เมนู

พระศาสดาแล้ว ได้ยืนอยู่ที่ส่วนข้างหนึ่ง. ในเวลาที่เขายืนอยู่ พระศาสดา
ตรัสกะผู้ขวนขวายในทานว่า " ของอะไรที่เป็นเดนของภิกษุสงฆ์ มีอยู่
หรือ ? "
ผู้ขวนขวายในทาน. มีอยู่ทุกอย่าง พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ถ้ากระนั้น เธอจงเลี้ยงดูผู้นี้.

พระศาสดายังถูกโพนทะนา


เขาให้มนุษย์นั้นนั่งในที่ที่พระศาสดาตรัสสั่งนั่นแหละ แล้วเลี้ยง
ดูด้วยข้าวยาคู ของควรเคี้ยว และของควรบริโภค โดยเคารพ. มนุษย์
ผู้นั้นบริโภคภัตเสร็จ บ้วนปากแล้ว. ได้ยินว่า ชื่อว่าการจัดภัตของพระ-
ตถาคต ย่อมไม่มีในที่อื่น ในปิฎก 3 เว้นที่นี้เสีย. จิตของเขามีความ
กระวนกระวายสงบแล้ว ได้เป็นจิตมีอารมณ์เป็นอันเดียว. ครั้งนั้น พระ-
ศาสดาตรัสอนุปุพพีกถาแล้ว ทรงประกาศสัจจะทั้งหลายแก่เขา. ในที่สุด
แห่งเทศนา เขาตั้งอยู่ในโสดาปัตติผล แม้พระศาสดาทรงกระทำอนุโมทนา
แล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป. มหาชนตามส่งเสด็จพระศาสดาแล้ว
ก็กลับ.
ภิกษุทั้งหลายที่ไปกับพระศาสดานั่นแหละ ยกโทษว่า " ผู้มีอายุ
ทั้งหลาย พวกท่านจงดูกรรมของพระศาสดาเถิด. กรรมเห็นปานนี้ ย่อม
ไม่มีในวันทั้งหลายอื่น, แต่วันนี้ พระศาสดาทรงอาศัยมนุษย์คนหนึ่ง
รับสั่งให้คนจัดแจงข้าวยาคูเป็นต้นให้ให้แล้ว. " พระศาสดาเสด็จกลับ
ประทับยืนอยู่แล้วเทียว ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพูดอะไร
กัน ? " ทรงสดับเนื้อความนั้นแล้ว ตรัสว่า " อย่างนั้นภิกษุทั้งหลาย เรา

คิดว่า ' เราเมื่อมาสิ้นทางกันดาร 30 โยชน์ เห็นอุปนิสัยของอุบาสกคนนั้น
แล้วจึงมา. อุบาสกนั้นหิวยิ่งนัก ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่แล้วเที่ยวไปหาโคในป่า
แม้เมื่อเราแสดงธรรมอยู่ ก็ไม่อาจบรรลุได้ เพราะความเป็นทุกข์อันเกิด
แต่ความหิว. จึงได้กระทำอย่างนี้; ภิกษุทั้งหลาย ด้วยว่าชื่อว่าโรค เช่น
กับโรค คือความหิวไม่มี " ดังนี้แล้ว จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
5. ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา สงฺขารา ปรมา ทุกฺขา
เอตํ ญฺตวา ยถาภูตํ นิพฺพานํ ปรมํ สุขํ.
" ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง, สังขารทั้งหลาย เป็น
ทุกข์อย่างยิ่ง, บัณฑิตทราบเนื้อความนั่น ตามความ
จริงแล้ว (กระทำให้เเจ้งซึ่งพระนิพพาน) เพราะ
พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ชิฆจฺฉา ปรมา โรคา ความ
ว่า เพราะโรคอย่างอื่นรักษาคราวเดียวก็หาย หรือว่าอันบุคคลย่อมบำบัด
ได้ ด้วยความสามารถแห่งองค์นั้น ๆ (คือเป็นครั้งคราว). ส่วนความหิว
ต้องรักษากันสิ้นกาลเป็นนิตย์ทีเดียว เหตุนั้น ความหิวนี้จึงจัดเป็นเยี่ยม
กว่าโรคที่เหลือ.
ขันธ์ 5 ชื่อว่า สังขารทั้งหลาย. สองบทว่า เอตํ ญตฺวา ความว่า
บัณฑิตทราบเนื้อความตามเป็นจริงว่า " โรคเสมอด้วยความหิว ย่อมไม่มี,
ชื่อว่าทุกข์ เสมอด้วยการบริหารขันธ์ ย่อมไม่มี, " แล้วกระทำพระ-
นิพพานให้แจ้ง.