เมนู

6. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล [162]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเจ้า
ปเสนทิโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อาโรคฺยปรมา ลาภา " เป็น
ต้น.

พระราชาเสวยพระกระยาหารจุ


ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระราชาเสวยพระกระยาหารตั้ง
ทะนานแห่งข้าวสาร ด้วยสูปะและพยัญชนะอันสมควรแก่พระกระยาหาร
นั้น. วันหนึ่ง ท้าวเธอเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ยังไม่บรรเทาความ
เมาเพราะภัตเลย เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา มีพระรูปอึดอัด ทรง
พลิกกลับไปมาข้างโน้นข้างนี้อยู่ แม้ถูกความหลับครอบงำ เมื่อไม่
สามารถจะทรงผทมตรงได้ จึงประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น
พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร พระองค์ยังไม่ทันพักผ่อนเลย
เสด็จมาแล้วหรือ ? "
พระราชา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ตั้งแต่เวลาบริโภคแล้วหม่อมฉัน
มีทุกข์มาก.

อุบายแก้การบริโภคอาหารจุ


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร การบริโภค
มากเกินไป เป็นทุกข์อย่างนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสสอนด้วยพระคาถานี้ว่า :-
" ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินจุ มักง่วง และมัก
นอนหลับ กระสับกระส่าย เป็นดุจสุกรใหญ่ที่เขา

เลี้ยงด้วยอาหาร, ในกาลนั้น เขาเป็นคนมึนซึม ย่อม
เข้าห้องบ่อย ๆ."

แล้วตรัสว่า " มหาบพิตร การบริโภคโภชนะแต่พอประมาณ จึงควร,
เพราะผู้บริโภคพอประมาณ ย่อมมีความสุข " เมื่อจะทรงโอวาทให้ยิ่ง จึง
ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
" คนมีสติทุกเมื่อ รู้ประมาณในโภชนะที่ได้แล้ว
นั้น มีเวทนาเบาบาง, (อาหารที่บริโภคแล้ว) เลี้ยง
อายุอยู่ ค่อย ๆ ย่อยไป1 "

พระราชาไม่อาจจะทรงเรียนพระคาถาได้. แต่ตรัสกะเจ้าหลานชื่อ
สุทัสนะ ซึ่งยืนอยู่ในที่ใกล้ว่า " พ่อ เธอจงเรียนคาถานี้. " สุทัสนะนั้น
ทรงเรียนคาถานั้นเเล้ว ทูลถามพระศาสดาว่า " ข้าพระองค์จะกระทำ
อย่างไร พระเจ้าข้า ? " ครั้งนั้น พระศาสดาตรัสกะเธอว่า " เมื่อพระ-
ราชาเสวยอยู่ ท่านพึงกล่าวคาถานี้ในกาลเสวยก้อนที่สุด, พระราชาทรง
กำหนดเนื้อความได้เเล้ว จักทรงทิ้งก้อนข้าวนั้น, ในการหุงภัตเพื่อพระ-
ราชา เธอพึงให้ลดข้าวสารมีประมาณเท่านั้น ด้วยอันนับเมล็ดข้าวในก้อน
ข้าวนั้น. " สุทัสนะนั้นทูลรับว่า " ดีละ พระเจ้าข้า เมื่อพระราชาเสวย
เวลาเช้าก็ตาม เวลาเย็นก็ตาม ก็กล่าวคาถานั้นขึ้น ในการเสวยก้อน
สุดท้าย แล้วให้ลดข้าวสาร ด้วยอันนับเมล็ด ในก้อนข้าวที่พระราชานั้น
ทรงทิ้ง. แม้พระราชาทรงสดับคาถาของสุทัสนะนั้นแล้ว รับสั่งให้พระ-
ราชทานทรัพย์ครั้งละพัน.
1. แปลกันมาอย่างนี้. คือเติม ภุตฺตาหาโร เป็นประธาน แต่น่าจะหมายความว่า....... มีโรค
ภัยไข้เจ็บน้อย, เขาแก่ช้าอายุยืน.

พระราชาลดพระกระยาหารได้แล้ว


โดยสมัยอื่นอีก พระราชานั้นทรงตั้งอยู่ในความเป็นผู้มีพระกระยา-
หารแห่งข้าวสารทะนานหนึ่งเป็นอย่างยิ่ง ทรงถึงความสุขแล้ว ได้มีพระ-
สรีระอันเบา.
ภายหลังวันหนึ่ง ท้าวเธอเสด็จไปสำนักพระศาสดา ถวายบังคม
พระศาสดาแล้วทูลว่า " ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บัดนี้ความสุขเกิดแก่
หม่อมฉันแล้ว หม่อมฉันเป็นผู้สามารถ จะติดตามจับเนื้อก็ได้ ม้าก็ได้,
เมื่อก่อนหม่อมฉันมีการยุทธ์กับหลาน; บัดนี้หม่อมฉันให้ธิดาชื่อว่าวชิร-
กุมารีแก่หลานแล้ว ให้บ้านนั้น ทำให้เป็นค่าน้ำอาบของธิดานั้นนั่นแล.
ความทะเลาะกับหลานนั้นสงบแล้ว, สุขแท้เกิดแล้วแก่หม่อมฉัน เพราะ
เหตุแม้นี้. เเม้เเก้วมณีของพระเจ้ากุสะ ซึ่งหายไปแล้วในเรือนของหม่อม-
ฉันในวันก่อน; บัดนี้แก้วมณีแม้นั้นมาสู่เงื้อมมือแล้ว, ความสุขแท้เกิด
แล้วแก่หม่อมฉัน เพราะเหตุแม้นี้, หม่อมฉันปรารถนาความคุ้นเคยกับ
เหล่าสาวกของพระองค์ จึงทำแม้ธิดาแห่งญาติของพระองค์ไว้ในเรือน,
ความสุขแท้เกิดแล้วแก่หม่อนฉัน เพราะเหตุเเม้นี้. " พระศาสดาตรัสว่า
" มหาบพิตร ชื่อว่าความไม่มีโรค เป็นลาภอย่างยิ่ง, ทรัพย์แม้เช่นกับ
ความเป็นผู้สันโดษ ด้วยวัตถุตามที่ตนได้แล้ว ไม่มี, ชื่อว่าญาติเช่นกับ
ด้วยผู้คุ้นเคยกัน ไม่มี, ชื่อว่าความสุขอย่างยิ่ง เช่นกับด้วยพระนิพพาน
ไม่มี " จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
6. อาโรคฺยปรมา ลาภา สนฺตุฏฺฐิปรมํ ธนํ
วิสฺสาสปรมา ญาติ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.