เมนู

กามทั้งหลายแม้ที่เป็นทิพย์, พระสาวกของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นผู้ยินดีในความสิ้นไปแห่ง
ตัณหา. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กหาปณวสฺเสน ความว่า บัณฑิตนั้น
ปรบมือแล้ว ยังฝนคือรัตนะ 7 ประการให้ตกลงได้, ฝนคือรัตนะ 7
ประการนั้น ตรัสให้ชื่อว่า กหาปณวสฺสํ ในพระคาถานี้, ก็ขึ้นชื่อว่า
ความอิ่มในวัตถุกามและกิเลสกาม ย่อมไม่มี แม้เพราะฝนคือรัตนะทั้ง 7
ประการนั้น; ความทะยานอยากนั่น เต็มได้ยากด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า อปฺปสฺสาทา คือ ชื่อว่ามีสุขนิดหน่อย เพราะค่าที่กามมี
อุปมาเหมือนความฝันเป็นต้น.
บทว่า ทุกฺขา คือ ชื่อว่ามีทุกข์มากแท้ ด้วยสามารถแห่งทุกข์อัน
มาในทุกขักขันธสูตร1เป็นต้น.
บทว่า อิติ วิญฺญาย คือ รู้กามทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยอาการ
อย่างนี้.
บทว่า อปิ ทิพฺเพสุ ความว่า ก็ถ้าใคร ๆ พึงเธอเชิญด้วยกามอัน
เข้าไปสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย. ถึงอย่างนั้นท่านย่อมไม่ประสบความยินดี
ในกามเหล่านั้นเลย เหมือนท่านพระสมิทธิ ที่ถูกเทวดาเธอเชื้อเชิญฉะนั้น.
บทว่า ตณฺหกฺขยรโต ความว่า เป็นผู้ยินดียิ่ง ในพระอรหัตและ
ในพระนิพพาน คือปรารถนาพระอรหัตและพระนิพพานอยู่.
1. ม. มู. มหาทุกขักขันธสูตร 12/166. จูฬทุกขักขันธสูตร 12/179.