เมนู

แก้อรรถ


บรรดาบทเหล่านั้น บาทพระคาถาว่า ยสฺส ชิตํ นาวชิยติ ความว่า
กิเลสชาตมีราคะเป็นต้น อันพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว
ด้วยมรรคนั้น ๆ อันพระองค์ ย่อมไม่กลับแพ้ คือชื่อว่าชนะแล้วไม่ดี
หามิได้ เพราะไม่กลับฟุ้งขึ้นอีก.
บทว่า โนยาติ ตัดเป็น น อุยฺยาติ แปลว่า ย่อมไม่ไปตาม.
อธิบายว่า บรรดากิเลสมีราคะเป็นต้น แม้กิเลสอย่างหนึ่งไร ๆ ในโลก
ชื่อว่ากลับไปข้างหลังไม่มี คือไม่มีความกิเลสชาตที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระองค์ใดทรงชนะแล้ว.1
บทว่า อนนฺคโคจรํ ความว่า ผู้มีอารมณ์ไม่มีที่สุด ด้วยสามารถ
แห่งพระสัพพัญญุตญาณ มีอารมณ์หาที่สุดมิได้.
สองบทว่า เกน ปเทน เป็นต้น ความว่า บรรดารอยมีรอย คือ
ราคะเป็นต้น แม้รอยหนึ่ง ไม่มีแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์ใด, พวก
เจ้าจักนำพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้นไป ด้วยร่องรอยอะไร คือ ก็
แม้ร่องรอยสักอย่างหนึ่ง ไม่มีแก่พระพุทธเจ้า, พวกเจ้าจักนำพระพุทธเจ้า
นั้น ผู้ไม่มีร่องรอยไป ด้วยร่องรอยอะไร ?
วินิจฉัยในคาถาที่สอง. ขึ้นชื่อว่าตัณหานั่น ชื่อว่า ชาลินี เพราะ
วิเคราะห์ว่า มีข่ายบ้าง มีปกติทำซึ่งข่ายบ้าง เปรียบด้วยข่ายบ้าง เพราะ
อรรถว่า รวบรัดตรึงตราผูกมัดไว้, ชื่อว่า วิสตฺติกา เพราะเป็นธรรม-
ชาติมักซ่านไปในอารมณ์ทั้งหลาย มีรูปเป็นต้น เพราะเปรียบด้วยอาหาร
อันมีพิษ เพราะเปรียบด้วยดอกไม้มีพิษ เพราะเปรียบด้วยผลไม้มีพิษ
1. กิเลสเหล่าอื่น ติดตานกิเลสที่ทรงชนะแล้วเนื่องกันเป็นสาย ๆ ไม่มี.

เพราะเปรียบด้วยเครื่องบริโภคมีพิษ. อธิบายว่า ตัณหาเห็นปานนั้น
ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหน ๆ. พวกเจ้าจักนำ
พระพุทธเจ้าพระองค์นั้นผู้ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไร ?
ในกาลจบเทศนา ธัมมาภิสมัยได้มีแก่เทวดาเป็นอันมาก. แม้ธิดา
มารก็อันตรธานไปในที่นั้นนั่นแล.
พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแล้ว ตรัสว่า " มาคัน-
ทิยะ ในกาลก่อน เราได้เห็นธิดามารทั้งสามเหล่านี้ผู้ประกอบด้วยอัตภาพ
เช่นกับแท่งทอง ไม่แปดเปื้อนด้วยของโสโครก มีเสมหะเป็นต้น. แม้
ในกาลนั้น เราไม่ได้มีความพอใจในเมถุนเลย. ก็สรีระแห่งธิดาของ
ท่านเต็มไปด้วยซากศพ คืออาการ 32 เหมือนหม้อที่ใส่ของไม่สะอาด
อันตระการตา ณ ภายนอก. แม้ถ้าเท้าของเราพึงเป็นเท้าที่แปดเปื้อนด้วย
ของไม่สะอาดไซร้. และธิดาของท่านนี้พึงยืนอยู่ที่ธรณีประตู; ถึงอย่างนั้น
เราก็ไม่พึงถูกต้องสรีระของนางด้วยเท้า " ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :-
" แม้ความพอใจในเมถุน ไม่ได้มีแล้ว เพราะ
เห็น นางตัณหา นางอรดี และนางราคา, เพราะ
เห็นสรีระ แห่งธิดาของท่านนี้ ซึ่งเต็มไปด้วยมูตร
และกรีส. (เราจักมีความพอใจในเมถุนอย่างไรได้ ?)
เราย่อมไม่ปรารถนาเพื่อจะแตะต้องสรีระธิดาของท่าน
นั้น แม้ด้วยเท้า."

ในเวลาจบเทศนา เมียผัวทั้งสองตั้งอยู่แล้วในอนาคามิผล ดังนี้แล.
เรื่องมารธิดา จบ.

2. เรื่องยมกปาฏิหารย์ [149]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดาทรงปรารภเทวดาและพวกมนุษย์เป็นอันมาก ที่พระ-
ทวารแห่งสังกัสสนคร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เย ฌานปฺปสุตา
ธีรา "
เป็นต้น.
ก็เทศนาตั้งขึ้นแล้วในกรุงราชคฤห์.

เศรษฐีได้ไม้จันทน์ทำบาตร


ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ ให้ขึงข่ายมี
สัณฐานคล้ายขวด เพื่อความปลอดภัย1 และเพื่อรักษาอาภรณ์เป็นต้น ที่
หลุดไปด้วยความพลั้งเผลอแล้ว เล่นกีฬาทางน้ำในแม่น้ำคงคา.
ในกาลนั้น ต้นจันทน์แดงต้นหนึ่ง เกิดขึ้นที่ริมฝั่งตอนเหนือของ
แม่น้ำคงคา มีรากถูกน้ำในแม่น้ำคงคาเซาะโค่นหักกระจัดกระจายอยู่บน
หินเหล่านั้น ๆ. ครั้งนั้นปุ่ม ๆ หนึ่งมีประมาณเท่าหม้อ ถูกหินครูดสี ถูก
คลื่นน้ำซัด เป็นของเกลี้ยงเกลา ลอยไปโดยลำดับ อันสาหร่ายรวบรัด
มาติดที่ข่ายของเศรษฐีนั้น.
เศรษฐีกล่าวว่า " นั่นอะไร ? " ได้ยินว่า " ปุ่มไม้ " จึงให้นำ
ปุ่มไม้นั้นมาให้ถากด้วยปลายมีด เพื่อจะพิจารณาว่า " นั่นชื่ออะไร ? "
ในทันใดนั่นเอง จันทน์แดงมีสีดังครั่งสดก็ปรากฏ. ก็เศรษฐียัง
ไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ. ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ. วางตนเป็นกลาง; เขาคิดว่า
" จันทน์แดงในเรือนของเรามีมาก. เราจะเอาจันทน์แดงนี้ทำอะไรหนอ
แล ? " ทีนั้นเขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า " ในโลกนี้ พวกที่กล่าวว่า 'เรา
1. เพื่อเปลื้องอันตราย.