เมนู

กามทั้งหลายแม้ที่เป็นทิพย์, พระสาวกของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นผู้ยินดีในความสิ้นไปแห่ง
ตัณหา. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กหาปณวสฺเสน ความว่า บัณฑิตนั้น
ปรบมือแล้ว ยังฝนคือรัตนะ 7 ประการให้ตกลงได้, ฝนคือรัตนะ 7
ประการนั้น ตรัสให้ชื่อว่า กหาปณวสฺสํ ในพระคาถานี้, ก็ขึ้นชื่อว่า
ความอิ่มในวัตถุกามและกิเลสกาม ย่อมไม่มี แม้เพราะฝนคือรัตนะทั้ง 7
ประการนั้น; ความทะยานอยากนั่น เต็มได้ยากด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า อปฺปสฺสาทา คือ ชื่อว่ามีสุขนิดหน่อย เพราะค่าที่กามมี
อุปมาเหมือนความฝันเป็นต้น.
บทว่า ทุกฺขา คือ ชื่อว่ามีทุกข์มากแท้ ด้วยสามารถแห่งทุกข์อัน
มาในทุกขักขันธสูตร1เป็นต้น.
บทว่า อิติ วิญฺญาย คือ รู้กามทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยอาการ
อย่างนี้.
บทว่า อปิ ทิพฺเพสุ ความว่า ก็ถ้าใคร ๆ พึงเธอเชิญด้วยกามอัน
เข้าไปสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย. ถึงอย่างนั้นท่านย่อมไม่ประสบความยินดี
ในกามเหล่านั้นเลย เหมือนท่านพระสมิทธิ ที่ถูกเทวดาเธอเชื้อเชิญฉะนั้น.
บทว่า ตณฺหกฺขยรโต ความว่า เป็นผู้ยินดียิ่ง ในพระอรหัตและ
ในพระนิพพาน คือปรารถนาพระอรหัตและพระนิพพานอยู่.
1. ม. มู. มหาทุกขักขันธสูตร 12/166. จูฬทุกขักขันธสูตร 12/179.

ภิกษุโยคาวจรผู้เกิดในที่สุดแห่งการฟังธรรม ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ทรงแสดงแล้ว ชื่อว่าพระสาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า.
ในกาลจบเทศนา ภิกษุนั้นดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล. เทศนาได้มี
ประโยชน์แม้แก่บริษัทที่ประชุมกันแล้ว ดังนี้แล.
เรื่องภิกษุผู้ไม่ยินดี จบ.

6. เรื่องปุโรหิตชื่ออัคคิทัต. [153]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา (เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน) ประทับนั่งบนกอง
ทราย ทรงปรารภปุโรหิตของพระเจ้าโกศล ชื่ออัคคิทัต ตรัสพระธรรม-
เทศนานี้ว่า " พหุํ เว สรณํ ยนฺติ " เป็นต้น.

อัคคิทัตได้เป็นปุโรหิตถึง 2 รัชกาล


ดังได้สดับมา อัคคิทัตนั้น ได้เป็นปุโรหิตของพระเจ้ามหาโกศล.
ครั้นเมื่อพระราชบิดาสวรรคตแล้ว พระราชาทรงพระนามว่า ปเสนทิโกศล
ทรงดำริว่า " ผู้นี้เป็นปุโรหิตแห่งพระชนกของเรา " จึงตั้งเขาไว้ใน
ตำแหน่งนั้นนั่นแล ด้วยความเคารพ ในเวลาเขามาสู่ที่บำรุงของพระองค์
ทรงทำการเสด็จลุกรับ. รับสั่งให้พระราชทานอาสนะเสมอกัน ด้วยพระ-
ดำรัสว่า " อาจารย์ เชิญนั่งบนอาสนะนี้. "

อัคคิทัตออกบวชนอกพระพุทธศาสนา


อัคคิทัตนั้น คิดว่า " พระราชานี้ทรงทำความเคารพในเราอย่าง
เหลือเกิน, แต่เราก็ไม่อาจเอาใจของพระราชาทั้งหลายได้ตลอดกาลเป็น
นิตย์เทียว; อนึ่ง พระราชาก็เยาว์วัย ยังหนุ่มน้อย, ชื่อว่าความเป็นพระ-
ราชากับด้วยคนผู้มีวัยเสมอกันนั่นแล เป็นเหตุให้เกิดสุข; ส่วนเราเป็นคน
แก่, เราควรบวช " เขากราบทูลให้พระราชาพระราชทานพระบรมราชา-
นุญาตการบรรพชาแล้ว ให้คนตีกลองเที่ยวไปในพระนครแล้ว สละทรัพย์
ของตนทั้งหมดในเพราะการให้ทานเป็นใหญ่ตลอด 7 วันแล้ว บวชเป็น
นักบวชภายนอก. บุรุษหมื่นหนึ่งอาศัยอัคคิทัตนั้น บวชตามแล้ว. อัคคิทัต