เมนู

8. เรื่องท้าวสักกะ [164]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเวฬุวคาม ทรงปรารภท้าวสักกะ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สาหุ ทสฺสนํ " เป็นต้น.
ความพิสดารว่า ท้าวสักกเทวราชทรงทราบความที่พระอาพาธ มี
อันแล่นไปแห่งพระโลหิตเป็นสมุฏฐาน1 เกิดขึ้นแล้วแก่พระตถาคต ใน
เมื่อพระองค์ทรงปลงอายุสังขารแล้ว ทรงดำริว่า " การที่เราไปสู่สำนัก
ของพระศาสดาแล้ว ทำคิลานุปัฏฐากย่อมควร " ทรงละอัตภาพประมาณ
3 คาวุตเสีย เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทรงนวดพระบาทด้วย
พระหัตถ์ทั้งสอง, ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสกะท้าวสักกะนั้นว่า " นั่นใคร ? "
ท้าวสักกะ. ข้าพระองค์ คือท้าวสักกะ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ท่านมาทำไม ?
ท้าวสักกะ. มาเพื่อบำรุงพระองค์ผู้ประชวร พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ท้าวสักกะ กลิ่นมนุษย์ย่อมปรากฏแก่เทวดาทั้งหลาย
เหมือนซากศพที่ผูกไว้ที่คอ ตั้งแต่ 100 โยชน์ขึ้นไป, ท่านจงไปเถิด,
ภิกษุผู้คิลานุปัฏฐากของเรามี.
ท้าวสักกะกราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ดำรง
อยู่ในที่สุดแห่ง 8 หมื่น 4 พันโยชน์ สูดกลิ่นแห่งศีลของพระองค์มา
แล้ว. ข้าพระองค์นี่แหละจักบำรุง " แล้วไม่ให้บุคคลอื่นถูกต้องภาชนะ
พระบังคนหนักของพระศาสดาแม้ด้วยมือ ทรงทูนไว้บนพระเศียรทีเดียว
1. อาพาธลงพระโลหิต.

นำไปอยู่ ไม่ได้กระทำแม้อาการสักว่าการสยิ้วพระพักตร์, ได้เป็นดุจนำ
ภาชนะของหอมไป. ท้าวเธอปฏิบัติพระศาสดาอย่างนี้แล้ว ในเวลา
พระศาสดามีความสำราญนั่นแหละ จึงได้เสด็จไป.

ภิกษุสรรเสริญท้าวสักกะ


ภิกษุประชุมพูดกันขึ้นว่า " น่าสรรเสริญ ท้าวสักกเทวราชมีความ
สิเนหาในพระศาสดา, ท้าวเธอทรงละทิพยสมบัติ เห็นปานฉะนี้เสีย ทรง
นำภาชนะสำหรับรองพระบังคนหนักของพระศาสดาออกไปด้วยพระเศียร
หาทรงทำพระอาการมาตรว่าสยิ้วพระพักตร์ไม่ ดุจบุรุษผู้นำภาชนะอัน
เต็มด้วยของหอมออกไปอยู่ฉะนั้น ได้ทรงกระทำอุปัฏฐากแล้ว " พระศาสดา
ทรงสดับถ้อยคำของภิกษุเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวก
เธอพูดอะไรกัน ? " ครั้นภิกษุเหล่านั้นกราบทูลว่า " เรื่องชื่อนี้ พระเจ้าข้า "
จึงตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ข้อซึ่งท้าวสักกเทวราชทำสิเนหาในเรานั้น
ไม่น่าอัศจรรย์. เพราะท้าวสักกเทวราชนี้ ฟังธรรมเทศนาแล้วเป็นโสดาบัน
ละความเป็นท้าวสักกะชรา ถึงความเป็นท้าวสักกะหนุ่ม เหตุอาศัยเรา;
แท้จริงเมื่อท้าวเธอเสด็จนั่งในท่ามกลางเทพบริษัท ณ อินทสาลคูหา ใน
กาลเมื่อตนถูกมรณภัยคุกคาม ทำคนธรรพ์เทพบุตรชื่อปัญจสิขะข้างหน้า
เสด็จมา เราได้กล่าวว่า :-
" ดูก่อนท้าววาสวะ ท่านจงถามปัญหากะเรา,
ท่านปรารถนาปัญหาข้อใดข้อหนึ่งในพระหฤทัย เรา
จะทำที่สุดแห่งปัญหานั้น ๆ ของท่านได้แน่แท้ "