เมนู

คิดว่า ' เราเมื่อมาสิ้นทางกันดาร 30 โยชน์ เห็นอุปนิสัยของอุบาสกคนนั้น
แล้วจึงมา. อุบาสกนั้นหิวยิ่งนัก ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วเที่ยวไปหาโคในป่า
แม้เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ก็ไม่อาจบรรลุได้ เพราะความเป็นทุกข์อันเกิด
แต่ความหิว. จึงได้กระทำอย่างนี้; ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่าชื่อว่าโรค เช่น
กับโรค คือความหิวไม่มี " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
5. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ญฺตวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.
" ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง, สังขารทั้งหลาย เป็น
ทุกข์อย่างยิ่ง, บัณฑิตทราบเนื้อความนั่น ตามความ
จริงแล้ว (กระทำให้เเจ้งซึ่งพระนิพพาน) เพราะ
พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา ความ
ว่า เพราะโรคอย่างอื่นรักษาคราวเดียวก็หาย หรือว่าอันบุคคลย่อมบำบัด
ได้ ด้วยความสามารถแห่งองค์นั้น ๆ (คือเป็นครั้งคราว). ส่วนความหิว
ต้องรักษากันสิ้นกาลเป็นนิตย์ทีเดียว เหตุนั้น ความหิวนี้จึงจัดเป็นเยี่ยม
กว่าโรคที่เหลือ.
ขันธ์ 5 ชื่อว่า สังขารทั้งหลาย. สองบทว่า เอตํ ญตฺวา ความว่า
บัณฑิตทราบเนื้อความตามเป็นจริงว่า " โรคเสมอด้วยความหิว ย่อมไม่มี,
ชื่อว่าทุกข์ เสมอด้วยการบริหารขันธ์ ย่อมไม่มี, " แล้วกระทำพระ-
นิพพานให้แจ้ง.

บาทพระคาถาว่า นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ ความว่า เพราะพระนิพพาน
นั้น เป็นสุขอย่างยอด คืออย่างสูงสุดกว่าสุขทั้งหมด.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องอุบาสกคนใดคนหนึ่ง จบ.

6. เรื่องพระเจ้าปเสนทิโกศล [162]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพระเจ้า
ปเสนทิโกศล ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " อาโรคฺยปรมา ลาภา " เป็น
ต้น.

พระราชาเสวยพระกระยาหารจุ


ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง พระราชาเสวยพระกระยาหารตั้ง
ทะนานแห่งข้าวสาร ด้วยสูปะและพยัญชนะอันสมควรแก่พระกระยาหาร
นั้น. วันหนึ่ง ท้าวเธอเสวยพระกระยาหารเช้าแล้ว ยังไม่บรรเทาความ
เมาเพราะภัตเลย เสด็จไปสู่สำนักของพระศาสดา มีพระรูปอึดอัด ทรง
พลิกกลับไปมาข้างโน้นข้างนี้อยู่ แม้ถูกความหลับครอบงำ เมื่อไม่
สามารถจะทรงผทมตรงได้ จึงประทับนั่ง ณ ส่วนข้างหนึ่ง. ครั้งนั้น
พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร พระองค์ยังไม่ทันพักผ่อนเลย
เสด็จมาแล้วหรือ ? "
พระราชา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ตั้งแต่เวลาบริโภคแล้วหม่อมฉัน
มีทุกข์มาก.

อุบายแก้การบริโภคอาหารจุ


ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท้าวเธอว่า " มหาบพิตร การบริโภค
มากเกินไป เป็นทุกข์อย่างนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสสอนด้วยพระคาถานี้ว่า :-
" ในกาลใด บุคคลเป็นผู้กินจุ มักง่วง และมัก
นอนหลับ กระสับกระส่าย เป็นดุจสุกรใหญ่ที่เขา