เมนู

ไปข้างหลังเขา ด้วยสั่งว่า " เจ้าจงไป, จงรู้กรรมที่เจ้านั่นทำ." อุบาสก
นั้นไปแล้ว กล่าวว่า " ขอผลใหญ่จงมีแก่เศรษฐี." ดังนี้แล้วใส่ข้าวสาร
1-2 เมล็ด เพื่อประโยชน์ แก่ยาคู ภัต และขนม, ใส่ถั่วเขียวถั่วราชมาษ
บ้าง หยาดน้ำมันและหยาดน้ำอ้อยเป็นต้นบ้าง ลงในภาชนะทุก ๆ ภาชนะ.
จูฬุปัฏฐากไปบอกแก่เศรษฐีแล้ว. เศรษฐีฟังคำนั้นแล้ว จึงคิดว่า " หาก
เจ้าคนนั้นจักกล่าวโทษเราในท่ามกลางบริษัทไซร้, พอมันเอ่ยชื่อของเรา
ขึ้นเท่านั้น เราจักประหารมันให้ตาย." ในวันรุ่งขึ้น จึงเหน็บกฤชไว้ใน
ระหว่างผ้านุ่งแล้ว ได้ไปยืนอยู่ที่โรงครัว.

ฉลาดพูดทำให้ผู้มุ่งร้ายกลับอ่อนน้อม


บุรุษนั้น เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน แล้วกราบ
ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ชักชวนมหา-
ชนถวายทานนี้, พวกมนุษย์ข้าพระองค์ชักชวนแล้วในที่นั้น ได้ให้ข้าวสาร
เป็นต้นมากบ้างน้อยบ้าง ตามกำลังของตน, ขอผลอันไพศาลจงมีแก่
มหาชนเหล่านั้นทั้งหมด."
เศรษฐีได้ยินคำนั้นแล้ว คิดว่า " เรามาด้วยตั้งใจว่า ' พอมันเอ่ย
ชื่อของเราขึ้นว่า ' เศรษฐีชื่อโน้นถือเอาข้าวสารเป็นต้นด้วยหยิบมือให้,'
เราก็จักฆ่าบุรุษนี้ ให้ตาย, แต่บุรุษนี้ ทำทานให้รวมกันทั้งหมด แล้ว
กล่าวว่า ' ทานที่ชนเหล่าใดตวงด้วยทะนานเป็นต้นแล้วให้ก็ดี, ทานที่
ชนเหล่าใดถือเอาด้วยหยิบมือแล้วให้ก็ดี, ขอผลอันไพศาล จงมีแก่ชน
เหล่านั้นทั้งหมด,' ถ้าเราจักไม่ให้บุรุษเห็นปานนี้อดโทษไซร้, อาชญา
ของเทพเจ้าจักตกลงบนศีรษะของเรา." เศรษฐีนั้นหมอบลงแทบเท้าของ

อุบาสกนั้นแล้วกล่าวว่า " นาย ขอนายจงอดโทษให้ผมด้วย," และถูก
อุบาสกนั้นถามว่า "นี้อะไรกัน ? " จึงบอกเรื่องนั้นทั้งหมด.
พระศาสดาทรงเห็นกิริยานั้นแล้ว ตรัสถามผู้ขวนขวายในทานว่า
" นี่อะไรกัน ? " เขากราบทูลเรื่องนั้นทั้งหมดตั้งแต่วันที่แล้ว ๆ มา.

อย่าดูหมิ่นบุญว่านิดหน่อย


ทีนั้น พระศาสดาตรัสถามเศรษฐีนั้นว่า " นัยว่า เป็นอย่างนั้น
หรือ ? เศรษฐี." เมื่อเขากราบทูลว่า " อย่างนั้น พระเจ้าข้า. " ตรัสว่า
" อุบาสก ขึ้นชื่อว่าบุญ อัน ใคร ๆ ไม่ควรดูหมิ่นว่า 'นิดหน่อย.' อัน
บุคคลถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเช่นเราเป็นประธานแล้ว ไม่
ควรดูหมิ่นว่า 'เป็นของนิดหน่อย.' ด้วยว่า บุรุษผู้บัณฑิต ทำบุญอยู่
ย่อมเต็มไปด้วยบุญโดยลำดับแน่แท้ เปรียบเหมือนภาชนะที่เปิดปาก ย่อม
เต็มไปด้วยน้ำ ฉะนั้น." ดังนี้แล้ว เมื่อจะทรงสืบอนุสนธิแสดงธรรม จึง
ตรัสพระคาถานี้ว่า
6. มาวมญฺเญถ ปุญญสฺส น มตฺตํ อาคมิสฺสติ
อุทพินฺทุนิปาเตน อุทกุมฺโภปิ ปูรติ
อาปูรติ ธีโร ปุญฺญสฺส โถกํ โถกํปิ อาจินํ.
" บุคคลไม่ควรดูหมิ่นบุญว่า 'บุญมีประมาณน้อย
จักไม่มาถึง' แม้หม้อน้ำยังเต็มด้วยหยาดน้ำที่ตกลงมา
(ทีละหยาดๆ)ได้ฉันใด, ธีรชน (ชนผู้มีปัญญา) สั่ง-
สมบุญแม้ทีละน้อย ๆ ย่อมเต็มด้วยบุญได้ฉันนั้น."

แก้อรรถ


เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า " มนุษย์ผู้บัณฑิต ทำบุญแล้วอย่า