เมนู

6. เรื่องเศรษฐีชื่อพิฬาลปทกะ [100]


ข้อความเบื้องต้น


พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภเศรษฐีชื่อ
พิฬาลปทกะ (เศรษฐีตีนแมว) ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " มาวมญฺเญถ
ปุญฺญสฺส
เป็นต้น.

ให้ทานองและชวนคนอื่น ได้สมบัติ 2 อย่าง


ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง ชาวเมืองสาวัตถีพากันถวายทานแด่
ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประธาน โดยเนื่องเป็นพวกเดียวกัน. อยู่มา
วันหนึ่ง พระศาสดา เมื่อจะทรงทำอนุโมทนา ตรัสอย่างนี้ว่า " อุบาสก
อุบาสิกาทั้งหลาย บุคคลบางคนในโลกนี้ ให้ทานด้วยตน, (แต่) ไม่ชัก-
ชวนผู้อื่น. เขาย่อมได้โภคสมบัติ, (แต่) ไม่ได้บริวารสมบัติ ในที่แห่ง
ตนเกิดแล้ว ๆ; บางคนไม่ให้ทานด้วยตน. ชักชวนแต่คนอื่น. เขาย่อม
ได้บริวารสมบัติ (แต่) ไม่ได้โภคสมบัติในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ; บางคน
ไม่ให้ทานด้วยตนด้วย ไม่ชักชวนคนอื่นด้วย. เขาย่อมไม่ได้โภคสมบัติ
ไม่ได้บริวารสมบัติ ในที่แห่งตนเกิดแล้ว ๆ; เป็นคนเที่ยวกินเดน บาง
คน ให้ทานด้วยคนด้วย ชักชวนคนอื่นด้วย,. เขาย่อมได้ทั้งโภคสมบัติ
และบริวารสมบัติ ในที่แห่งคนเกิดแล้ว ๆ."

บัณฑิตเรี่ยไรของทำบุญ


ครั้งนั้น บัณฑิตบุรุษผู้หนึ่ง ฟังธรรมเทศนานั้นแล้ว คิดว่า " โอ !
เหตุนี้น่าอัศจรรย์, บัดนี้ เราจักทำกรรมที่เป็นไปเพื่อสมบัติทั้งสอง," จึง
กราบทูลพระศาสดาในเวลาเสด็จลุกไปว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พรุ่งนี้
ขอพระองค์จงทรงรับภิกษาขอพวกข้าพระองค์."

พระศาสดา. ก็ท่านมีความต้องการด้วยภิกษุสักเท่าไร ?
บุรุษ. ภิกษุทั้งหมด พระเจ้าข้า.
พระศาสดาทรงรับแล้ว. แม้เขาก็เข้าไปยังบ้าน เที่ยวป่าวร้องว่า
"ข้าแต่แม่และพ่อทั้งหลาย ข้าพเจ้านิมนต์ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็น
ประธาน เพื่อฉันภัตตาหารในวันพรุ่งนี้, ผู้ใดอาจถวายแก่ภิกษุทั้งหลายมี
ประมาณเท่าใด, ผู้นั้นจงให้วัตถุต่าง ๆ มีข้าวสารเป็นต้น เพื่อประโยชน์
แก่อาหารมียาคูเป็นต้น เพื่อภิกษุทั้งหลายมีประมาณเท่านั้น, พวกเราจัก
ให้หุงต้มในที่แห่งเดียวกันแล้วถวายทาน"

เหตุที่เศรษฐีชื่อว่าพิฬาลปทกะ


ทีนั้น เศรษฐีคนหนึ่ง เห็นบุรุษนั้นมาถึงประตูร้านตลาดของตน
ก็โกรธว่า "เจ้าคนนี้ ไม่นิมนต์ภิกษุแต่พอ (กำลัง) ของตน ต้องมา
เที่ยวชักชวนชาวบ้านทั้งหมด (อีก)," จึงบอกว่า "แกจงนำเอาภาชนะ
ที่แกถือมา" ดังนี้แล้ว เอานิ้วมือ 3 นิ้วหยิบ ได้ให้ข้าวสารหน่อยหนึ่ง,
ถั่วเขียว ถั่วราชมาษก็เหมือนกันแล. ตั้งแต่นั้น เศรษฐีนั้นจึงมีชื่อว่า
พิฬาลปทกเศรษฐี. แม้เมื่อจะให้เภสัชมีเนยใสและน้ำอ้อยเป็นต้น ก็เอียง
ปากขวดเข้าที่หม้อ ทำให้ปากขวดนั้นติดเป็นอันเดียวกัน ให้เภสัชมีเนยใส
และน้ำอ้อยเป็นต้นไหลลงทีละหยด ๆ ได้ให้หน่อยหนึ่งเท่านั้น.
อุบาสกทำวัตถุทานที่คนอื่นให้โดยรวมกัน (แต่) ได้ถือเอาสิ่งของ
ที่เศรษฐีนี้ให้ไว้แผนกหนึ่งต่างหาก.

เศรษฐีให้คนสนิทไปดูการทำของบุรุษผู้เรี่ยไร


เศรษฐีนั้น เห็นกิริยาของอุบาสกนั้นแล้ว คิดว่า " ทำไมหนอ
เจ้าคนนี้จึงรับสิ่งของที่เราให้ไว้แผนกหนึ่ง ? " จึงส่งจูฬุปัฏฐากคนหนึ่ง