เมนู

" บุรุษอาชาไนยหาได้ยาก, (เพราะว่า) บุรุษ
อาชาไนยนั้น ย่อมไม่เกิดในที่ทั่วไป; บุรุษอาชาไนย
นั้นเป็นนักปราชญ์ ย่อมเกิดในตระกูลใด, ตระกูล
นั้น ย่อมถึงความสุข. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุลฺลโภ เป็นต้น ความว่า บุรุษอาชา-
ไนยแล เป็นผู้อันบุคคลหาได้ยาก. คือหาได้ง่ายเหมือนช้างอาชาไนยเป็น
ต้นก็หาไม่. บุรุษอาชาไนยนั้น ย่อมไม่เกิดในที่ทั่วไปคือ ในปัจจันต-
ประเทศ หรือในตระกูลต่ำ, แต่ย่อมเกิดในตระกูลใดตระกูลหนึ่ง บรรดา
ตระกูลกษัตริย์และตระกูลพราหมณ์ ในที่ทำสักการะมีอภิวาทเป็นต้น
แห่งมหาชนในมัชฌิมประเทศเท่านั้น. ก็บุรุษอาชาไนยนั้นเป็นนักปราชญ์
คือเป็นผู้มีปัญญาสูงสุด ได้แก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อจะเกิดอย่างนั้น
ย่อมเกิดในตระกูลใดตระกูลนั้น ย่อมถึงความสุข คือย่อมเป็นตระกูลที่
บรรลุความสุขแท้.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ดังนี้แล.
เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ จบ.

8. เรื่องสัมพหุลภิกขุ [155]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภการสนทนา
ของภิกษุมากรูปด้วยกัน ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สุโข พุทฺธาน-
มุปฺปาโท "
เป็นต้น.

ความเห็นในปัญหาต่าง ๆ กัน


ความพิสดารว่า วันหนึ่ง ภิกษุ 500 รูปนั่งในศาลาเป็นที่บำรุง
สนทนากันว่า " ผู้มีอายุทั้งหลาย อะไรหนอแล เป็นสุขในโลกนี้ ? "
บรรดาภิกษุเหล่านั้น บางพวกกล่าวว่า " ชื่อว่าสุข เช่นกับด้วยสุข
ในราชสมบัติ ย่อมไม่มี. " บางพวกกล่าวว่า " ชื่อว่าสุข เช่นกับด้วยสุข
ในกาม ย่อมไม่มี. " บางพวกกล่าวว่า " ชื่อว่าสุข เช่นกับด้วยสุขอันเกิด
แต่การบริโภคข้าวสาลีและเนื้อ ย่อมไม่มี. "

พระศาสดาทรงแก้ปัญหานั้น


พระศาสดา เสด็จมาสู่ที่ ๆ ภิกษุเหล่านั้นนั่งแล้ว ตรัสถามว่า
" ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งประชุมกันด้วยถ้อยคำอะไรหนอ ? " เมื่อ
ภิกษุเหล่านั้น กราบทูลว่า " ด้วยถ้อยคำชื่อนี้, " จึงตรัสว่า " ภิกษุ
ทั้งหลาย พวกเธอกล่าวอะไร ? ก็ความสุขนี้แม้ทั้งหมด นับเนื่องด้วยทุกข์
ในวัฏฏะทั้งนั้น. แต่เหตุนี้เท่านั้นคือ ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้า การ
ฟังธรรม ความพร้อมเพรียงของหมู่ ความเป็นผู้ปรองดองกัน เป็นสุขใน
โลกนี้ " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-