เมนู

บุคคลพึงเว้นกรรมชั่วทั้งหลายเสีย, เหมือนพ่อ-
ค้ามีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางอันพึงกลัว,
(และ) เหมือนผู้ต้องการจะเป็นอยู่ เว้นยาพิษเสีย
ฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภยํ ได้แก่ อันน่ากลัว, อธิบายว่า
ชื่อว่ามีภัยเฉพาะหน้า เพราะเป็นทางที่พวกโจรซุ่มอยู่. ท่านกล่าวอธิบาย
คำนี้ไว้ว่า " พ่อค้าผู้มีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางที่มีภัยเฉพาะหน้า
ฉันใด. ผู้ต้องการจะเป็นอยู่ ย่อมเว้นยาพิษอันร้ายแรงฉันใด. ภิกษุผู้
บัณฑิต ควรเว้นกรรมชั่วทั้งหลายแม้มีประมาณน้อยเสียฉันนั้น. "
ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้น บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. พระธรรมเทศนาได้เป็นประโยชน์เเม้เเก่มหาชนผู้มา
ประชุม ดังนี้แล.
เรื่องมหาธนวาณิช จบ.

8. เรื่องนายพรานกุกุกฏมิตร [102]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเวฬุวัน ทรงปรารภนายพรานชื่อ
กุกกุฏมิตร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " ปาณิมหิ เจ วโณ นาสฺส "
เป็นต้น.

ธิดาเศรษฐีรักพรานกุกกุฏมิตร


ได้ยินว่า ธิดาเศรษฐีคนหนึ่งในกรุงราชคฤห์ เจริญวัยแล้ว เพื่อ
ประโยชน์แก่การรักษา มารดาบิดาจึงมอบหญิงคนใช้ให้คนหนึ่ง ให้อยู่ใน
ห้องบนปราสาท 7 ชั้น ในเวลาเย็นวันหนึ่ง แลไปในระหว่างถนน
ทางหน้าต่าง เห็นนายพรานคนหนึ่งชื่อกุกกุฏมิตร ผู้ถือบ่วง 500 และ
หลาว 500 ฆ่าเนื้อทั้งหลายเลี้ยงชีพ ฆ่าเนื้อ 500 ตัวแล้วบรรทุกเกวียน
ใหญ่ให้เต็มไปด้วยเนื้อสัตว์เหล่านั้น นั่งบนแอกเกวียนเข้าไปสู่พระนคร
เพื่อต้องการขายเนื้อ เป็นผู้มีจิตปฏิพัทธ์ในนายพรานนั้น ให้บรรณาการ
ในมือหญิงคนใช้ ส่งไปว่า " เจ้าจงไป. จงให้บรรณาการแก่บุรุษนั้น
รู้เวลาไป (ของเขา) แล้วจงมา. "
หญิงคนใช้ไปแล้ว ให้บรรณาการแก่นายพรานนั้นแล้ว ถามว่า
" ท่านจักไปเมื่อไร ?" นายพรานตอบว่า " วันนี้เราขายเนื้อแล้ว จัก
ออกไปโดยประตูชื่อโน้นแต่เช้าเทียว." หญิงคนใช้ฟังคำที่นายพรานนั้น
บอกแล้ว กลับมาบอกแก่นาง.

ธิดาเศรษฐีลอบหนีไปกับนายพราน


ธิดาเศรษฐีรวบรวมผ้าและอาภรณ์อันควรแก่ความเป็นของที่ตน
ควรถือเอา นุ่งผ้าเก่า ถือหม้อออกไปแต่เช้าตรู่เหมือนไปสู่ท่าน้ำกับพวก