เมนู

คาถาธรรมบท


สุขวรรค1ที่ 15


ว่าด้วยความสุขที่แท้จริง.


[25] 1. ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน พวกเราไม่มี
เวร เป็นอยู่สบายดีหนอ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีเวรกัน
พวกเราไม่มีเวรอยู่ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเดือด-
ร้อนกัน พวกเราไม่มีความเดือดร้อน เป็นอยู่สบายดี
หนอ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความเดือดร้อนกัน พวก
เราไม่มีความเดือดร้อนอยู่ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้ขวน
ขวายกัน พวกเราไม่มีความขวนขวาย เป็นอยู่สบาย
ดีหนอ ในมนุษย์ทั้งหลายผู้มีความขวนขวายน้อย
พวกเราไม่มีความขวนขวายอยู่.

2. เราผู้ซึ่งไม่มีกิเลสชาตเครื่องกังวล ย่อมเป็น
อยู่สบายดีหนอ เราจักเป็นผู้มีปีติเป็นภักษา เหมือน
เหล่าเทวดาชั้นอาภัสระ.

3. ผู้ชนะย่อมก่อเวร ผู้แพ้ย่อมอยู่เป็นทุกข์ ผู้
สงบระงับละความชนะและความแพ้ได้แล้ว ย่อมอยู่
เป็นสุข.

4. ไฟเสมอด้วยราคะย่อมไม่มี โทษเสมอด้วย
โทสะย่อมไม่มี ทุกข์ทั้งหลายเสมอด้วยขันธ์ย่อมไม่
มี สุขอื่นจากความสงบย่อมไม่มี.

5. ความหิวเป็นโรคอย่างยิ่ง สังขารทั้งหลาย
1. วรรคนี้มีอรรถกถา 8 เรื่อง.

เป็นทุกข์อย่างยิ่ง บัณฑิตทราบเนื้อความนั้นตาม
ความจริงแล้ว (กระทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน) เพราะ
พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.

6. ลาภทั้งหลายมีความไม่มีโรคเป็นอย่างยิ่ง
ทรัพย์มีความสันโดษเป็นอย่างยิ่ง ญาติมีความคุ้นเคย
เป็นอย่างยิ่ง พระนิพพานเป็นสุขอย่างยิ่ง.

7. บุคคลดื่มรสอันเกิดแต่วิเวก และรสพระ-
นิพพานเป็นที่เข้าไปสงบ ดื่มรสปีติอันเกิดแต่ธรรม
ย่อมเป็นผู้ร่วมความกระวนกระวาย ไม่มีบาป.

8. การพบเห็นเหล่าอริยบุคคลเป็นการดี การ
อยู่ร่วม (ด้วยเหล่าอริยบุคคล) ให้เกิดสุขทุกเมื่อ
บุคคลพึงเป็นผู้มีความสุขเป็นนิตย์แท้จริง เพราะไม่
พบเห็นพวกคนพาล เพราะว่าคนเที่ยวสมาคมกับคน
พาล ย่อมโศกเศร้าตลอดกาลยืดยาวนาน ความอยู่
ร่วมกับพวกคนพาล ให้เกิดทุกข์เสมอไป เหมือน
ความอยู่ร่วมด้วยศัตรู ปราชญ์มีความอยู่ร่วมกันเป็น
สุข เหมือนสมาคมเเห่งญาติ เพราะฉะนั้นแล ท่าน
ทั้งหลายจงคบหาผู้ที่เป็นปราชญ์ และมีปัญญา ทั้ง
เป็นพหุสูต นำธุระไปเป็นปกติ มีวัตร เป็นอริยบุคคล
เป็นสัตบุรุษ มีปัญญาดีเช่นนั้น เหมือนพระจันทร์
ซ่องเสพคลองแห่งนักษัตรฤกษ์ฉะนั้น.

จบสุขวรรคที่ 15

15. สุขวรรควรรณนา


1. เรื่องระงับความทะเลาะแห่งหมู่พระญาติ [157]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในแคว้นของชาวสักกะ ทรงปรารภหมู่
พระญาติ เพื่อระงับความทะเลาะ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สุสุขํ
วต "
เป็นต้น.

ความวิวาทเกิดเพราะแย่งน้ำ


ดังได้ยินมาว่า พวกเจ้าศากยะและพวกเจ้าโกลิยะ ให้กั้นแม่น้ำชื่อ
ว่าโรหิณี ด้วยทำนบอันเดียวกัน ในระหว่างนครกบิลพัสดุ์กับนครโกลิยะ
แล้วให้ทำข้าวกล้า. ถึงต้นเดือนเชฏฐมาส1 เมื่อข้าวกล้าเหี่ยว, พวกกรรมกร
แม้ของชาวนครทั้งสองประชุมกัน. ในชาวนครทั้งสองนั้นชาวนครโกลิยะ
กล่าวว่า " น้ำนี้ เมื่อถูกพวกเรานำไปแต่ข้างทั้งสองจักไม่พอแก่พวกท่าน,
เมื่อถูกพวกท่านนำไปแต่ข้างทั้งสอง. ก็จักไม่พอแก่พวกข้าพเจ้า; แต่ข้าว
กล้าของพวกข้าพเจ้า จักสำเร็จด้วยน้ำคราวเดียวเท่านั้น พวกท่านจงให้
น้ำนี้แก่พวกข้าพเจ้าเถิด. " ฝ่ายพวกชาวศากยะนอกนี้ กล่าวอย่างนี้ว่า
" เมื่อพวกท่านทำฉางให้เต็มตั้งไว้เเล้ว พวกข้าพเจ้าจักไม่อาจถือเอาทอง
มีสีสุก แก้วสีเขียว แก้วสีดำและกหาปณะ แล้วมีกระเช้าและกระสอบ
เป็นต้นในมือเที่ยวไปที่ประตูเรือนของพวกท่าน, ข้าวกล้าแม้ของพวก
1. เดือนมิถุนายน เดือน 7.