เมนู

ในภัตตาหาร 1 ที่นอนที่นั่งอันสงัด 1 ความประกอบ
โดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต 1 นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพปาปสฺส ได้แก่ อกุศลกรรมทุก
ชนิด. การยังกุศลให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ออกบวชจนถึงพระอรหัตมรรค และ
การยังกุศลที่ตนให้เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ ชื่อว่า อุปสมฺปทา. การยังจิตของ
ตนให้ผ่องใสจากนิวรณ์ทั้ง 5 ชื่อว่า สจิตฺตปริโยทปนํ.
บาทพระคาถาว่า เอตํ พุทฺธานสาสนํ1 โดยอรรถว่า นี้เป็นวาจา
เครื่องพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์.
บทว่า ขนฺติ ความว่า ขึ้นชื่อว่าความอดทน กล่าวคือ ความอด
กลั้นนี้ เป็นตบะอย่างยอดยิ่ง คืออย่างสูงสุดในพระศาสนานี้.
บาทพระคาถาว่า นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา ความว่า พุทธ-
บุคคลทั้ง 3 จำพวกนี้ คือ พระพุทธะจำพวก 1 พระปัจเจกพุทธะจำพวก 1
พระอนุพุทธะจำพวก 1 ย่อมกล่าวพระนิพพานว่า " เป็นธรรมชาติอัน
สูงสุด. "
บทว่า น หิ ปพฺพชิโต โดยความว่า บุคคลผู้ที่ล้างผลาญบีบคั้น
สัตว์อื่นอยู่ ด้วยเครื่องประหารต่าง ๆ มีฝ่ามือเป็นต้น ชื่อว่า ผู้ทำร้ายผู้อื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต. บทว่า สมโณ ความว่า บุคคลผู้ยังเบียดเบียนสัตว์
อื่นอยู่ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะด้วยเหมือนกัน.
การไม่ติเตียนเอง และการไม่ยังผู้อื่นให้ติเตียน ชื่อว่า อนูปวาโท. การ
ไม่ทำร้ายเอง และการไม่ใช้ผู้อื่นให้ทำร้าย ชื่อว่า อนูปฆาโต.
1. บาลี เป็น พุทฺธาน สาสนํ



.

บทว่า ปาติโมกฺเข ได้แก่ ศีลที่เป็นประธาน. การปิด ชื่อว่า สํวโร.
ความเป็นผู้รู้จักพอดี คือความรู้จักประมาณ ชื่อว่า มตฺตญฺญุตา. บทว่า
ปนฺติ ได้แก่ เงียบ. บทว่า อธิจิตฺเต ความว่า ในจิตอันยิ่ง กล่าวคือ
จิตที่สหรคตด้วยสมาบัติ 8. การกระทำความเพียร ชื่อว่า อาโยโค. บทว่า
เอตํ ความว่า นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์. ก็ในพระ-
คาถานี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศีลอันเป็นไปทางวาจา ด้วยอนูปวาท
ตรัสศีลอันเป็นไปทางกาย ด้วยอนูปฆาต. ตรัสปาติโมกขสีลกับอินทริย-
สังวรสีล ด้วยคำนี้ว่า ปาติโมกฺเข จ สํวโร. ตรัสอาชีวปาริสุทธิสีลและ
ปัจจัยสันนิสิตสีล ด้วยมัตตัญญุตา, ตรัสเสนาสนะอันสัปปายะ ด้วยปันต-
เสนาสนะ, ตรัสสมาบัติ 8 ด้วยอธิจิต. ด้วยประการนี้ สิกขาแม้ทั้ง 3
ย่อมเป็นอันพระองค์ตรัสแล้วด้วยพระคาถานี้ทีเดียว ฉะนี้แล.
ในกาลจบเทศนา ชนเป็นอันมากบรรลุอริยผลทั้งหลาย มีโสดา-
ปัตติผลเป็นต้น ฉะนี้แล.
เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ จบ.

5. เรื่องภิกษุผู้ไม่ยินดี [125]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุผู้ไม่ยินดี
(ในพรหมจรรย์) รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " น กหาปณวสฺเสน "
เป็นต้น.

ภิกษุหนุ่มกระสันอยากสึก


ได้ยินว่า ภิกษุนั้นบรรพชาแล้วในศาสนา ได้อุปสมบทแล้ว อัน
พระอุปัชฌาย์ส่งไป ด้วยคำว่า " เธอจงไปที่ชื่อโน้นแล้ว เรียนอุทเทส "
ได้ไปในที่นั้นแล้ว. ครั้งนั้นโรคเกิดขึ้นแก่บิดาของท่าน เขาเป็นผู้ใคร่จะ
ได้เห็นบุตร (แต่) ไม่ได้ใคร ๆ ที่สามารถจะเรียกบุตรนั้นมาได้ จึงบ่น
เพ้ออยู่ เพราะความโศกถึงบุตรนั่นแล เป็นผู้มีความตายอันใกล้เข้ามา
แล้ว จึงสั่งน้องชายว่า " เจ้าพึงทำทรัพย์นี้ให้เป็นค่าบาตรและจีวรแก่บุตร
ของเรา " แล้วให้ทรัพย์ 100 กหาปณะไว้ในมือของน้องชาย ได้ทำ
กาละแล้ว.
ในกาลที่ภิกษุหนุ่มมาแล้ว น้องชายนั้น จึงหมอบลงแทบเท้าร้องไห้
กลิ้งเกลือกไปมา พลางกล่าวว่า " ท่านผู้เจริญ บิดาของท่านทั้งหลาย
บ่นถึงอยู่เทียว ทำกาละแล้ว. ก็บิดานั้นได้มอบกหาปณะไว้ 100 ในมือ
ของผม. ผมจักทำอะไร ? ด้วยทรัพย์นั้น. " ภิกษุหนุ่มจึงห้ามว่า " เรา
ไม่มีความต้องการด้วยกหาปณะ " ในกาลต่อมาจึงคิดว่า " ประโยชน์อะไร
ของเรา ด้วยการเที่ยวไปบิณฑบาตในตระกูลอื่นเลี้ยงชีพ, เราอาจเพื่อจะ
อาศัยกหาปณะ 100 นั้นเลี้ยงชีพได้. เราจักสึกละ. " เธอถูกความไม่ยินดี
บีบคั้นแล้ว จึงสละการสาธยายและพระกัมมัฏฐาน ได้เป็นเหมือนผู้มีโรค