เมนู

ฤษีเหล่านั้น พูดกันว่า " น่าอัศจรรย์หนอ ! ท่านผู้เจริญ. อานุภาพ
แห่งสมณะ ชื่อเห็นปานนี้. พระสมณะนี้ทรมานนาคราชได้แล้ว " ได้ยืน
ล้อมพระเถระอยู่แล้ว.
ในขณะนั้น พระศาสดาเสด็จมาแล้ว. พระเถระเห็นพระศาสดาแล้ว
ลุกขึ้นถวายบังคม. ลำดับนั้น ฤษีทั้งหลาย พูดกะพระเถระนั้นว่า " สมณะ
นี้ เป็นใหญ่แม้กว่าท่านหรือ ? "
พระเถระ. พระผู้มีพระภาคเจ้านั่น เป็นพระศาสดา, ข้าพเจ้าเป็น
สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านี้.

พวกฤษีชมเชยพระศาสดา


พระศาสดาประทับนั่งบนยอดกองทรายแล้ว. หมู่ฤษีประคองอัญชลี
ชมเชยพระศาสดาว่า " อานุภาพของสาวกยังถึงเพียงนี้, ส่วนอานุภาพ
ของพระศาสดานี้ จักเป็นเช่นไร ? "
พระศาสดาตรัสเรียกอัคคิทัตมาแล้ว ตรัสว่า " อัคติทัต ท่านเมื่อ
ให้โอวาทแก่สาวกและอุปัฏฐากทั้งหลายของท่าน ย่อมกล่าวว่า ' อย่างไร ? '
ให้. "
อัคคิทัต. ข้าพระองค์ให้โอวาทแก่สาวกและอุปัฏฐากเหล่านั้น อย่าง
นี้ว่า ่ท่านทั้งหลาย จงถึงภูเขานั่นว่าเป็นที่พึ่ง, จงถึงป่า อาราม, จงถึง
ต้นไม้ ว่าเป็นที่พึ่ง; ด้วยว่าบุคคลถึงวัตถุทั้งหลาย มีภูเขาเป็นต้นนั้นว่า
เป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.'

สรณะที่เกษมและไม่เกษม


พระศาสดาตรัสว่า " อัคคิทัต บุคคลถึงวัตถุทั้งหลายมีภูเขาเป็นต้น
นั่นว่าเป็นที่พึ่งแล้ว ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ได้เลย, ส่วนบุคคลถึงพระพุทธ

พระธรรม พระสงฆ์ ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมพ้นจากทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นได้ "
ดังนี้แล้ว ได้ทรงภาษิตพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
6. พหุํ เว สรณํ ยนฺติ ปพฺพตานิ วนานิ จ
อารามรุกฺขเจตฺยานิ มนุสฺสา ภยตชฺชิตา
เนตํ โข สรณํ เขมํ เนตํ สรณมุตฺตมํ
เนตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ.
โย จ พุทฺธญฺจ ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ สรณํ คโต
จตฺตาริ อริยสจฺจานิ สมฺมปฺปญฺญาย ปสฺสติ
ทุกฺขํ ทุกฺขสมุปฺปาทํ ทุกฺขสฺส จ อติกฺกมํ
อริยญฺจฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ ทุกฺขูปสมคามินํ
เอตํ โข สรณํ เขมํ เอตํ สรณมุตฺตมํ
เอตํ สรณมาคมฺม สพฺพทุกฺขา ปมุจฺจติ.
" มนุษย์เป็นอันมาก ถูกภัยคุกคามแล้ว ย่อม
ถึงภูเขา ป่า อาราม และรุกขเจดีย์ว่าเป็นที่พึ่ง;
สรณะนั่นแลไม่เกษม, สรณะนั่นไม่อุดม, เพราะ
บุคคลอาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้.
ส่วนบุคคลใดถึงพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์
ว่าเป็นที่พึ่ง ย่อมเห็นอริยสัจ 4 (คือ) ทุกข์
เหตุให้เกิดทุกข์ ความก้าวล่วงทุกข์ และมรรค
มีองค์ 8 อันประเสริฐ ซึ่งยังสัตว์ให้ถึงความสงบ
แห่งทุกข์ ด้วยปัญญาชอบ; สรณะนั่นแลของ

บุคคลนั้นเกษม, สรณะนั่นอุดม, เพราะบุคคลอาศัย
สรณะนั่น ย่อมพ้นจากทุกข์ทั้งปวงได้. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุํ ได้แก่ พหู แปลว่ามาก. บทว่า
ปพฺพตานิ เป็นต้น ความว่า มนุษย์เหล่านั้นๆ อันภัยนั้นๆ คุกคามแล้ว
อยากพ้นจากภัย หรือปรารถนาลาภทั้งหลาย มีการได้บุตรเป็นต้น ย่อม
ถึงภูเขา มีภูเขาชื่ออิสิคิลิ เวปุลละและเวภาระเป็นต้น ป่าทั้งหลาย มีป่า
มหาวัน ป่าโคสิงคสาลวันเป็นต้น อารามทั้งหลาย มีเวฬุวันและชีวกัมพวัน
เป็นต้น และรุกขเจดีย์ทั้งหลาย มีอุเทนเจดีย์และโคตมเจดีย์เป็นต้นในที่
นั้น ๆ ว่าเป็นที่พึ่ง.
สองบทว่า เนตํ สรณํ ความว่า ก็สรณะแม้ทั้งหมดนั่นไม่เกษม
ไม่อุดม. ด้วยว่าบรรดาสัตว์ทั้งหลายผู้มีความเกิดเป็นต้น เป็นธรรมดาแม้
ผู้หนึ่ง อาศัยสรณะนั่น ย่อมไม่พ้นจากทุกข์ทั้งปวง มีชาติเป็นต้นได้.
คำว่า โย จ เป็นต้นนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสรณะอันไม่
เกษม ไม่อุดมแล้ว ปรารภไว้เพื่อจะทรงแสดงสรณะอันเกษม อันอุดม.
เนื้อความแห่งคำว่า โย จ เป็นต้นนั้น (ดังต่อไปนี้) :-
ส่วนบุคคลใด เป็นคฤหัสถ์ก็ตาม เป็นบรรพชิตก็ตาม อาศัยกัมมัฎ-
ฐาน คือการตามระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นต้นว่า
" แม้เพราะอย่างนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันตสัมมา-
สัมพุทธเจ้า ถึงพระพุทธ พระธรรม เเละพระสงฆ์ว่าเป็นที่พึ่ง ด้วย
สามารถแห่งความเป็นวัตถุอันประเสริฐ, การถึงสรณะนั้น ของบุคคลแม้
นั้น ยังกำเริบ ยังหวั่นไหว ด้วยกิจทั้งหลายมีการไหว้อัญเดียรถีย์เป็นต้น,