เมนู

นำไปอยู่ ไม่ได้กระทำแม้อาการสักว่าการสยิ้วพระพักตร์, ได้เป็นดุจนำ
ภาชนะของหอมไป. ท้าวเธอปฏิบัติพระศาสดาอย่างนี้แล้ว ในเวลา
พระศาสดามีความสำราญนั่นแหละ จึงได้เสด็จไป.

ภิกษุสรรเสริญท้าวสักกะ


ภิกษุประชุมพูดกันขึ้นว่า " น่าสรรเสริญ ท้าวสักกเทวราชมีความ
สิเนหาในพระศาสดา, ท้าวเธอทรงละทิพยสมบัติ เห็นปานฉะนี้เสีย ทรง
นำภาชนะสำหรับรองพระบังคนหนักของพระศาสดาออกไปด้วยพระเศียร
หาทรงทำพระอาการมาตรว่าสยิ้วพระพักตร์ไม่ ดุจบุรุษผู้นำภาชนะอัน
เต็มด้วยของหอมออกไปอยู่ฉะนั้น ได้ทรงกระทำอุปัฏฐากแล้ว " พระศาสดา
ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอพูดอะไรกัน ? " ครั้นภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า "
จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ข้อซึ่งท้าวสักกเทวราชทำสิเนหาในเรานั้น
ไม่น่าอัศจรรย์. เพราะท้าวสักกเทวราชนี้ ฟังธรรมเทศนาแล้วเป็นโสดาบัน
ละความเป็นท้าวสักกะชรา ถึงความเป็นท้าวสักกะหนุ่ม เหตุอาศัยเรา;
แท้จริงเมื่อท้าวเธอเสด็จนั่งในท่ามกลางเทพบริษัท ณ อินทสาลคูหา ใน
กาลเมื่อตนถูกมรณภัยคุกคาม ทำคนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะข้างหน้า
เสด็จมา เราได้กล่าวว่า :-
" ดูก่อนท้าววาสวะ ท่านจงถามปัญหากะเรา,
ท่านปรารถนาปัญหาข้อใดข้อหนึ่งในพระหฤทัย เรา
จะทำที่สุดแห่งปัญหานั้น ๆ ของท่านได้แน่แท้ "

เมื่อจะบรรเทาความสงสัยของท้าวเธอ จึงได้เเสดงธรรมเทศนา, ใน
กาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ทั้งหลายประมาณ 14 โกฎิ. ส่วน
ท้าวสักกเทวราชบรรลุโสดาปัตติผล ตามที่ประทับนั่งแล้วนั่นเอง เป็น
ท้าวสักกะหนุ่มแล้ว; เรามีอุปการะเป็นอันมากแก่ท้าวสักกเทวราชนั้น ด้วย
ประการอย่างนี้, ชื่อว่าความสิเนหาในเราของท้าวสักกเทวราชนั้น ไม่น่า
อัศจรรย์; ภิกษุทั้งหลาย ก็การพบเห็นเหล่าอริยบุคคลก็ดี การอยู่
ณ ที่เดียวกันกับเหล่าอริยบุคคลก็ดี ให้เกิดสุข, แต่ว่า กิจเช่นนั้นกับพวก
คนพาล ให้เกิดทุกข์ทั้งนั้น " แล้วจึงได้ทรงภาษิตคาถาเหล่านี้ว่า :-
8. สาหุ ทสฺสนมริยานํ สนฺนิวาโส สทา สุโข
อทสฺสเนน พาลานํ นิจฺจเม สุขี สิยา.
พาลสงฺคตจารี หิ ทีฆมทฺธาน โสจติ
ทุกฺโข พาเลหิ สํวาโส อมิตฺเตเนว สพฺพทา.
ธีโร จ สุขสํวาโส ญาตีนํว สมาคโม
ตสฺมา หิ
ธีรญฺจ ปญฺญญฺจ พหุสฺสุตญฺจ
โธรยฺหสีลํ วตวนฺตมริยํ
ตํ ตาทิสํ สปฺปุริสํ สุเมธํ
ภเชถ นกฺขตฺตปถํว จนฺทิมา.
" การพบเห็นเหล่าอริยบุคคล เป็นการดี, การอยู่
ร่วม (ด้วยเหล่าอริยบุคคล) ให้เกิดสุขทุกเมื่อ, บุคคล
พึงเป็นผู้มีสุข เป็นนิตย์แท้จริง เพราะไม่พบเห็น
พวกคนพาล, เพราะว่า คนเที่ยวสมาคมกับคนพาล

ย่อมโศกเศร้าตลอดกาลยืดยาวนาน, ความอยู่ร่วมกับ
พวกคนพาลให้เกิดทุกข์เสมอไป เหมือนความอยู่ร่วม
ด้วยศัตรู, ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็นสุข เหมือน
สมาคมเเห่งญาติ. เพราะฉะนั้น แล
ท่านทั้งหลาย จงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์ และมี
ปัญญาทั้งเป็นพหุสูต นำธุระไปเป็นปกติ มีวัตร เป็น
อริยบุคคล เป็นสัตบุรุษมีปัญญาดี เช่นนั้น เหมือน
พระจันทร์ ซ่องเสพคลองแห่งนักขัตฤกษ์ฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สาหุ ได้แก่ เป็นการยังประโยชน์
ให้สำเร็จ คือว่าเป็นความงาม ได้แก่กรรมอันเจริญ.
บทว่า สนฺนิวาโส ความว่า หาใช่เพียงการพบพระอริยบุคคล
เหล่านั้นอย่างเดียวเป็นการดีไม่ ถึงความเป็น คือเป็นต้นว่าความนั่งร่วม
กับพระอริยบุคคลเหล่านั้น ณ ที่เดียวกันก็ดี ความเป็นคืออันได้เพื่อจะ
กระทำวัตรและปฏิวัตรแก่พระอริยบุคคลเหล่านั้นก็ดี เป็นการดีโดยแท้.
บทว่า พาลสงฺคตจารี หิ ความว่า เพราะผู้ใดเที่ยวร่วมกับคนพาล.
ประชุมบทว่า ทีฆมทฺธานํ เป็นต้น ความว่า ผู้นั้นถูกสหายพาล
พูดว่า " เจ้าจงมา, พวกเราจะกระทำกรรม มีอันตัดต่อเป็นต้น " เป็น
ผู้ร่วมฉันทะกับสหายพาลนั้น กระทำกรรมเหล่านั้นต้องกรรมกรณ์หลาย
อย่าง มีถูกตัดมือเป็นต้น ชื่อว่าย่อมโศกเศร้าสิ้นกาลยาวนาน.
บทว่า สพฺพทา ความว่า ขึ้นชื่อว่าการอยู่ ณ ที่เดียวกัน กับผู้เป็น
ศัตรูมีมือถือดาบก็ดี พวกสัตว์ร้ายมีอสรพิษเป็นต้นก็ดี ให้เกิดทุกข์เป็นนิตย์
ฉันใด, การอยู่ร่วมกับคนพาล (ก็) ฉันนั้นเหมือนกัน.