารบวชเสียแล้วกระมัง ? " มองหาชนทั้งสองนั้น
พลางไปวิหารเห็นชนแม้ทั้งสองบวชแล้ว คิดว่า " ประโยชน์อะไร ด้วย
เรือนของเรา ในกาลแห่งชนทั้งสองนี้บวชแล้ว ? " แม้ตนเอง ก็ไปสู่
สำนักภิกษุณี บวชแล้ว.

ชนทั้งสามแม้บวชก็ยังคลุกคลีกัน


ชนทั้งสามนั้นแม้บวชแล้ว ก็ไม่อาจแยกกันอยู่ได้. นั่งสนทนา
รวมกันเทียว ปล่อยวันให้ล่วงไปทั้งในวิหาร ทั้งในสำนักภิกษุณี. เหตุนั้น
ทั้งพวกภิกษุ ทั้งพวกภิกษุณี จึงเป็นอันถูกเบียดเบียนแล้ว. ต่อมาวันหนึ่ง
ภิกษุทั้งหลายกราบทูลการกระทำของชนทั้งสามนั้น แด่พระศาสดา.

พระศาสดาตรัสเรียกมาเตือน


พระศาสดา รับสั่งให้เรียกชนทั้งสามนั้นมาแล้ว ตรัสถามว่า
" ได้ยินว่า พวกเธอทำอย่างนั้นจริงหรือ ? " เมื่อชนเหล่านั้นทูลว่า " จริง
พระเจ้าข้า, " ตรัสถามว่า " ทำไม พวกเธอจึงทำอย่างนั้น ? เพราะว่า
นั่นไม่ใช่ความเพียรของพวกบรรพชิต. "
ชนทั้งสามกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า พวกข้าพระองค์ไม่อาจจะอยู่
แยกกัน." พระศาสดาตรัสว่า " ชื่อว่าการทำอย่างนั้น จำเดิมแต่กาลแห่งตน
บวชแล้ว ไม่ควร, เพราะว่า การไม่เห็นสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก และ
การเห็นสัตว์และสังขารอันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์โดยแท้; เหตุนั้น การ
ทำบรรดาสัตว์และสังขารทั้งหลายอย่างใดอย่างหนึ่ง ให้เป็นที่รัก หรือไม่
ให้เป็นที่รัก ย่อมไม่สมควร " ดังนี้แล้วได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
1. อโยเค ยุญฺชมตฺตานํ โยคสฺมิญฺจ อโยชยํ
อตฺถํ หิตฺวา ปิยคฺคาหี ปิเหตตฺตานุโยคินํ.
มา ปิเยหิ สมาคญฺฉิ อปฺปิเยหิ กุทาจนํ
ปิยานํ อทสฺสนํ ทุกฺขํ อปฺปิยานญฺจ ทสฺสนํ
ตสฺมา ปิยํ น กยิราถ ปิยาปาโย หิ ปาปโก
คนฺถา เตสํ น วิชฺชนฺติ เยสํ นตฺถิ ปิยาปฺปิยํ.
" บุคคล ประกอบตนไว้ในสิ่งอันไม่ควรประกอบ
และไม่ประกอบไว้ในสิ่งอันควรประกอบ ละเสียแล้ว
ซึ่งประโยชน์ ถือเอาอารมณ์อันเป็นที่รัก ย่อมทะเยอ
ทะยาน ต่อบุคคลผู้ตามประกอบตน, บุคคลอย่า
สมาคมกับสัตว์และสังขารทั้งหลาย อันเป็นที่รัก