เมนู

4. เรื่องปัญหาของพระอานนทเถระ [151]


ข้อความเบื้อต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภปัญหาของ
พระอานนทเถระ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " สพฺพปาปสฺส อกรณํ "
เป็นต้น.

กาลแห่งพระพุทธเจ้าต่างกัน แต่คำสอนเหมือนกัน


ได้ยินว่า พระเถระนั่งในที่พักกลางวัน คิดว่า " พระศาสดาตรัส
บอกเหตุแห่งพระพุทธเจ้า 7 พระองค์ทุกอย่าง คือ พระชนนีและพระ-
ชนก การกำหนดพระชนมายุ ไม้เป็นที่ตรัสรู้ สาวกสันนิบาต อัครสาวก
อุปัฏฐาก. แต่อุโบสถมิได้ตรัสบอกไว้; อุโบสถแห่งพระพุทธเจ้าแม้
เหล่านั้นเหมือนอย่างนี้ หรือเป็นอย่างอื่น. " ท่านจึงเข้าไปเฝ้าพระศาสดา
แล้วทูลถามเนื้อความนั้น. ก็เพระความแตกต่างแห่งกาลแห่งพระพุทธเจ้า
เหล่านั้นเท่านั้น ได้มีแล้ว, ความแตกต่างแห่งคาถาไม่มี; ด้วยว่า พระ-
สัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าวิปัสสี ได้ทรงกระทำอุโบสถในทุก ๆ 7 ปี,
เพราะพระโอวาทที่พระองค์ประทานแล้วในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้7ปี,
พระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนามว่าสิขีและเวสสภู ทรงกระทำอุโบสถใน
ทุก ๆ 6 ปี. (เพราะพระโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้ง 2 พระองค์นั้น
ทรงประทานในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้ 6 ปี) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระนามว่ากกุสันธะ และ โกนาคมนะ ได้ทรงกระทำอุโบสถทุก ๆ ปี,
(เพราะพระโอวาทที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า 2 พระองค์นั้น ทรงประทาน
ในวันหนึ่งเท่านั้น พอไปได้ปีหนึ่ง ๆ); พระกัสสปทสพล ได้ทรงกระทำ
อุโบสถทุก ๆ 6 เดือน, เพราะพระโอวาทที่พระองค์ทรงประทานในวัน

หนึ่ง พอไปได้ 6 เดือน; ฉะนั้น พระศาสดาจึงตรัสความแตกต่างกัน
เเห่งกาลนี้ของพระพุทธเจ้าเหล่านั้นแล้ว ตรัสว่า " ส่วนโอวาทคาถาของ
พระพุทธเจ้าเหล่านั้น เป็นอย่างนี้นี่แหละ." ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงกระทำ
อุโบสถแห่งพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ ซึ่งเป็นอันเดียวกันทั้งนั้นให้
แจ่มแจ้ง จึงได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
4. สพฺพปาปสฺส อกรณํ กุสลสฺสูปสมฺปทา
สจิตฺตปริโยทปนํ เอตํ พุทฺธาน สาสนํ.
ขนฺตี ปรมํ ตโป ตีติกฺขา
นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา
น หิ ปพฺพชิโต ปรูปฆาตี
สมโณ โหติ ปรํ วิเหฐยนฺโต.
อนูปวาโท อนูปฆาโต ปาติโมกฺเข จ สํวโร
มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสฺมึ ปนฺตญฺจ สยนาสนํ
อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธาน สาสนํ.
" ความไม่ทำบาปทั้งสิ้น ความยังกุศลให้ถึง
พร้อม ความทำจิตของตนให้ผ่องใส นี่เป็นคำสอน
ของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย. ความอดทนคือความอด
กลั้น เป็นธรรมเผาบาปอย่างยิ่ง ท่านผู้รู้ทั้งหลาย
ย่อมกล่าวพระนิพพานว่าเป็นเยี่ยม, ผู้ทำร้ายผู้อื่น
ไม่ชื่อว่าบรรพชิต ผู้เบียดเบียนผู้อื่นอยู่ ไม่ชื่อว่าเป็น
สมณะ. ความไม่กล่าวร้าย 1 ความไม่ทำร้าย 1
ความสำรวมในพระปาติโมกข์ 1 ความเป็นผู้รู้ประมาณ

ในภัตตาหาร 1 ที่นอนที่นั่งอันสงัด 1 ความประกอบ
โดยเอื้อเฟื้อในอธิจิต 1 นี่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า
ทั้งหลาย. "

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สพฺพปาปสฺส ได้แก่ อกุศลกรรมทุก
ชนิด. การยังกุศลให้เกิดขึ้น ตั้งแต่ออกบวชจนถึงพระอรหัตมรรค และ
การยังกุศลที่ตนให้เกิดขึ้นแล้วให้เจริญ ชื่อว่า อุปสมฺปทา. การยังจิตของ
ตนให้ผ่องใสจากนิวรณ์ทั้ง 5 ชื่อว่า สจิตฺตปริโยทปนํ.
บาทพระคาถาว่า เอตํ พุทฺธานสาสนํ1 โดยอรรถว่า นี้เป็นวาจา
เครื่องพร่ำสอนของพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์.
บทว่า ขนฺติ ความว่า ขึ้นชื่อว่าความอดทน กล่าวคือ ความอด
กลั้นนี้ เป็นตบะอย่างยอดยิ่ง คืออย่างสูงสุดในพระศาสนานี้.
บาทพระคาถาว่า นิพฺพานํ ปรมํ วทนฺติ พุทฺธา ความว่า พุทธ-
บุคคลทั้ง 3 จำพวกนี้ คือ พระพุทธะจำพวก 1 พระปัจเจกพุทธะจำพวก 1
พระอนุพุทธะจำพวก 1 ย่อมกล่าวพระนิพพานว่า " เป็นธรรมชาติอัน
สูงสุด. "
บทว่า น หิ ปพฺพชิโต โดยความว่า บุคคลผู้ที่ล้างผลาญบีบคั้น
สัตว์อื่นอยู่ ด้วยเครื่องประหารต่าง ๆ มีฝ่ามือเป็นต้น ชื่อว่า ผู้ทำร้ายผู้อื่น
ไม่ชื่อว่าเป็นบรรพชิต. บทว่า สมโณ ความว่า บุคคลผู้ยังเบียดเบียนสัตว์
อื่นอยู่ โดยนัยที่กล่าวแล้วนั่นแหละ ไม่ชื่อว่าเป็นสมณะด้วยเหมือนกัน.
การไม่ติเตียนเอง และการไม่ยังผู้อื่นให้ติเตียน ชื่อว่า อนูปวาโท. การ
ไม่ทำร้ายเอง และการไม่ใช้ผู้อื่นให้ทำร้าย ชื่อว่า อนูปฆาโต.
1. บาลี เป็น พุทฺธาน สาสนํ



.