เมนู

มณูปนิชฌาน ด้วยการนึกการเข้าการอธิษฐานการออกและการพิจารณา.
บรรพชา อันผู้ศึกษาไม่พึงถือว่า " เนกขัมมะ " ในคำว่า เนขมฺมูปสเม
รตา
นี้. ก็คำ " เนกขัมมะ " นั่น พระองค์ตรัส หมายเอาความยินดี
ในนิพพาน อันเป็นที่เข้าไปสงบกิเลส. บทว่า เทวาปิ ความว่า เทวดา
และมนุษย์ทั้งหลายย่อมกระหยิ่ม คือปรารถนาต่อพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น.
บทว่า สตีมฺตํ ความว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ปรารถนาความเป็น
พระพุทธเจ้าว่า " น่าชมจริงหนอ แม้เราพึงเป็นพระพุทธเจ้า " ดังนี้
ชื่อว่าย่อมกระหยิ่มต่อพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีพระคุณเห็นปานนี้ ผู้
ประกอบพร้อมแล้วด้วยสติ.
ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ประมาณ 30 โกฏิ.
ภิกษุ 500 สัทธิวิหาริกของพระเถระ ตั้งอยู่แล้วในพระอรหัต.

สังกัสสนครเป็นที่เสด็จลงจากดาวดึงส์


ได้ยินว่า การทำยมกปาฏิหาริย์แล้วจำพรรษาในเทวโลก แล้วเสด็จ
ลงที่ประตูสังกัสสนคร อันพระพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ไม่ทรงละแล้วแล.
ก็สถานที่พระบาทเบื้องขวาประดิษฐาน ณ ที่เสด็จลงนั้น มีนามว่าอจล-
เจติยสถาน. พระศาสดาประทับยืน ณ ที่นั้น ตรัสถามปัญหาในวิสัยของ
ปุถุชนเป็นต้น. พวกปุถุชนแก้ปัญหาได้ในวิสัยของตนเท่านั้น ไม่สามารถ
จะแก้ปัญหาในวิสัยของพระโสดาบันได้. พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระ-
โสดาบันเป็นต้นก็เหมือนกัน ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระอริย-
บุคคลทั้งหลาย มีพระสกทาคามีเป็นต้น. พระมหาสาวกที่เหลือไม่สามารถจะ
แก้ปัญหาในวิสัยของพระมหาโมคคัลลานะ. พระมหาโมคคัลลานะไม่

สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระสารีบุตรเถระได้. แม้พระสารีบุตรเถระ
ก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระพุทธเจ้าได้เหมือนกัน. พระศาสดา
ทรงแลดูทิศทั้งปวง ตั้งต้นแต่ปาจีนทิศ. สถานที่ทั้งปวง ได้มีเนินเป็นอัน
เดียวกันทีเดียว เทวดาและมนุษย์ใน 8 ทิศ และเทวดาเบื้องบนจด
พรหมโลก และยักษ์นาคและสุบรรณผู้อยู่ ณ ภาคพื้นเบื้องต่ำ ประคอง
อัญชลีกราบทูลว่า " พระเจ้าข้า ชื่อว่าผู้วิสัชนาปัญหานี้มิได้มีในสมาคมนี้,
ขอพระองค์โปรดใคร่ครวญในสมาคมนี้ทีเดียว."

พระสารีบุตรเถระมีปัญญามาก


พระศาสดาทรงดำริว่า " สารีบุตรย่อมลำบาก. ด้วยว่าเธอได้ฟัง
ปัญหาที่เราถามแล้วในพุทธวิสัยนี้ว่า :-
" ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เธอมีปัญญารักษาตน
อันเราถามถึงความเป็นไปของท่าน ผู้มีธรรมอันนับ
พร้อมแล้วทั้งหลาย และพระเสขะทั้งหลาย ซึ่งมี
อยู่มากในโลกนี้ จงบอกความเป็นไปนั้นแก่เรา "

ดังนี้,เป็นผู้หมดความสงสัยในปัญหาว่า ' พระศาสดาย่อมตรัสถามถึงปฏิปทา
เป็นที่มา (มรรคปฏิปทา) ของพระเสขะและอเสขะกะเรา ' ดังนี้ก็จริง,
ถึงอย่างนั้นก็ยังหวังอัธยาศัยของเราอยู่ว่า ' เราเมื่อกล่าวปฏิปทานี้ด้วยมุข
ไหน ๆ ในธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น จึงจักอาจถือเอาอัธยาศัยของ
พระศาสดาได้; สารีบุตรนั้นเมื่อเราไม่ให้นัย จักไม่อาจแก้ได้, เรา
จักให้นัยแก่เธอ " เมื่อจะทรงแสดงนัย ตรัสว่า " สารีบุตร เธอจง