เมนู

9. เรื่องพระจดีย์ทองของพระกัสสปทสพล [156]


ข้อความเบื้องต้น


พระบรมศาสดาเมื่อเสด็จจาริกไป ทรงปรารภพระเจดีย์ทองของ
พระกัสสปทสพล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปูชารเห " เป็นต้น.
ความพิสดารว่า พระตถาคตเจ้ามีพระสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นพุทธบริวาร
เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีแล้วเสด็จไปเมืองพาราณสีโดยลำดับ เสด็จถึง
เทวสถานแห่งหนึ่ง ในที่ใกล้บ้านโตไทยคาม ในระหว่างทาง. พระสุคต-
เจ้าได้ประทับใกล้เทวสถานนั้น ทรงส่งพระธรรมภัณฑาคาริก (คือพระ-
อานนท์ผู้เป็นขุนคลังแห่งพระธรรม) ให้บอกพราหมณ์ซึ่งกำลังทำกสิกรรม
อยู่ในที่ไม่ไกลมาเฝ้า. พราหมณ์นั้นมาแล้วไม่ถวายอภิวาทแด่พระตถาคต
แต่ไหว้เทวสถานนั้นอย่างเดียว แล้วยืนอยู่. แม้พระสุคตเจ้าก็ตรัสว่า
" ดูก่อนพราหมณ์ ท่านสำคัญประเทศนี้ว่าเป็นที่อะไร ? " พราหมณ์จึง
กราบทูลว่า " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าไหว้ด้วยตั้งใจว่า ที่นี้เป็น
เจติยสถานตามประเพณีของพวกข้าพเจ้า. " พระสุคตเจ้าจึงให้พราหมณ์นั้น
ซื่นชมยินดีว่า " ดูก่อนพราหมณ์ ท่านไหว้สถานที่นี้ ได้ทำกรรมที่ดีแล้ว."
ภิกษุทั้งหลายได้สดับพระพุทธดำรัสนั้นแล้วจึงเกิดสงสัยขึ้นว่า " พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงให้พราหมณ์ชื่นชมยินดีอย่างนี้ ด้วยเหตุอะไรหนอ."
ลำดับนั้น พระตถาคตเจ้า เพื่อทรงปลดเปลื้องความสงสัยของภิกษุเหล่านั้น
จึงตรัสเทศนา ฆฏิการสูตร ในมัชฌิมนิกาย แล้วทรงนิรมิตพระเจดีย์ทอง
ของพระกัสสปทศพล สูงหนึ่งโยชน์ และพระเจดีย์ทองอีกหนึ่งองค์ไว้ใน

อากาศ ทรงแสดงให้มหาชนเห็นแล้วตรัสว่า " ดูก่อนพราหมณ์ การบูชา
ซึ่งบุคคลควรบูชาชนิดเช่นนี้ ย่อมสมควรกว่าแท้ " ดังนี้แล้ว จึงทรง
ประกาศปูชารหบุคคล 4 จำพวก มีพระพุทธเจ้าเป็นต้น โดยนัยดังที่ตรัส
ไว้ในมหาปรินิพพานสูตรนั้นเอง แล้วทรงแสดงโดยพิเศษถึงพระเจดีย์ 3
ประเภทคือ สรีรเจดีย์ 1 อุททิสเจดีย์ 1 ปริโภคเจดีย์ 1 (ครั้นแล้ว) ได้
ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า.
9. ปูชารเห ปูชยโต พุทฺเธ ยทิ จ สาวเก
ปปญฺจสมติกฺกนฺเต ติณฺณโสกปริทฺทเว
เต ตาทิเส ปูชยโต นิพฺพุเต อกุโตภเย
น สกฺกา ปุญฺญํ สงฺขาตุํ อิเมตฺตมปิ เกนจิ.
" ใคร ๆ ไม่อาจเพื่อจะนับบุญของบุคคลผู้บูชาอยู่
ซึ่งท่านผู้ควรบูชา คือพระพุทธเจ้า หรือว่าพระสาวก
ทั้งหลายด้วย ผู้ก้าวล่วงปปัญจธรรมเครื่องเนิ่นช้าได้
แล้ว ผู้มีความเศร้าโศก และความคร่ำครวญ อันข้าม
พ้นแล้ว (หรือว่า) ของบุคคลผู้บูชาอยู่ ซึ่งท่านผู้ควร
บูชาเช่นนั้นเหล่านั้น ผู้นิพพานแล้ว ไม่มีภัยเเต่ที่
ไหน ๆ ด้วยการนับแม้วิธีไร ๆ ก็ตาม ว่าบุญนี้มี
ประมาณเท่านี้ "
ดังนี้.

แก้อรรถ


บุคคลผู้ควรเพื่อบูชา อธิบายว่า ผู้ควรแล้วเพื่อบูชา ชื่อว่าปูชารห-
บุคคลในพระคาถานั้น. คำว่าของบุคคลผู้บูชาอยู่ซึ่งท่านผู้ควรบูชา ความ