เมนู

แหละ " ดังนี้แล้ว ไปสู่สำนักของภิกษุทั้งหลาย เรียนว่า " ท่านผู้เจริญ
ได้ยินว่า พวกโจรประสงค์จะปล้นผม ซุ่มอยู่ริมหนทาง, ครั้นได้ยินว่า
บัดนี้ พ่อค้าจักกลับมาอีก.' (จึงไป) ซุ่มอยู่ริมหนทางนอกนี้, ผมจักไม่ไป
ทั้งข้างโน้นทั้งข้างนี้ จักพักอยู่ที่นี่แหละชั่วคราว; ท่านผู้เจริญทั้งหลาย
ประสงค์จะอยู่ที่นี่ก็จงอยู่. ประสงค์จะไปก็จงไปตามความพอใจของตน. "

ภิกษุลาพ่อค้ากลับไปเมืองสาวัตถี


พวกภิกษุกล่าวว่า " เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกฉันจักกลับ. " อำลา
พ่อค้าแล้ว ในวันรุ่งขึ้น ไปสู่เมืองสาวัตถี ถวายบังคมพระศาสดานั่งอยู่
แล้ว.

สิ่งที่ควรเว้น


พระศาสดา ตรัสถามว่า " ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอไม่ไปกับพ่อค้า
มีทรัพย์มากหรือ ? " เมื่อพวกภิกษุนั้นกราบทูลว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า
พวกโจรซุ่มอยู่ริมทางทั้งสองข้าง เพื่อต้องการปล้นพ่อค้าผู้มีทรัพย์มาก.
เพราะเหตุนั้น เขาจึงพักอยู่ในที่นั้นแล, ส่วนพวกข้าพระองค์ ลาเขากลับ
มา " ตรัสว่า " ภิกษุทั้งหลาย พ่อค้าผู้มีทรัพย์มาก ย่อมเว้นทาง (ที่มีภัย)
เพราะความที่พวกโจรมีอยู่, บุรุษแม้ใคร่จะเป็นอยู่ ย่อมเว้น ยาพิษอันร้าย
แรง. แม้ภิกษุทราบว่า 'ภพ 3 เป็นเช่นกับหนทางที่พวกโจรซุ่มอยู่.่
แล้วเว้นกรรมชั่วเสียควร.' ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม
จึงตรัสพระคาถานี้ว่า
7. วาณิโชว ภยํ มคฺคํ อปฺปสตฺโถ มหทฺธโน
วิสํ ชีวิตุกาโมว ปาปานิ ปริวชฺชเย.

บุคคลพึงเว้นกรรมชั่วทั้งหลายเสีย, เหมือนพ่อ-
ค้ามีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางอันพึงกลัว,
(และ) เหมือนผู้ต้องการจะเป็นอยู่ เว้นยาพิษเสีย
ฉะนั้น."

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ภยํ ได้แก่ อันน่ากลัว, อธิบายว่า
ชื่อว่ามีภัยเฉพาะหน้า เพราะเป็นทางที่พวกโจรซุ่มอยู่. ท่านกล่าวอธิบาย
คำนี้ไว้ว่า " พ่อค้าผู้มีทรัพย์มาก มีพวกน้อย เว้นทางที่มีภัยเฉพาะหน้า
ฉันใด. ผู้ต้องการจะเป็นอยู่ ย่อมเว้นยาพิษอันร้ายแรงฉันใด. ภิกษุผู้
บัณฑิต ควรเว้นกรรมชั่วทั้งหลายแม้มีประมาณน้อยเสียฉันนั้น. "
ในกาลจบเทศนา ภิกษุเหล่านั้น บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย
ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย. พระธรรมเทศนาได้เป็นประโยชน์เเม้เเก่มหาชนผู้มา
ประชุม ดังนี้แล.
เรื่องมหาธนวาณิช จบ.