เมนู

บุคคลนั้นเกษม, สรณะนั่นอุดม, เพราะบุคคลอาศัย
สรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุํ ได้แก่ พหู แปลว่ามาก. บทว่า
ปพฺพตานิ เป็นต้น ความว่า มนุษย์เหล่านั้นๆ อันภัยนั้นๆ คุกคามแล้ว
อยากพ้นจากภัย หรือปรารถนาลาภทั้งหลาย มีการได้บุตรเป็นต้น ย่อม
ถึงภูเขา มีภูเขาชื่ออิสิคิลิ เวปุลละและเวภาระเป็นต้น ป่าทั้งหลาย มีป่า
มหาวัน ป่าโคสิงคสาลวันเป็นต้น อารามทั้งหลาย มีเวฬุวันและชีวกัมพวัน
เป็นต้น และรุกขเจดีย์ทั้งหลาย มีอุเทนเจดีย์และโคตมเจดีย์เป็นต้นในที่
นั้น ๆ ว่าเป็นที่พึ่ง.
สองบทว่า เนตํ สรณํ ความว่า ก็สรณะแม้ทั้งหมดนั่นไม่เกษม
ไม่อุดม. ด้วยว่าบรรดาสัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นต้น เป็นธรรมดาแม้
ผู้หนึ่ง อาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง มีชาติเป็นต้นได้.
คำว่า โย จ เป็นต้นนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสรณะอันไม่
เกษม ไม่อุดมแล้ว ปรารภไว้เพื่อจะทรงแสดงสรณะอันเกษม อันอุดม.
เนื้อความแห่งคำว่า โย จ เป็นต้นนั้น (ดังต่อไปนี้) :-
ส่วนบุคคลใด เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม อาศัยกัมมัฎ-
ฐาน คือการตามระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้นว่า
" แม้เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ถึงพระพุทธ พระธรรม เเละพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ด้วย
สามารถแห่งความเป็นวัตถุอันประเสริฐ, การถึงสรณะนั้น ของบุคคลแม้
นั้น ยังกำเริบ ยังหวั่นไหว ด้วยกิจทั้งหลายมีการไหว้อัญเดียรถีย์เป็นต้น,

แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงแสดงความที่การถึงสรณะนั้นไม่หวั่นไหว
เมื่อจะทรงประกาศสรณะอันมาแล้วโดยมรรคนั่นแล จึงตรัสว่า ' ย่อมเห็น
อริยสัจ 4 ด้วยปัญญาชอบ.' ด้วยว่าบุคคลใดถึงรัตนะทั้งหลาย มีพระพุทธ-
รัตนะเป็นต้นนั่นว่า เป็นที่พึ่ง ด้วยสามารถแห่งการเห็นสัจจะเหล่านั้น,
สรณะนั้นของบุคคลนั้น เกษมและอุดม. และบุคคลนั้นอาศัยสรณะนั่น
ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะแม้ทั้งสิ้นได้; เพราะเหตุนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า
จึงตรัสว่า เอตํ โข สรณํ เขมํ เป็นต้น
ในกาลจบเทศนา ฤษีเหล่านั้นแม้ทั้งหมด บรรลุพระอรหัตพร้อม
ด้วยปฏิสัมภิทาทั้งหลายแล้ว ถวายบังคมพระศาสดา ทูลขอบรรพชาแล้ว.
พระศาสดา ทรงเหยียดพระหัตถ์ออกจากกลีบจีวร ตรัสว่า " ท่าน
ทั้งหลาย จงเป็นภิกษุมาเถิด จงประพฤติพรหมจรรย์."

ชาวเมืองเข้าใจว่าอัคคิทัตใหญ่กว่าพระศาสดา


ในขณะนั้นเอง ฤษีเหล่านั้นได้เป็นผู้ทรงไว้ซึ่งบริขาร 8 ดุจพระ-
เถระมีพรรษาตั้งร้อย. ก็วันนั้นได้เป็นวันที่ชาวแคว้นอังคะ แคว้นมคธะ
และแคว้นกุรุ แม้ทั้งปวงถือเครื่องสักการะมา. ชนเหล่านั้นถือเครื่อง
สักการะมาแล้ว เห็นฤษีเหล่านั้นแม้ทั้งหมดบวชแล้ว คิดว่า " อัคคิทัต
พราหมณ์ของพวกเราเป็นใหญ่ หรือพระสมณโคดมเป็นใหญ่หนอแล ? "
ได้สำคัญว่า " อัคคิทัต เป็นใหญ่แน่ เพราะเหตุที่พระสมณโคดมมาหา."

อัคคิทัตตัดความสงสัยของชาวเมือง


พระศาสดา ทรงตรวจดูอัธยาศัยของชนเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า
" อัคคิทัต เธอจงตัดความสงสัยของบริษัท. " พระอัคคิทัตนั้นกราบทูลว่า
" แม้ข้าพระองค์ ก็หวังเหตุมีประมาณเพียงนั้นเหมือนกัน " ดังนี้แล้ว