เมนู

ย่อมโศกเศร้าตลอดกาลยืดยาวนาน, ความอยู่ร่วมกับ
พวกคนพาลให้เกิดทุกข์เสมอไป เหมือนความอยู่ร่วม
ด้วยศัตรู, ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็นสุข เหมือน
สมาคมเเห่งญาติ. เพราะฉะนั้น แล
ท่านทั้งหลาย จงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์ และมี
ปัญญาทั้งเป็นพหุสูต นำธุระไปเป็นปกติ มีวัตร เป็น
อริยบุคคล เป็นสัตบุรุษมีปัญญาดี เช่นนั้น เหมือน
พระจันทร์ ซ่องเสพคลองแห่งนักขัตฤกษ์ฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาหุ ได้แก่ เป็นการยังประโยชน์
ให้สำเร็จ คือว่าเป็นความงาม ได้แก่กรรมอันเจริญ.
บทว่า สนฺนิวาโส ความว่า หาใช่เพียงการพบพระอริยบุคคล
เหล่านั้นอย่างเดียวเป็นการดีไม่ ถึงความเป็น คือเป็นต้นว่าความนั่งร่วม
กับพระอริยบุคคลเหล่านั้น ณ ที่เดียวกันก็ดี ความเป็นคืออันได้เพื่อจะ
กระทำวัตรและปฏิวัตรแก่พระอริยบุคคลเหล่านั้นก็ดี เป็นการดีโดยแท้.
บทว่า พาลสงฺคตจารี หิ ความว่า เพราะผู้ใดเที่ยวร่วมกับคนพาล.
ประชุมบทว่า ทีฆมทฺธานํ เป็นต้น ความว่า ผู้นั้นถูกสหายพาล
พูดว่า " เจ้าจงมา, พวกเราจะกระทำกรรม มีอันตัดต่อเป็นต้น " เป็น
ผู้ร่วมฉันทะกับสหายพาลนั้น กระทำกรรมเหล่านั้นต้องกรรมกรณ์หลาย
อย่าง มีถูกตัดมือเป็นต้น ชื่อว่าย่อมโศกเศร้าสิ้นกาลยาวนาน.
บทว่า สพฺพทา ความว่า ขึ้นชื่อว่าการอยู่ ณ ที่เดียวกัน กับผู้เป็น
ศัตรูมีมือถือดาบก็ดี พวกสัตว์ร้ายมีอสรพิษเป็นต้นก็ดี ให้เกิดทุกข์เป็นนิตย์
ฉันใด, การอยู่ร่วมกับคนพาล (ก็) ฉันนั้นเหมือนกัน.

ในบาทพระคาถาว่า ธีโร จ สุขสํวาโส นี้ มีวิเคราะห์ว่า การ
อยู่ร่วมด้วยปราชญ์นั้น เป็นสุข เหตุนั้นจึงชื่อว่า มีการอยู่ร่วมให้เกิดสุข,
อธิบายว่า การอยู่ ณ ที่เดียวกันกับด้วยบัณฑิตให้เกิดสุข.
ถามว่า " การอยู่ร่วมด้วยปราชญ์ ให้เกิดสุขอย่างไร ? " แก้ว่า
" เหมือนสมาคมแห่งหมู่ญาติฉะนั้น, " อธิบายว่า การสมาคมแห่งหมู่ญาติ
อันเป็นที่รักให้เกิดสุขฉันใด ; การอยู่ร่วมด้วยปราชญ์ให้เกิดสุขฉันนั้น.
บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการอยู่ร่วมกับคนพาลให้เกิดทุกข์,
กับด้วยบัณฑิตให้เกิดสุข; ฉะนั้นแล ท่านทั้งหลายจงคบหา คือว่าเข้าไป
นั่งใกล้ ท่านที่เป็นปราชญ์สมบูรณ์ด้วยปัญญา และผู้สมบูรณ์ด้วยปัญญา
เป็นโลกิยะและโลกุตระ ซึ่งชื่อว่าผู้มีปัญญา และผู้ถึงพร้อมด้วยอาคมและ
อธิคมที่ชื่อว่าพหุสูต ผู้ชื่อว่านำธุระไปเป็นปกติ เพราะความเป็นผู้มีอันนำ
ธุระไปเป็นปกติ คือให้ถึงพระอรหัต ผู้ชื่อว่ามีวัตร เพราะวัตรคือศีล
และวัตรคือธุดงค์ ผู้ชื่อว่าอริยะ เพราะความเป็นผู้ไกลจากกองกิเลส
ผู้สัตบุรุษ ผู้มีปัญญางามเห็นปานนั้น, เหมือนพระจันทร์ซ่องเสพอากาศ
ที่กล่าวกันว่าคลองเเห่งนักขัตฤกษ์ อันไม่มัวหมองฉะนั้น.
ในกาลจบเทศนา คนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้นแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องท้าวสักกะ จบ.
สุขวรรควรรณนา จบ.
วรรคที่ 15 จบ.

คาถาธรรม


ปิยวรรค1ที่ 16


ว่าด้วยสิ่งที่เป็นที่รัก


[26] 1. บุคคลประกอบตนไว้ในสิ่งอันไม่ควรประกอบ
และไม่ประกอบไว้ในสิ่งอันควรประกอบ ละเสียแล้ว
ซึ่งประโยชน์ ถือเอาอารมณ์อันเป็นที่รัก ย่อมทะเยอ
ทะยานต่อบุคคลผู้ตามประกอบตน บุคคลอย่าสมาคม
กับสัตว์และสังขารทั้งหลายอันเป็นที่รัก (และ) ไม่
เป็นที่รักในกาลไหน ๆ (เพราะว่า) การไม่เห็นสัตว์
และสังขารอันเป็นที่รัก และการเห็นสัตว์และสังขาร
อันไม่เป็นที่รัก เป็นทุกข์ เพราะเหตุนั้น บุคคลไม่พึง
กระทำสัตว์หรือสังขารให้เป็นที่รัก เพราะความพราก
จากสัตว์และสังขารอันเป็นที่รัก เป็นการต่ำทราม
กิเลสเครื่องร้อยรัดทั้งหลาย ของเหล่าบุคคลผู้ไม่มี
อารมณ์อันเป็นที่รักและไม่เป็นที่รัก ย่อมไม่มี.

2. ความโศกย่อมเกิดแต่ของที่รัก ภัยย่อมเกิด
แต่ของที่รัก ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้ปลดเปลื้องได้
จากของที่รัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน.

3. ความโศกย่อมเกิดแต่ความรัก ภัยย่อมเกิด
แต่ความรัก ความโศกย่อมไม่มีแก่ผู้พ้นวิเศษแล้วจาก
ความรัก ภัยจักมีแต่ที่ไหน.

1. วรรคนี้ มีอรรถกถา 9 เรื่อง.