เมนู

รับสั่งให้หาท่านมาแล้ว ตรัสถามว่า " ติสสะ เหตุไร ? เธอจึงทำอย่างนี้. "
เมื่อท่านกราบทูลความประสงค์ของตนแล้ว ประทานสาธุการว่า " ดีละ
ติสสะ " แล้วตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย ผู้มีความรักในเรา จงเป็นเหมือน
ติสสะเถิด; แม้คนกระทำการบูชาอยู่ด้วยของหอมและระเบียบดอกไม้เป็น
ต้น ไม่ชื่อว่าบูชาเราเลย, แต่คนผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรมนั่นแหละ
ชื่อว่าบูชาเรา. " แล้วตรัสพระคาถานี้ว่า :-
7. ปวิเวกรสํ ปิตฺวา รสํ อุปสมสฺส จ
นิทฺทโร โหติ นิปฺปาโป ธมฺมปีติรสํ ปิวํ.
" บุคคลดื่มรสอันเกิดแต่วิเวกและรสพระนิพพาน
เป็นที่เข้าไปสงบ ดื่มรสปีติอันเกิดแต่ธรรม ย่อมเป็น
ผู้ไม่มีความกระวนกระวาย ไม่มีบาป."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปวิเวกรสํ ความว่า ซึ่งรสอันเกิดแล้ว
แต่วิเวก, อธิบายว่า ซึ่งความสุขอันเกิดแต่ความเป็นผู้เดียว.
บทว่า ปิตฺวา ความว่า ดื่มแล้วด้วยความสามารถแห่งอันเป็นผู้ทำกิจ
มีอันกำหนดรู้ทุกข์เป็นต้น ทำให้แจ้งโดยความเป็นอารมณ์.
บาทพระคาถาว่า รสํ อุปสมสฺส จ ความว่า ดื่มแล้วซึ่งรสแห่ง
พระนิพพาน อันเป็นที่เข้าไปสงบกิเลสด้วย.
สองบทว่า นิทฺทโร โหติ ความว่า ภิกษุผู้ขีณาสพ ชื่อว่าเป็นผู้
ไม่มีความกระวนกระวาย และไม่มีบาป เพราะความไม่มีความกระวน
กระวาย คือราคะเป็นต้นในภายใน เพราะดื่มรสทั้งสองอย่างนั้น.

สองบทว่า รสํ ปิวํ ความว่า แม้เมื่อดื่มรสแห่งปีติ อันเกิดขึ้นแล้ว
ด้วยสามารถแห่งโลกุตรธรรม 9 ย่อมเป็นผู้ไม่มีความกระวนกระวาย และ
ไม่มีบาป.
ในกาลจบเทศนา พระติสสเถระบรรลุพระอรหัตแล้ว. เทศนาได้
มีประโยชน์แม้แก่มหาชน ดังนี้แล.
เรื่องพระติสสเถระ จบ.

8. เรื่องท้าวสักกะ [164]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในเวฬุวคาม ทรงปรารภท้าวสักกะ
ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สาหุ ทสฺสนํ " เป็นต้น.
ความพิสดารว่า ท้าวสักกเทวราชทรงทราบความที่พระอาพาธ มี
อันแล่นไปแห่งพระโลหิตเป็นสมุฏฐาน1 เกิดขึ้นแล้วแก่พระตถาคต ใน
เมื่อพระองค์ทรงปลงอายุสังขารแล้ว ทรงดำริว่า " การที่เราไปสู่สำนัก
ของพระศาสดาแล้ว ทำคิลานุปัฏฐากย่อมควร " ทรงละอัตภาพประมาณ
3 คาวุตเสีย เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้ว ทรงนวดพระบาทด้วย
พระหัตถ์ทั้งสอง, ครั้งนั้นพระศาสดาตรัสกะท้าวสักกะนั้นว่า " นั่นใคร ? "
ท้าวสักกะ. ข้าพระองค์ คือท้าวสักกะ พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ท่านมาทำไม ?
ท้าวสักกะ. มาเพื่อบำรุงพระองค์ผู้ประชวร พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ท้าวสักกะ กลิ่นมนุษย์ย่อมปรากฏแก่เทวดาทั้งหลาย
เหมือนซากศพที่ผูกไว้ที่คอ ตั้งแต่ 100 โยชน์ขึ้นไป, ท่านจงไปเถิด,
ภิกษุผู้คิลานุปัฏฐากของเรามี.
ท้าวสักกะกราบทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้ข้าพระองค์ดำรง
อยู่ในที่สุดแห่ง 8 หมื่น 4 พันโยชน์ สูดกลิ่นแห่งศีลของพระองค์มา
แล้ว. ข้าพระองค์นี่แหละจักบำรุง " แล้วไม่ให้บุคคลอื่นถูกต้องภาชนะ
พระบังคนหนักของพระศาสดาแม้ด้วยมือ ทรงทูนไว้บนพระเศียรทีเดียว
1. อาพาธลงพระโลหิต.