เมนู

ผอมเหลือง, ครั้งนั้น ภิกษุหนุ่มและสามเณรถามเธอว่า " นี่อะไรกัน ?
เมื่อเธอตอบว่า " ผมเป็นผู้กระสัน " จึงพากันเรียนแก่อาจารย์และ
อุปัชฌาย์. ทีนั้นอาจารย์และอุปัชฌาย์เหล่านั้น จึงนำเธอไปยังสำนักของ
พระศาสดา แสดงแด่พระศาสดาแล้ว.
พระศาสดาตรัสว่า " ภิกษุ ได้ยินว่า เธอกระสันจริงหรือ ? " เมื่อ
เธอกราบทูลรับว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า " ตรัสว่า " เพราะเหตุไร ?
เธอจึงได้ทำอย่างนั้น. ก็อะไร ๆที่เป็นปัจจัยแห่งการเลี้ยงชีพของเธอมีอยู่
หรือ ?"
ภิกษุ. มี พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. อะไร ? ของเธอมีอยู่.
ภิกษุ. กหาปณะ 100 พระเจ้าข้า.
พระศาสดา. ถ้ากระนั้น เธอจงนำก้อนกรวดมา แม้เพียงเล็กน้อย
ก่อน. เธอลองนับดูก็จักรู้ได้ว่า ' เธออาจเลี้ยงชีวิตได้ด้วยกหาปณะจำนวน
เท่านั้นหรือ. หรือไม่อาจเลี้ยงชีวิตได้.'
ภิกษุหนุ่มนั้น จึงนำก้อนกรวดมา.

ความอยากให้เต็มได้ยาก


ทีนั้น พระศาสดาจึงตรัสกะเธอว่า " เธอจงตั้งไว้ 50 เพื่อประโยชน์
แก่เครื่องบริโภคก่อน, ตั้งไว้ 28 เพื่อประโยชน์แก่โค 2 ตัว, ตั้งไว้ชื่อ
มีประมาณเท่านี้ เพื่อประโยชน์แก่พืช, เพื่อประโยชน์แก่แอกและไถ,
เพื่อประโยชน์แก่จอบ, เพื่อประโยชน์เเก่พร้าและขวาน. " เมื่อเธอนับ
อยู่ด้วยอาการอย่างนี้ กหาปณะ 100 นั้น ย่อมไม่เพียงพอ. ครั้งนั้น

พระศาสดาจึงตรัสกะเธอว่า " ภิกษุ กหาปณะของเธอมีน้อยนัก, เธออาศัย
กหาปณะเหล่านั้น จักให้ความทะยานอยากเต็มขึ้นได้อย่างไร ? ได้ยินว่า
ในอดีตกาล บัณฑิตทั้งหลายครองจักรพรรดิราชสมบัติ สามารถจะยัง
ฝนคือรัตนะ 7 ประการให้ตกลงมาเพียงสะเอวในที่ประมาณ 12 โยชน์
ด้วยอาการสักว่าปรบมือ แม้ครองราชสมบัติในเทวโลก ตลอดกาลที่
ท้าวสักกะ 36 พระองค์จุติไป ในเวลาตาย (ก็) ไม่ยังความอยากให้เต็ม
ได้เลย ได้ทำกาละแล้ว " อันภิกษุนั้นทูลวิงวอนแล้ว ทรงนำอดีตนิทาน
มา ยังมันธาตุราชชาดก1ให้พิสดารแล้ว ในลำดับแห่งพระคาถานี้ว่า :-
" พระจันทร์และพระอาทิตย์ (ย่อมหมุนเวียนไป)
ส่องทิศให้สว่างไสวอยู่กำหนดเพียงใด, สัตว์ทั้งหลาย
ผู้อาศัยแผ่นดินทั้งหมดเทียว ย่อมเป็นทาสของพระ-
เจ้ามันธาตุราชกำหนดเพียงนั้น."

ได้ทรงภาษิต 2 พระคาถานี้ว่า :-
5. น กหาปณวสฺเสน ติตฺติ กาเมสุ วิชฺชติ
อปฺปสฺสาทา ทุกฺขา กามา อิติ วิญฺญาย ปณฺฑิโต
อปิ ทิพฺเพสุ กาเมสุ รตึ โส นาธิคจฺฉติ
ตณฺหกฺขยรโต โหติ สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก.
" ความอิ่มในกามทั้งหลาย ย่อมไม่มีเพราะฝน
คือกหาปณะ, กามทั้งหลาย มีรสอร่อยน้อย ทุกข์
มาก บัณฑิตรู้แจ้งดังนี้แล้ว ย่อมไม่ถึงความยินดีใน

1. ขุ. ชา. 27/200. อรรถกถา. 2/47.

กามทั้งหลายแม้ที่เป็นทิพย์, พระสาวกของพระสัมมา
สัมพุทธเจ้า ย่อมเป็นผู้ยินดีในความสิ้นไปแห่ง
ตัณหา. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กหาปณวสฺเสน ความว่า บัณฑิตนั้น
ปรบมือแล้ว ยังฝนคือรัตนะ 7 ประการให้ตกลงได้, ฝนคือรัตนะ 7
ประการนั้น ตรัสให้ชื่อว่า กหาปณวสฺสํ ในพระคาถานี้, ก็ขึ้นชื่อว่า
ความอิ่มในวัตถุกามและกิเลสกาม ย่อมไม่มี แม้เพราะฝนคือรัตนะทั้ง 7
ประการนั้น; ความทะยานอยากนั่น เต็มได้ยากด้วยอาการอย่างนี้.
บทว่า อปฺปสฺสาทา คือ ชื่อว่ามีสุขนิดหน่อย เพราะค่าที่กามมี
อุปมาเหมือนความฝันเป็นต้น.
บทว่า ทุกฺขา คือ ชื่อว่ามีทุกข์มากแท้ ด้วยสามารถแห่งทุกข์อัน
มาในทุกขักขันธสูตร1เป็นต้น.
บทว่า อิติ วิญฺญาย คือ รู้กามทั้งหลายเหล่านั้น ด้วยอาการ
อย่างนี้.
บทว่า อปิ ทิพฺเพสุ ความว่า ก็ถ้าใคร ๆ พึงเธอเชิญด้วยกามอัน
เข้าไปสำเร็จแก่เทวดาทั้งหลาย. ถึงอย่างนั้นท่านย่อมไม่ประสบความยินดี
ในกามเหล่านั้นเลย เหมือนท่านพระสมิทธิ ที่ถูกเทวดาเธอเชื้อเชิญฉะนั้น.
บทว่า ตณฺหกฺขยรโต ความว่า เป็นผู้ยินดียิ่ง ในพระอรหัตและ
ในพระนิพพาน คือปรารถนาพระอรหัตและพระนิพพานอยู่.
1. ม. มู. มหาทุกขักขันธสูตร 12/166. จูฬทุกขักขันธสูตร 12/179.