เมนู

บุคคลนั้นเกษม, สรณะนั่นอุดม, เพราะบุคคลอาศัย
สรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุํ ได้แก่ พหู แปลว่ามาก. บทว่า
ปพฺพตานิ เป็นต้น ความว่า มนุษย์เหล่านั้นๆ อันภัยนั้นๆ คุกคามแล้ว
อยากพ้นจากภัย หรือปรารถนาลาภทั้งหลาย มีการได้บุตรเป็นต้น ย่อม
ถึงภูเขา มีภูเขาชื่ออิสิคิลิ เวปุลละและเวภาระเป็นต้น ป่าทั้งหลาย มีป่า
มหาวัน ป่าโคสิงคสาลวันเป็นต้น อารามทั้งหลาย มีเวฬุวันและชีวกัมพวัน
เป็นต้น และรุกขเจดีย์ทั้งหลาย มีอุเทนเจดีย์และโคตมเจดีย์เป็นต้นในที่
นั้น ๆ ว่าเป็นที่พึ่ง.
สองบทว่า เนตํ สรณํ ความว่า ก็สรณะแม้ทั้งหมดนั่นไม่เกษม
ไม่อุดม. ด้วยว่าบรรดาสัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นต้น เป็นธรรมดาแม้
ผู้หนึ่ง อาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง มีชาติเป็นต้นได้.
คำว่า โย จ เป็นต้นนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสรณะอันไม่
เกษม ไม่อุดมแล้ว ปรารภไว้เพื่อจะทรงแสดงสรณะอันเกษม อันอุดม.
เนื้อความแห่งคำว่า โย จ เป็นต้นนั้น (ดังต่อไปนี้) :-
ส่วนบุคคลใด เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม อาศัยกัมมัฎ-
ฐาน คือการตามระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้นว่า
" แม้เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ถึงพระพุทธ พระธรรม เเละพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ด้วย
สามารถแห่งความเป็นวัตถุอันประเสริฐ, การถึงสรณะนั้น ของบุคคลแม้
นั้น ยังกำเริบ ยังหวั่นไหว ด้วยกิจทั้งหลายมีการไหว้อัญเดียรถีย์เป็นต้น,