เมนู

8. สุโข พุทฺธานํ อุปฺปาโท สุขา สทฺธมฺมเทสนา
สุขา สงฺฆส ส สามคฺคี สมคฺคานํ ตโป สุโข.
" ความเกิดขึ้นเเห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย เป็น
เหตุนำสุขมา, การแสดงธรรมของสัตบุรุษ เป็นเหตุ
นำสุขมา, ความพร้อมเพรียงของหมู่ เป็นเหตุนำสุข
มา, ความเพียรของชนผู้พร้อมเพรียงกัน เป็นเหตุนำ
สุขมา."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พุทฺธานมุปฺปาโท1 ความว่า พระ-
พุทธเจ้าทั้งหลาย เมื่อทรงอุบัติขึ้น ย่อมยังมหาชนให้ข้ามจากความกันดาร
ทั้งหลาย มีความกันดารคือราคะเป็นต้น เหตุใด. เหตุนั้น ความเกิดขึ้น
แห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลาย จึงชื่อว่าเป็นเหตุนำสุขมา. สัตว์ทั้งหลายผู้มีทุกข์
มีชาติเป็นต้นเป็นธรรม. อาศัยการแสดงธรรมของสัตบุรุษ ย่อมพ้นจาก
ทุกข์ทั้งหลาย มีชาติเป็นต้น เหตุใด. เหตุนั้น การแสดงธรรมของสัตบุรุษ
จึงชื่อว่าเป็นเหตุนำสุขมา. ความเป็นผู้มีจิตเสมอกัน ชื่อว่าสามัคคี. แม้
สามัคคีนั้น ก็ชื่อว่าเป็นเหตุนำสุขมาโดยแท้. อนึ่ง การเรียนพระพุทธพจน์
ก็ดี การรักษาธุดงค์ทั้งหลายก็ดี การทำสมณธรรมก็ดี ของเหล่าชนผู้
พร้อมเพรียงกัน คือผู้มีจิตเป็นอันเดียวกัน เป็นเหตุนำสุขมา เหตุใด,
เหตุนั้น พระศาสดาจึงตรัสว่า " สมคฺคานํ ตโป สุโข. " เพราะเหตุนั้น
นั่นแหละ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสไว้ว่า2 " ภิกษุทั้งหลาย ก็พวก
ภิกษุจักพร้อมเพรียงกันประชุม, จักพร้อมเพรียงกันเลิก (ประชุม), จัก
พร้อมเพรียงกันทำกิจที่ควรทำของหมู่, ตลอดกาลเพียงใด; ภิกษุทั้งหลาย
1. บาลีเป็น พุทฺธานํ อุปฺปาโท. 2. ยัง. สัตตก. 23/21.

ความเจริญฝ่ายเดียว อันภิกษุทั้งหลายพึงหวังได้, ความเสื่อมอันภิกษุ
ทั้งหลายไม่พึงหวังได้ ตลอดกาลเพียงนั้น. "
ในกาลจบเทศนา ภิกษุเป็นอันมากตั้งอยู่ในอรหัตผลแล้ว. เทศนา
ได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องสัมพหุลภิกขุ จบ.

9. เรื่องพระจดีย์ทองของพระกัสสปทสพล [156]


ข้อความเบื้องต้น


พระบรมศาสดาเมื่อเสด็จจาริกไป ทรงปรารภพระเจดีย์ทองของ
พระกัสสปทสพล จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปูชารเห " เป็นต้น.
ความพิสดารว่า พระตถาคตเจ้ามีพระสงฆ์หมู่ใหญ่เป็นพุทธบริวาร
เสด็จออกจากเมืองสาวัตถีแล้วเสด็จไปเมืองพาราณสีโดยลำดับ เสด็จถึง
เทวสถานแห่งหนึ่ง ในที่ใกล้บ้านโตไทยคาม ในระหว่างทาง. พระสุคต-
เจ้าได้ประทับใกล้เทวสถานนั้น ทรงส่งพระธรรมภัณฑาคาริก (คือพระ-
อานนท์ผู้เป็นขุนคลังแห่งพระธรรม) ให้บอกพราหมณ์ซึ่งกำลังทำกสิกรรม
อยู่ในที่ไม่ไกลมาเฝ้า. พราหมณ์นั้นมาแล้วไม่ถวายอภิวาทแด่พระตถาคต
แต่ไหว้เทวสถานนั้นอย่างเดียว แล้วยืนอยู่. แม้พระสุคตเจ้าก็ตรัสว่า
" ดูก่อนพราหมณ์ ท่านสำคัญประเทศนี้ว่าเป็นที่อะไร ? " พราหมณ์จึง
กราบทูลว่า " ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพเจ้าไหว้ด้วยตั้งใจว่า ที่นี้เป็น
เจติยสถานตามประเพณีของพวกข้าพเจ้า. " พระสุคตเจ้าจึงให้พราหมณ์นั้น
ซื่นชมยินดีว่า " ดูก่อนพราหมณ์ ท่านไหว้สถานที่นี้ ได้ทำกรรมที่ดีแล้ว."
ภิกษุทั้งหลายได้สดับพระพุทธดำรัสนั้นแล้วจึงเกิดสงสัยขึ้นว่า " พระผู้มี-
พระภาคเจ้าทรงให้พราหมณ์ชื่นชมยินดีอย่างนี้ ด้วยเหตุอะไรหนอ."
ลำดับนั้น พระตถาคตเจ้า เพื่อทรงปลดเปลื้องความสงสัยของภิกษุเหล่านั้น
จึงตรัสเทศนา ฆฏิการสูตร ในมัชฌิมนิกาย แล้วทรงนิรมิตพระเจดีย์ทอง
ของพระกัสสปทศพล สูงหนึ่งโยชน์ และพระเจดีย์ทองอีกหนึ่งองค์ไว้ใน