เมนู

อุบาสกนั้นแล้วกล่าวว่า " นาย ขอนายจงอดโทษให้ผมด้วย," และถูก
อุบาสกนั้นถามว่า "นี้อะไรกัน ? " จึงบอกเรื่องนั้นทั้งหมด.
พระศาสดาทรงเห็นกิริยานั้นแล้ว ตรัสถามผู้ขวนขวายในทานว่า
" นี่อะไรกัน ? " เขากราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดตั้งแต่วันที่แล้ว ๆ มา.

อย่าดูหมิ่นบุญว่านิดหน่อย


ทีนั้น พระศาสดาตรัสถามเศรษฐีนั้นว่า " นัยว่า เป็นอย่างนั้น
หรือ ? เศรษฐี." เมื่อเขากราบทูลว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า. " ตรัสว่า
" อุบาสก ขึ้นชื่อว่าบุญ อัน ใคร ๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่า 'นิดหน่อย.' อัน
บุคคลถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเช่นเราเป็นประธานแล้ว ไม่
ควรดูหมิ่นว่า 'เป็นของนิดหน่อย.' ด้วยว่า บุรุษผู้บัณฑิต ทำบุญอยู่
ย่อมเต็มไปด้วยบุญโดยลำดับแน่แท้ เปรียบเหมือนภาชนะที่เปิดปาก ย่อม
เต็มไปด้วยน้ำ ฉะนั้น." ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึง
ตรัสพระคาถานี้ว่า
6. มาวมญฺเญถ ปุญญสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ ธีโร ปุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ.
" บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า 'บุญมีประมาณน้อย
จักไม่มาถึง' แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา
(ทีละหยาดๆ)ได้ฉันใด, ธีรชน (ชนผู้มีปัญญา) สั่ง-
สมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น."

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า " มนุษย์ผู้บัณฑิต ทำบุญแล้วอย่า

ดูหมิ่น คือไม่ควรดูถูกบุญ อย่างนี้ว่า " เราทำบุญมีประมาณน้อย บุญมี
ประมาณน้อยจักมาถึง ด้วยอำนาจแห่งวิบากก็หาไม่. เมื่อเป็นเช่นนี้
กรรมนิดหน่อยจักเห็นเราที่ไหน ? หรือว่าเราจักเห็นกรรมนั้นที่ไหน ?
เมื่อไรบุญนั่นจักเผล็ดผล ? เหมือนอย่างว่า ภาชนะดินที่เขาเปิดฝาตั้งไว้
ย่อมเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา (ทีละหยาด ๆ) ไม่ขาดสายได้ ฉันใด,
ธีรชน คือบุรุษผู้เป็นบัณฑิต เมื่อสั่งสมบุญทีละน้อย ๆ ชื่อว่าเต็มด้วยบุญ
ได้ ฉันนั้น."
ในกาลจบเทศนา เศรษฐีนั้นบรรลุโสดาปัตติผลแล้ว. พระธรรม-
เทศนาได้มีประโยชน์แม้เเก่บริษัทที่มาประชุมกัน ดังนี้แล.
เรื่องเศรษฐีชื่อพิฬาลปทกะ จบ.

7. เรื่องมหาธนวาณิช [101]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภพ่อค้ามีทรัพย์
มาก ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "วาณิโชว ภยํ มคฺคํ" เป็นต้น.

พ่อค้านิมนต์ภิกษุ 500 เดินทางร่วม


ดังได้สดับมา พวกโจร 500 คน แสวงหาช่องในเรือนของพ่อค้า
นั้น ไม่ได้(ช่อง) แล้ว. โดยสมัยอื่น พ่อค้านั้นบรรทุกเกวียน 500 เล่ม
ให้เต็มด้วยสิ่งของแล้ว ให้เผดียงแก่ภิกษุทั้งหลายว่า " เราจะไปสู่ที่ชื่อ
โน้นเพื่อค้าขาย พระผู้เป็นเจ้าเหล่าใดประสงค์จะไปสู่ที่นั้น. ขอนิมนต์
พระผู้เป็นเจ้าเหล่านั้นจงออกไป. จักไม่ลำบากด้วยภิกษาในหนทาง. "
ภิกษุ 500 รูปฟังคำนั้นแล้ว ได้เดินทางไปกับพ่อค้านั้น. โจรแม้เหล่านั้น
ได้ข่าวว่า " ได้ยินว่า พ่อค้านั้นออกไปแล้ว " ได้ไปซุ่มอยู่ในดง.
ฝ่ายพ่อค้าไปแล้ว ยึดเอาที่พักใกล้บ้านแห่งหนึ่งที่ปากดง จัดแจง
โคและเกวียนเป็นต้นสิ้น 2-3 วัน และถวายภิกษาแก่ภิกษุเหล่านั้นเป็น
นิตย์เทียว.

พวกโจรให้คนใช้ไปสืบข่าวพ่อค้า


พวกโจร เมื่อพ่อค้านั้นล่าช้าอยู่ จึงส่งบุรุษคนหนึ่งไปด้วยสั่งว่า
" เจ้าจงไป. จงรู้วันออก (เดินทาง) ของพ่อค้านั้นแล้วจงมา. " บุรุษ
นั้นไปถึงบ้านนั้นแล้ว ถามสหายคนหนึ่งว่า " พ่อค้าจักออกไปเมื่อไร "
สหายนั้นตอบว่า " โดยกาลล่วงไป 2-3 วัน " ดังนี้แล้วกล่าวว่า " ก็
ท่านถามเพื่ออะไร ? "